Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักสูตร, 6311114003 นายกิรติ สิทธิรักษ์, main,…
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักสูตร
ความหมาย
หลักสูตร หมายถึง การกำหนดองค์ประกอบย่อยของหลักสูตร เช่น เป้าหมายในการจัดการเรียนการสอน เนื้อหาสาระรายวิชาต่าง ๆ
หลักสูตร หมายถึง มวลประสบการณ์ต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจัดเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียน
หลักสูตร หมายถึง แผน เป้าหมาย ความตั้งใจ ข้อกำหนด ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละระดับ/ กลุ่ม
หลักสูตร หมายถึง เอกสาร หลักฐานในการจัดการศึกษาของหน่วยงานที่รับผิดชอบในทุกระดับ
จุดมุ่งหมาย
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะความต้องการ
เพื่อสืบทอดภูมิปัญญา มรดกทางธรรมชาติ เป็นต้น
เพื่อใช้เป็นเป้าหมาย กรอบและแนวทางการจัดการศึกษาของสังคม/ สถานศึกษา
เพื่อใช้ในการเตรียมคน สร้างสมาชิกที่ดี และพลเมืองดีให้กับสังคม ประเทศชาติ ภูมิภาค และสังคมโลก
ที่มา
มาจากความเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าของสังคมและศาสตร์สาขาต่าง ๆ
มาจากความจำเป็น ความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน
มาจากแนวคิด ความเชื่อในการจัดการศึกษาของคนแต่ละยุคสมัย
มาจากความต้องการรักษาสังคม
มาจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
ความสำคัญ
ความสำคัญต่อผู้ปกครอง
ช่วยให้ผู้ปกครองมองเห็นภาพการพัฒนาของบุตรหลาน
ช่วยให้ผู้ปกครองมีข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน
ช่วยให้ผู้ปกครองมีข้อมูลในการสนับสนุนการเรียนและติดตามความก้าวหน้าของบุตรหลานได้
ความสำคัญต่อผู้บริหาร
เป็นเป้าหมายและกรอบในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
เป็นกรอบในการพัฒนาผู้เรียน
เป็นเอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบผลการศึกษา
เป็นหลักฐานอ้างอิงในการดำเนินงานของโรงเรียน
ความสำคัญต่อครู
เป็นเป้าหมายและกรอบในการเตรียมการสอนการพัฒนาผู้เรียนของครู
ใช้ในการตรวจสอบความสำเร็จในการปฏิบัติงานของครู
ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการปฏิบัติงานของครู
ความสำคัญต่อประเทศ
เป็นแผนและแนวทางในการจัดการศึกษาของชาติ
เป็นสิ่งที่บอกถึงคุณภาพ มาตรฐานในการจัดการศึกษาของประเทศ
เป็นเครื่องมือในการกำกับมาตรฐานคุณภาพของผู้เรียน
เป็นสิ่งที่บ่งชี้ทิศทางการพัฒนาและการเจริญเติบโตของประเทศ
เป็นสิ่งที่ฉายภาพคุณลักษณะชองพลเมืองในอนาคต
ความสำคัญต่อผู้เรียน
เป็นสิ่งที่บอกถึงขอบเขตของความรู้ที่ผู้เรียนจะได้รับ
เป็นสิ่งที่บอกถึงกระบวนการแนวทางในการพัฒนาผู้เรียน
เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนเตรียมความพร้อมในการเรียนการสอนได้มากขึ้น
ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพการเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น
ช่วยทำให้ผู้เรียนมีข้อมูลในการตัดสินใจในการศึกษาของตนเอง
องค์ประกอบ
องค์ประกอบหลัก
กิจกรรมการเรียนการสอน
การวัดผล
เนื้อหา
จุดมุ่งหมาย
องค์ประกอบรอง
โครงสร้างอัตราเวลาเรียน
การบริหารจัดการหลักสูตร
สื่อและแหล่งเรียนรู้
ระดับ
หลักสูตรระดับชาติ เช่น หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย
หลักสูตรระดับภูมิภาค เช่น ASEAN Curriculum Source Book
หลักสูตรระดับท้องถิ่น
หลักสูตรระดับโรงเรียน ได้แก่ หลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรระดับห้องเรียน ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้
หลักสูตรระดับสากลที่เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
หลักสูตรระดับบุคคล เช่น แผนพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล
รูปแบบ
รูปแบบเน้นผู้เรียน (Child-centered curriculum)
ข้อดี
ผู้เรียนได้เรียนตามศักยภาพ ความต้องการความสนใจของผู้เรียน ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน ผู้เรียนมีศักยภาพสามารถเรียนรู้ได้เร็วไม่เบื่อ
ข้อด้อย
ผู้เรียนอาจขาดประสบการณ์ในการเรียนและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ผู้เรียนที่เรียนไม่มีเป้าหมายในการเรียน อาจขาดแรงจูงใจ ความกระตือรือร้นในการเรียน
ลักษณะสำคัญ
หลักสูตรแบบเอกัตบุคคล (Individualized curriculum) เป็นหลักสูตรที่จัดตามระดับความสามารถหรือศักยภาพของผู้เรียนที่อาจมีความถนัด
หลักสูตรรายบุคคล (Personalized curriculum) เป็นหลักสูตรที่จัดตามความสนใจของผู้เรียน ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนวิชาที่สนใจตามกรอบของหลักสูตร
รูปแบบเน้นเนื้อหา (Content based curriculum)
ข้อดี
ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แนวคิด ความรู้ ความสำคัญที่มีในสังคม สามารถนำสู่การปฏิบัติได้ง่าย โดยเฉพาะมีการจัดทำตำราเรียนควบคู่ไปด้วย
ข้อด้อย
ผู้เรียนอาจไม่ได้รับการพัฒนาด้านอื่น ๆ และไม่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
ลักษณะสำคัญ
หลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ (Correlated) ) เน้นเนื้อหาวิชามีความสัมพันธ์กัน
หลักสูตรแบบหมวดวิชา (Broad field) รวมเนื้อหาที่ใกล้เคียงเข้าเป็นหมวดใหญ่
หลักสูตรแบบรายวิชา (Subject matter) เน้นเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ
รูปแบบเน้นชีวิตและสังคม (Social process and life function curriculum)
ข้อดี
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนของผู้เรียนและกิจกรรมการสอน ได้เรียนในสิ่งที่สนใจ เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
ข้อด้อย
การเรียนการสอนต้องใช้เวลา เนื้อหาอาจไม่ครอบคลุมศาสตร์ต่าง ๆ ที่ต้องเรียน ครูและนักเรียนต้องปรับเปลี่ยนบทบาทใหม่
ลักษณะสำคัญ
เน้นกระบวนการทางสังคมและชีวิตจริง เน้นการพัฒนาชีวิต และสังคมของผู้เรียน
รูปแบบเน้นบูรณาการ (Integrated curriculum)
ข้อด้อย
เน้นเนื้อหาที่ขาดความเชื่อมโยงกัน การเรียนการสอนเป็นไปอย่างยากลำบากและครูต้องมีความรู้ที่เยอะพอสมควร ใช้สื่อในการสอนเยอะ เนื้อหาไม่มีในส่วนที่ลึกขึ้น
ลักษณะสำคัญ
หลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated curriculum: unit of learning) เป็นการบูรณาการเนื้อหา ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จากกรอบของหลักสูตรอาจจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้
หลักสูตรแบบแกน (Core curriculum) เป็นการบูรณาการเนื้อหาสาระกับปัญหาของผู้เรียนและสังคม เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาความรู้ต่าง ๆ สำหรับนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา
หลักสูตรผสมผสาน (Fusion curriculum) เป็นการบูรณาการวิชาย่อย ๆ ที่ใกล้เคียงกันมาผสมผสานเนื้อหาให้เป็นหมวดหมู่/ รวมประสบการณ์เรียนรู้
ข้อดี
สอนง่าย ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา
รูปแบบเน้นกิจกรรมและประสบการณ์ (Activity and experiences curriculum)
ข้อดี
ผู้เรียนมีบทบาท/ มีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น ได้เรียนตามความสนใจมากขึ้น
ข้อด้อย
ใช้เวลาในการเรียนมากขึ้น
ลักษณะสำคัญ
การเรียนรู้เกิดจากกิจกรรมและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ทำ เน้นการนำความรู้ไปใช้
รูปแบบเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome based curriculum)
ลักษณะสำคัญ
จุดเน้นอยู่ที่ผลการเรียนรู้
ทั้งหลักสูตรและการเรียนการสอนต้องแสดงให้เห็นถึงจุดเน้นด้านผลลัพธ์ที่ชัดเจน
การจัดทำหลักสูตรและประสบการณ์การเรียนรู้ ต้องช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้
การวัดผล เป็นแบบอิงมาตรฐาน ที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้
สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ
หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based)
ข้อดี
ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ ความสามารถในรายวิชาชีพที่เรียน สามารถปฏิบัติได้
ข้อด้อย
ผู้เรียนบางคนอาจต้องใช้เวลาในการปฏิบัติให้ได้ตามเกณฑ์
ลักษณะสำคัญ
ผู้เรียนควรมีความสามารถตามที่กำหนดหลังเรียนจบหน่วย/ หลักสูตร
หลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standard based)
ลักษณะสำคัญ
ผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาไปสู่มาตรฐานตัวชี้วัดที่ยอมรับได้
ข้อดี
ครูเป้าหมายและกรอบการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจน ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ข้อด้อย
การกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้อาจไม่ชัดเจน/ ซ้ำซ้อนทำให้การนำไปปฏิบัติสู่การปฏิบัติอาจเป็นปัญหา
จากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันทำให้มีความที่จะนำเสนอรูปแบบหลักสูตรใหม่
หลักสูตรเน้นเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลักษณะสำคัญ
เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาผู้เรียน + การสร้างความรู้/ นวัตกรรม
ข้อดี
ใช้ IT การสอนเน้นค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเองผ่าน IT
ข้อด้อย
เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้เรียนต้องตามให้ทันทั้งเนื้อหาที่เรียนและเทคโนโลยีสารสนเทศ
คุณลักษณะของนักพัฒนาหลักสูตร
เป็นผู้มีความรู้รอบด้าน
เป็นผู้ที่มีทักษะกระบวนการต่าง ๆ
เป็นผู้ช่างสังเกต คิด วิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูล
เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
เป็นผู้สนใจใฝ่รู้ ในวิทยาการแขนงต่าง ๆ
ลักษณะของหลักสูตรที่ดี
มีความสอดคล้องกับพัฒนาการ ความต้องการ ความจำเป็น ความสนใจของผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมาย
มีการติดตามประเมินผลเป็นระยะ ๆ อย่างเป็นกระบวนการที่ชัดเจน
มีความยืดหยุ่นคล่องตัว ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
มีความต่อเนื่องกับหลักสูตรระดับอื่น
มีรายละเอียดของแนวทางการจัดการศึกษาที่จะนำสู่การปฏิบัติจริง
มีองค์ประกอบครบถ้วน ถูกต้องชัดเจน มีความสอดคล้องภายในและภายนอก
มีการพัฒนาตามกระบวนการที่ได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
มีการระบุที่มาอย่างชัดเจน
6311114003 นายกิรติ สิทธิรักษ์