Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ชาวต่างประเทศที่มีส่วนสร้างสรรค์ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและความก้าวหน้าของสั…
ชาวต่างประเทศที่มีส่วนสร้างสรรค์ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและความก้าวหน้าของสังคมไทย
การสร้างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ไทย
ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ เป็นราชทูตจากประเทศ ฝรั่งเศส ได้เดินทางมาประเทศไทย เพื่อมาเจริญสัมพันธไมตรี ในสมัยสมเด็จพระนาราย์มหาราช ซึงได้เขียนจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอณาจักรสยาม
พระสังฆราชปาลเลอกัวซ์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศสเข้ามาเผยแผ่ศาสนาและท่านยังได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยในหนังสือเรือง เล่ากรุงสยามซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เซอร์จอห์น เบาว์ริง เอกอัครราชทูตพิเศษชาวอังกฤษเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยต้นรัชสมัยพระจอมเกล้า เบาว์ริงได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับประเทศไทย ชื่อว่าราชอาณาจักรและราษฎรสยาม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยในอดีตด้านภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ขนบธรรมเนียมประเพณีภาษาศาสนาและเศรษฐกิจ
นิโกลาส์ แชรแวส เป็นชาวฝรั่งเศสเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างไทยฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์เขียนบันทึกเรื่องประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ให้ข้อมูลภูมิศาสตร์ขนมธรรมเนียมประเพณีของชาวไทย
เฮนรี เบอร์นีย์ ทูตชาวอังกฤษที่เดินทางมาเจรจาทางการทูตในสมัยพระนั่งเกล้าได้ทำบันทึกรายงานการเจรจาทางการทูตและข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยเสนอต่อรัฐบาลอังกฤษคือเอกสารเฮนรี่ เบอร์นีย์ ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศไทยในขณะนั้น
ฟาน ฟลีตหรือวัน วลิต พ่อค้าฮอลันดาที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้บันทึกเกี่ยวกับสภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมืองไทยสมัยอยุธยา เช่นพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และจดหมายเหตุฟาน ฟลีต
การศึกษา
ดร.ซามูเอล อาร์. เฮาส์ และศาสนาจารย์สตีเวน แมตตูน ได้เปิดโรงรียนสำหรับเด็กชายที่สำเหร่ ต่อมาได้พัฒนาเป็นโรงเรียนชายแห่งแรกของไทยหรือโรงเรียนกรุงเทพคนิสเตียน
เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ หรือนามนามเดิม ฟรังซัว ทูเลอเนท์ ภราดาชาวฝรั่งเศสในคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในประเทศไทย และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญทางการศึกษาไทย ทำให้มีการสร้างโรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยคณะภราดาเซนต์คาเบรียลหลายแห่ง
นางแฮร์เรียต เฮาส์ เป็นภรรยาของดร.เฮาส์ ได้เปิดโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงแห่งแรกของไทยคือโรงเรียนกุลสตรีวังหลังต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
บาทหลวงเอมิล ออกุสต์ กอลมเบิร์ต เป็นชาวฝรั่งเศส เจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญ และได้ก่อตั้งโรงเรียนประจำวัด (อัสสัมชัญ) ซึ่งปัจจุบันคือโรงเรียนอัสสัมชัญ
ศิลปกรรม
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นชาวอิตาลีชื่อ คอร์ราโด เฟโรจี เป็นผู้รู้รอบด้านประวัติศาสตร์ศิลป การวิจารศิลปะและปรัชญา โดยเฉพาะความสามารถทางศิลปะ แขนงปฎิมากรรมและจิตกรรม เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร
นายริโกลี เป็นจิตกรชาวอิตาลี เป็นผู้วาดภาพจิตกรรมเพดานพระที่นั่งอนันตสมาคมและภาพจิตกรรมพระอุโบสถวัดราชาธิวาสาชวรวิหาร
นายคาร์ล ดอริง สถาปนิกชาวเยอรมัน นายช่างประจำกรมรถไฟ ซึ่งเป็นคนออกแบบวังวรดิศ ตำหนักบางขุนพรหมและและพระรามราชนิเวศน์
การแพทย์
หมอเฮาส์ได้มีบทบาทสำคัญในการควบคุม อหิวาตกโรค ซึ่งระบาดครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ มีคนตายทั้งในกรุงเทพฯ หลายพันคน ได้ดูแลรักษาผู้ป่วยจำนวนมาก พร้อมฉีดวัคซีนให้ประชาชน และเป็นคนแรกที่ผ่าตัดโดยใช้ยาสลบมารักษาในประเทศไทย
หมอบรัดเลย์ เป็นผู้ซึ่งทำประโยชน์ให้ชาวไทยเป็นอย่างมาก ได้สร้างคุณูปการใหญ่ยิ่งให้แก่สังคมไทย ได้นำการแพทย์สมัยใหม่มาสู่ประเทศไทย คือการปลูกฝีและฉีดวัคซีน
ชอร์ช บี. แมคฟาร์แลนด์ เป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่เกิดในประเทศไทย จบศึกษาด้านแพทยศาสตร์และฝึกทำฟันจากสหรัฐอเมริกา จากนั้นกลับมาสอนนักเรียนแพทย์ที่ไทย ฝึกหัดชาวไทยที่โรงเรียนแพทยาลัย ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงบาลศิริราช พร้อมเปิดคลินิรักษาโรคฟัน และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระอาจวิทยาคม