Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา Case นรีเวช & Palliative care - Coggle Diagram
กรณีศึกษา Case นรีเวช & Palliative care
สาเหตุ
ทฤษฎี
เกิดจากการติดเชื้อจากการทำหัตถการต่างๆ เช่น การตรวจภายในมดลูก การทำแท้ง หรือการใส่อุปกรณ์คุมกำเนิดเข้าไป
ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
คู่นอนมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
case
ผู้ป่วยมีอาชีพเป็นพนักงานไนต์คลับ บางครั้งทำหน้าที่เป็นเด็กนั่งดริ้งท์กับแขกที่มาเที่ยว
มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเส้นเลือด และรักษาไม่ต่อเนื่อง
พยาธิสภาพ
ทฤษฎี
เชื้อผ่านเข้าไปจากอวัยวะสืบพันธ์ส่วนล่างขึ้นไปยังอวัยวะสืบพันธ์ส่วนบน ผ่านขึ้นไปยังโพรงมดลูก ท่อนำไข่ และเข้าสู่ช่องท้อง เชื้อที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ หนองในแท้ และหนองในเทียม เมื่อเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกจะทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก และท่อนำไข่ เมื่อมีการอักเสบรุนแรงมากขึ้น หนองที่ออกมาสู่อุ้งเชิงกรานจะทำให้เกิดการอักเสบเยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกราน เกิดเป็นถุงหนองขึ้น ถุงหนองนี้สามารถแตกเข้าไปในลำไส้ใหญ่หรือช่องคลอดได้ หรืออาจแตกเข้าสู่ช่องท้องส่วนบนทำให้เกิดกาอักเสบของเยื่อบุช่องท้องได้ ในบางรายอาจเกิดเป็น severe septicemia และเกิด septic shock ได้
case
ก่อนผ่าตัด
ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง แน่นท้องบริเวณใต้สะดือลงไป แน่นท้องเป็นระยะๆ มีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย แพทย์วินิจฉัยเป็น Pelvic Inflammatory Disease with Ruptured Rt. Tobu – ovarian abscess ได้รับการผ่าตัด explore laparotomy with Right Salpingo Oophorectomy (การผ่าตัดใหญ่เปิดหน้าท้อง ร่วมกับการผ่าตัดที่นำรังไข่ ท่อนำไข่ และปีกมดลูกด้านขวาออก)
หลังผ่าตัด
ผู้ป่วยเริ่มซึมลง ปลุกไม่ตื่น แผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องเริ่มมี discharge ซึมมาก และปวด บวม แดง ร้อน มีไข้สูง
ผู้ป่วยเรียกไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพทย์วินิจฉัย Hypovolemic shock with Sepsis
อาการ
ทฤษฎี
ปวดท้องน้อย ปวดหน่วงตลอดเวลา ปวดแน่นท้องเป็นระยะๆ ปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว
คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ รู้สึกอ่อนเพลีย และไม่สบายตัว
ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะกระปริดกระปอย
มีอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่และเยื่อบุช่องท้อง
case
คลื่นไส้ อาเจียน
ไม่ขับถ่ายอุจจาระ ไม่ผายลม
ปวดแน่นท้องบริเวณใต้สะดือลงไป ปวดเป็นระยะๆ
อาการแสดง
ทฤษฎี
มีเลือดออกจากโพรงมดลูกผิดปกติ
มีไข้สูง หนาวสั่น
WBC สูงกว่าปกติ
Neutrophil สูงกว่าปกติ
Lymphocyte ต่ำกว่าปกติ
case
T = 39 องศา
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ
Neutrophil 86 %
Lymphocyte 7 %
WBC = 18,500cell
แผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องเริ่มมี discharge ซึมมาก และบวม แดง
ผล H/C พบgram negative bacilli
การรักษา
0.9% NSS Vein 120 cc/hr เพื่อป้องกันการศูนย์เสียน้ำและอิเล็กโทรไลต์
Dopamine (2:1) vein 30 cc/hr เพื่อป้องกันภาวะshock และภาวะความดันโลหิตต่ำ
on Ventilator respiratory CMV Mode เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจให้กับผู้ป่วยที่มีอาการหายใจหอบเหนื่อย
11แบบแผนกอร์ดอน
แบบแผนที่ 5 การพักผ่อน นอนหลับ
ข้อมูลขณะเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยนอนกลางวัน 3-5 ชั่วโมง นอนกลางคืน 7-8ชั่วโมง ไม่มีปัญหาในการนอนหลับ
สรุปแบบแผนที่ 5
ไม่พบปัญหาในแบบแผนนี้
แบบแผนที่ 6 สติปัญญาและการรับรู้
ข้อมูลขณะเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยซึมลง ปลุกไม่ตื่น
สรุปแบบแผนที่ 6
ผู้ป่วยไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า และรับรู้เรื่องราวต่างๆได้
ข้อมูลก่อนเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยมีสายตา การได้ยิน การรับรส การสัมผัสเป็นปกติ รับรู้ วันเวลา และสถานที่ พูดคุยรู้เรื่อง
แบบแผนที่ 4 กิจกรรมและการออกกำลังกาย
ข้อมูลก่อนเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเพราะว่าทำงานในช่วงกลางคืนตลอด ช่วยเหลือตนเองได้ทุกอย่าง
ข้อมูลขณะเจ็บป่วย:
ภายหลังจากการผ่าตัดไม่สามารถช่วยตนเองได้เลย แขนขาทั้งสองข้าง Muscle power grade 1
สรุปแบบแผนที่ 4
ผู้ป่วยขาดการออกกำลังกาย และมีภาวะพร่องกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
แบบแผนที่ 7 การรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
ข้อมูลขณะเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
สรุปแบบแผนที่ 7
การรับรู้ของผู้ป่วยมีความบกพร่อง เนื่องจากอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต
ข้อมูลก่อนเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยยอมรับความเจ็บป่วยของตนเองได้ ปรับตัวได้ดีเมื่อมีการเจ็บป่วย และรู้ว่าเมื่อมีอาการเจ็บป่วย ก็ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
แบบแผนที่ 11 คุณค่าและความเชื่อ
ข้อมูลก่อนเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยมีสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจขณะป่วยคือ พระพุทธศาสนา และครอบครัว มีความเชื่อเกี่ยวกับ สุขภาพและการเจ็บป่วยว่าทุกคนเกิดมาก็ต้องตายและต้องชดใช้กรรมจนกว่าจะหมดสิ้น
สรุปแบบแผนที่ 11
แม่วัยชราตัดสินใจไม่ยื้อชีวิตผู้ป่วยต่อ ให้ปล่อยไปตามธรรมชาติ เนื่องจากเคยสัญญาไว้กับผู้ป่วย
แบบแผนที่ 8 บทบาทและสัมพันธภาพ
ข้อมูลขณะเจ็บป่วย:
การป่วยครั้งนี้ส่งผลต่ออาชีพและครอบครัว เพราะไม่ได้ประกอบอาชีพและต้องทำงานหาเลี้ยงแม่วัยชราและบุตรสาวถึง2คนที่กำลังอยู่ในช่วงการเรียน ป. 1 และ ป. 3
สรุปแบบแผนที่ 8
ภาวะเจ็บป่วยมีผลทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้
ข้อมูลก่อนเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพที่ดีกับทุกคนในครอบครัว อาศัยอยู่กับแม่วัยชราอายุ 80 ปี มีประวัติการหย่ากับ สามีมาประมาณ 10 ปี และทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเพียงลำพัง
แบบแผนที่ 3 การขับถ่าย
ข้อมูลขณะเจ็บป่วย:
ผู้ป่วย retainfoley’scath ปัสสาวะมีสีเหลืองใสไม่มีตะกอน และใส่ผ้าอ้อม
สำเร็จรูป อุจจาระ 1 ครั้งต่อวัน
สรุปแบบแผนที่ 3
ผู้ป่วยใส่ retainfoley’scath ไม่สามารถปัสสาวะเองได้ และเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อ
ในทางเดินปัสสาวะ
แบบแผนที่ 9 เพศและการสืบพันธุ์
ข้อมูลก่อนเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุ 17 ปี อาชีพพนักงานไนต์คลับ ให้ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ บ่อยครั้งกับแขกที่มาเที่ยว มีเต้านมปกติ ไม่มีสิ่งคัดหลั่งไหล อวัยวะเพศปกติ ไม่พบสิ่งคัดหลั่ง
สรุปแบบแผนที่ 9
ผู้ป่วยขาดการดูแลตนเองในการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศ
แบบแผนที่ 2 โภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
ข้อมูลขณะเจ็บป่วย:
น้ำหนัก 44 กก. ส่วนสูง 160 ซม. BMI = 17.19 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของ
น้ำหนักตัวในระยะ 1 ปี รับประทานอาหารแบบธรรมดาได้ประมาณ 1/4 ของถาดอาหาร
สรุปแบบแผนที่ 2
ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อยขณะเจ็บป่วย
แบบแผนที่ 10 การปรับตัวและความทนทานกับความเครียด
ข้อมูลขณะเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยได้รับการยื้อชีวิตด้วยเครื่องช่วยหายใจ แม่ของผู้ป่วยรับไม่ได้ มีอาการร้องไห้ฟูมฟายอย่างต่อเนื่อง โทษว่าเป็นความผิดของตนเอง ตนเองควรจะช่วยทำงานหาเงิน
สรุปแบบแผนที่ 10
ญาติมีความวิตกกังวล ทำใจยอมรับไม่ได้ และกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย
ข้อมูลก่อนเจ็บป่วย:
ผู้ป่วยมีลักษณะพื้นฐานอารมณ์ เป็นคนร่าเริงแจ่มใส ไม่มีความวิตกกังวล ผู้ช่วยเหลือและให้กำลังใจ คือ พี่สาวและหลานสาวญาติและพยาบาล ขณะอยู่กับญาติหรือพูดคุยกับพยาบาลจะมีสีหน้ายิ้มแย้ม
แบบแผนที่ 1 การรับรู้และการดูแลสุขภาพ
ข้อมูลขณะเจ็บป่วย:
แพทย์ได้ทำการผ่าตัดเปิดหน้าท้องให้กับผู้ป่วย ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนเองได้รับการผ่าตัดและมีแผลบริเวณหน้าท้องด้านขวา มีอาการปวดท้องและบ่นปวดแผลเป็นระยะ
สรุปแบบแผนที่ 1
ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนเองได้รับการผ่าตัด แต่ขาดการตระหนักถึงโรคประจำตัวของตนเอง
ข้อมูลก่อนการเจ็บป่วย:
มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเส้นเลือด ประมาณ 3 ปี และรักษาไม่ต่อเนื่อง
CC: ปวดแน่นท้อง ก่อนมาโรงพยาบาล 1 วัน
U/D: โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเส้นเลือด