Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 3 เทคนิคการบริหารทางการพยาบาล, นางสาวจิราพร ตันกูล รหัสนักศึกษา…
หน่วยที่ 3
เทคนิคการบริหารทางการพยาบาล
การมอบหมายงาน
การมอบหมายงานพื่อให้ประสบความสำเร็จนั้นการกระจายงานหรือการมอบหมายงาน ถือเป็นหลัก สำคัญในการทำงาน
วัตถุประสงค์ของการมอบหมายงาน
เพื่อกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในหน้าที่การพยาบาลของแต่ละบุคคล แต่ละระดับ
เพื่อให้เกิดการพยาบาลที่ดีและมีประสิทธิภาพ
เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
เพื่อความสะดวกในการบริหารในหอผู้ป่วย
เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของหัวหน้าทีม
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ปฏิบัติได้เตรียมตัว และปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการมอบหมายงาน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน(Task-Related Factors)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสัมพันธภาพ (Relationship Factors)
หลักการมอบหมายงาน
หัวหน้าทีมมอบหมายงานล่วงหน้า 1 วัน โดยคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม
วิเคราะห์ลักษณะงาน ให้เหมาะสมกับสมาชิก
วิเคราะห์และประมาณความสามารถของสมาชิกทีม
ทบทวนแนวทางการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความรับผิดชอบ
ควบคุมติดตามงานที่รับผิดชอบทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน
มีความสามารถและสนับสนุนในการให้ข้อมูลย้อนกลับได้
รูปแบบการมอบหมายงาน
การมอบหมายงานแบบรายผู้ป่วย(Case Assignment)
การมอบหมายงานตามหน้าที่(Functional Assignment)
การมอบหมายงานแบบทีมการพยาบาล(Team Nursing)
การมอบหมายงานระบบพยาบาลเจ้าของไข้(Primary Nursing)
การมอบหมายแบบจัดการผู้ป่วยรายกรณี(Case Management)
การมอบหมายแบบผสมผสาน(Multiple Modality)
การตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล
มายถึงการนิเทศแบบเป็นกลุ่มกระทำ ได้ทั้งในขณะที่สมาชิกกำลังปฏิบัติงาน หลังจากปฏิบัติงาน หรือขณะที่ญาติอยู่กับผู้ป่วยเพื่อให้ได้ข้อมูลจาก ผู้ป่วยและครอบครัว เป็นการประกันคุณภาพการพยาบาลและใช้โอกาสนี้ในการสอน ให้คำปรึกษา กระตุ้น
วัตถุประสงค์ของการตรวจเยี่ยม
เพื่อเป็นการประกันคุณภาพการพยาบาล
เป็นการรักษาการติดต่อสัมพันธ์กับบุคลากรทุกคนที่ทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย
เป็นโอกาสในการใช้การสังเกตความสามารถในการทำงาน
ค้นหาข้อมูลจากผู้ป่วยและครอบครัว
เป็นการกระตุ้นส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรขณะปฏิบัติงาน
การวางแผนตรวจเยี่ยม (Planning for Rounds)
วัตถุประสงค์การตรวจเยี่ยม (Objective)
ใครเป็นผู้ปฏิบัติการตรวจเยี่ยม (Who)
ประเภทของการตรวจเยี่ยม (What)
จะทำการตรวจเยี่ยมที่ไหน (Where)
เวลาที่จะทำการตรวจเยี่ยม (What Time)
ขั้นตอนการตรวจเยี่ยม
การสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
ศึกษาปัญหาและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาผู้ป่วย
การตัดสินแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
การตรวจสภาพแวดล้อม
ปิดการสนทนา โดยกล่าวหรือแสดงท่าทางวิธีใดวิธีหนึ่ง
ประเภทการตรวจเยี่ยม
1 การตรวจเยี่ยมขณะรับส่งเวร (Change of Shift Rounds)
2 การตรวจเยี่ยมในช่วงเวรเช้า (Mid Morning Rounds or Mid Shift Rounds )
3 การตรวจเยี่ยมอย่างรวดเร็ว (Quick Rounds)
4 การตรวจเยี่ยมร่วมกับแพทย์ (Rounds with Physicians)
การนิเทศและการประเมิน ผลทางการพยาบาล
การนิเทศและเปลี่ยนแนวปฏิบัติจาก
ประเพณี ดั้งเดิมที่ได้ปฏิบัติกันมาในรูปของการตรวจงานเพื่อดูว่างานที่บุคคลใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติได้เสร็จ มาเป็นการ ปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาลนั้นผลดีและบรรลุวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์การนิเทศ
เป็นการช่วยเหลือบุคลากรพยาบาลในการเพิ่มคุณภาพของการพยาบาลที่ให้กับผู้ป่วยแต่ละคน
เพื่อพัฒนาความสามารถสูงสุดที่บุคคลมีอยู่
เพื่อสามารถสนองตอบความต้องการของผู้ใช้บริการ
เพื่อการปรับปรุงวิธีการทำงาน
เพื่อดูแลทรัพยากรทางการพยาบาลทุกประเภทและทุกระดับ
ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริการพยาบาล
องค์ประกอบของการนิเทศ
การนิเทศงานทางวิชาการ
การนิเทศทางการบริหาร และการจัดการ
การนิเทศการพยาบาลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
การนิเทศการพยาบาล (Supervision of Patient Care)
การนิเทศบุคลากรทางการพยาบาล (Supervision of Nursing Personal)
ขั้นตอนในกระบวนการนิเทศการพยาบาล
กำหนดวัตถุประสงค์
ประเมินความต้องการ การปรับปรุงการพยาบาลในหน่วยงาน
3.กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะของกิจกรรมการพยาบาลที่ต้องการปรับปรุง
กำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะ
ประเมินความต้องการ การปรับปรุงกิจกรรมการพยาบาล
กำหนดวัตถุประสงค์ของ
กำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
ปฏิบัติตามแผนจากขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 7 ภายใต้การนิเทศ
ประเมินผลแผนงานและกำหนดแผนใหม่
ประเมินบุคลากรรายบุคคล และกิจกรรมการพยาบาลเฉพาะอย่างในรูปของคุณภาพการพยาบาล
นางสาวจิราพร ตันกูล รหัสนักศึกษา 60440101036
นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4