Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรวิทยาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด - Coggle Diagram
พยาธิสรีรวิทยาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด
ความผิดปกติของหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)
สาเหตุ
หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณคอตีบ
คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
ความดันโลหิตสูง
ผู้สูงอายุ มีโอกาสเป็นได้มาก
เพศชายสามารถเป็นได้มากกว่าเพศหญิง
ภาวะที่ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย
สาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ทำให้ขัดขวางการลำเลียงเลือด
ส่งผลให้สมองสูญเสียการทำหน้าที่จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการเตือนของโรค
มุมปากตก ปากเบี้ยว
พูดไม่ชัด
สูญเสียการทรงตัว
มีอาการปวดศีรษะรุนแรงฉับพลัน
การมองเห็นมีปัญหาฉับพลัน
หลอดเลือดสมองโป่งพอง
พยาธิ
เกิดจากการโป่งออกของหลอดเลือดสมองเฉพาะจุด มีผลทำให้ผนังหลอดเลือดสมองบริเวณดังกล่าวบางลงและแตกออกง่ายก่อให้เกิดเลือดออกในชั้นใต้เยื่อหุ้มสมอง อะแร็คนอยด์
สาเหตุของโรค
เกิดจากกระเปาะหลอดเลือดโป่งพองที่บริเวณหลอดเลือดใหญ่ที่ฐานสมอง และมีลักษณะกลม เชื่อว่าเกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการที่มีกระแสเลือดไหลมากระทบตลอดเวลา ร่วมกับอายุที่มากขึ้น และปัจจัยที่เร่งกระบวนการเสื่อมของหลอดเลือดสมอง
อาการของโรค
กลุ่มที่มีการแตกออกของกระเปาะหลอดเลือดสมองโป่งพอง
ทำให้เกิดภาวะเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน
กลุ่มที่มีกระเปาะหลอดเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่ และกดทับเนื้อเยื่อสมองหรือเส้นประสาทสมอง อาการหรืออาการแสดงขึ้นกับบริเวณที่ถูกกดทับ
กลุ่มที่ตรวจพบกระเปาะหลอดเลือดสมองโป่งพองไม่มีอาการหรืออาการแสดงที่สัมพันธ์กับพยาธิสภาพนี้
กลุ่มที่กระเปาะหลอดเลือดสมองโป่งพอง มีขนาดใหญ่ ทำให้เลือดไหลวนอยู่ภายใน อาการและอาการแสดงจะเป็นไปตามบริเวณของสมอง ที่ขาดเลือด
การรักษา
การรักษาทางการแพทย์
การผ่าตัดสมอง
ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาระบบประสาท (Neurointerventionalist) หรือประสาทรังสีแพทย์ (neuroradiologist)
โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
พยาธิ
เป็นความผิดปกติในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากหลอดเลือดในสมองตีบอุดตันหรือแตก หรือเกิดจากสมองไขสันหลัง หรือเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ
อาการ
อัมพาตเฉพาะแขนเป็นโรคที่ทำให้แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างเคลื่อนไหวได้ไม่ปกติ
อัมพาตเฉพาะขาเป็นโรคที่ทำให้ขาข้างใดข้างหนึ่งเคลื่อนไหวได้ไม่ปกติ
อัมพาตครึ่งท่อนเป็นโรคที่ทำให้ขาทั้ง 2 ข้างเคลื่อนไหวได้ไม่ปกติ
อัมพาตทั้งตัวเป็นโรคที่ทำให้แขนทั้ง 2 ข้างขา 2 ข้างเคลื่อนไหวได้ไม่ปกติ
อัมพาตครึ่งซีกพบ ได้บ่อยที่สุดเป็นโรคที่แขนและขาข้างเดียวกันซีกใดซีกหนึ่ง เคลื่อนไหวได้ไม่ปกติ
ปัจจัยเสี่ยง
เพศชายมีโอกาสเกิดโรคสูงกว่าผู้หญิง
อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
เป็นโรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน
โรคไขมันในเลือดสูง
ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด
หลอดเลือดแดงโป่งพอง
สาเหตุ
หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ความดันโลหิตสูง การบาดเจ็บหรืออักเสบของหลอดเลือด ทำให้ผนังของหลอดเลือดส่วนนั้น ๆ อ่อนแอเมื่อมีแรงดันในหลอดเลือดสูงจึงเกิดการโป่งพองเมื่อเกิด Aneurysms แล้วขนาดของ Aneurysms จะใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เพราะแรงดันในหลอดเลือดที่สูง (เช่น Aortic aneurysms)
พยาธิสรีรวิทยา
Foam cellสร้าง Growth factors ต่าง ๆ จึงเกิดการแบ่งตัวของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบเพิ่มขึ้น และกระตุ้นใหเซลล์กล้ามเนื้อเรียบเคลื่อนย้ายตัวเองมาอยู่ในชั้น Subendothelium ทำให้ชั้นนี้หนาตัวขึ้น เกิดผังผืดหุ้มรอบเมื่อมีปัจจัยใด ๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดการแตกของพลาค หรือเลือดออกจะทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน แล้วเกิดการโป่งพองของหลอดเลือด
อาการ
อายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ ภาวะจากโรคถุงลมโป่งพอง
คลำพบก้อนในช่องท้อง ปวดท้องรุนแรง
ปวดรุนแรงบริเวณท้องหน้าอก กลางหลัง หรือเอว กลืนอาหารลำบาก ไอเป็นเลือด เสียงแหบ
ภาวะความดันโลหิตสูง
Hypertension
พยาธิสรีรวิทยา
1.ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ
กระบวนการควบคุมความดันโลหิตในร่างกาย(สมดุล)
ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ
ความดันโลหิตที่มีสาเหตุของโรค ซึ่งจะเข้าไปรบกวนกลไกต่างๆทางตรงและทางอ้อม
โรคที่พบบ่อยคือ โรคไตเรื้อรัง
อาการและอาการแสดง
ปวดศีรษะโดยทั่วไปจะปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย
ปวดไมเกรนปวดหัวข้างเดียว
เลือดกำเดาไหลจะเป็นอาการที่ไม่ได้พบบ่อย
อาการอื่น ๆเช่นอ่อนเพลียเหนื่อยง่าย
ปัจจัยเสี่ยง
-อายุ
-พันธุกรรม
-น้ำหนักเกินหรืออ้วน
-การสูบบุหรี่
-การดื่มแอลกอฮอล์
-วิตามินดี
แนวทางการรักษา
1.การรักษาโดยไม่ใช้ยา
ลดอาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง
กำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เลิกสูบบุหรี่เลิกดื่มแอลกอฮอล์
ลดน้ำหนัก
2.รักษาโดยใช้ยา
ยาความดันโลหิตสูงที่ใช้กันบ่อยคือ ACE inhibitors
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
พยาธิสภาพ
มีก้อนไขมัน/พลาค ( Atherome หรือ Plague ) เกิดจากการสะสมไขมันที่ผนังหลอดเลือดขั้น Intima แล้วมีแคลเซียมมาเกาะและถูกห่อหุ้มด้วยชั้นของพังผืด ( Subendothelial matrix ) Plaqueสามารถเกิดในตำแหน่งที่ผนังหลอดเลือดอ่อนแอจากการติดเชื้อหรือเป็นผลของภาวะผิดปกติทางระบบอิมมูนของผนังหลอดเลือดทำให้เกิดการสร้างโปรตีนบางชนิดขึ้นและหลั่งสารเหนี่ยวนำต่าง ๆ
กระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิด Monocytes และ Lymphocytes เข้ามาในผนังหลอดเลือดผ่านเข้าไปอยู่ใต้ Endothelial cell จากการที่มีเม็ดเลือดขาวเข้ามาอยู่ในบริเวณดังกล่าวทำให้เกิดการอักเสบและเป็นกลไกในการเกิดหลอดเลือดแข็งตัวตามมา
ปัจจัยเสี่ยง
1.ระดับไขมันในเลือด
2.การสูบบุหรี่
3.โรคเบาหวาน
4.โรคความดันโลหิตสูง
5.โรคอ้วน
6.เพศ
อาการและอาการแสดง
ที่แขนและขา
อาการปวดและชา
อาจทำให้เป็นตะคริว
ที่คอและสมอง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่งผลให้มีอาการแขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน
ที่ไต เนื้อเยื่อขาดเลือดและส่งผลต่อการทำงานของไต จะทำให้เหนื่อยง่าย เบื่ออาหารปัสสาวะผิดปกติ
ที่หัวใจ อาการเจ็บหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับ
แนวทางการรักษา
การทำบัลลูน ใส่เสตนท์
ใช้มีด ทำบายพาส
ความผิดปกติระบบหัวใจ
Coronary artery disease :CAD
(ความผิดปกติของหลอดเลือดของหัวใจ)
พยาธิสรีรวิทยา
เซลล์บุผนังหลอดเลือดโคโรนารีด้านในมีไขมันชนิด LDL-C หลังจากนั้นรอยไขมันจะเปลี่ยนเป็นก้อนไขมัน (fibrous plaque)ที่ผนังหลอดเลือดแดง
เมื่อหลอดเลือดแดงเกิดการอักเสบจนแข็งและหนาตัวขึ้นก้อนไขมันจะทำให้รูภายในหลอดเลือดแดงโคโรนารีตีบแคบ เลือดแดงจากหลอดเลือดโคโรนารีที่ไหลเข้าสู่กล้ามเนื้อหัวใจจะลดลงหรือหยุดการไหลของเลือด
สาเหตุการอุดตันของ CAD
• มักพบบริเวณ epithelial arteries หรือที่เรียกว่า arteromatous plaque
• การอุดตันส่วนใหญ่มีสาเหตุจาก non-arterosclerotic และความผิดปกติแต่กำเนิดของหลอดเลือดโคโรนารี
อาการแสดง
• อาการจะปรากฏชัดเจนเมื่อหลอดเลือดโคโรนารีมีการตีบแคบตั้งแต่ 70% หรืออุดตัน
จนทำให้เกิดการส่งเลือดไปเลี้ยงได้ไม่เพียงพอที่บริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ
• เมื่อมีการตีบของหลอดเลือดโคโรนารีบริเวณ left main artery จะทำให้การไหลเวียนเลือดลดลงอย่างน้อย 50%
การรักษา
การรับประทานยา
การทำหัตถการหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน
Valvular heart disease : VHD
(ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ)
สาเหตุการเกิดโรค
• โรคลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด
• โรคลิ้นหัวใจรูห์มาติค
• โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในคนสูงอายุ
• โรคลิ้นหัวใจอักเสบติดเชื้อ
• โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
พยาธิสภาพการตีบของลิ้น mitral)
เลือดไหลเข้า LV ลดลง ทำให้มีเลือดค้างใน LA มากขึ้น เกิดน้ำท่วมปอด เลือดที่ไหลเข้าสู่ LV มีลักษณะไหลวนกลับ ถ้าไปคั่งที่ pulmonary จะเกิด pulmonary edema และLV failure จนเกิด RV failure และเกิด Heart Failure (ภาวะหัวใจล้มเหลว)
อาการและอาการแสดง
หอบเหนื่อยและไอเป็นเลือดออกแดง ชมพู
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ใจสั่น
กลืนอาหารลำบาก เสียงแหบ เจ็บหน้าอก หรืออาจชักหมดสติ