Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 3 เทคนิคการบริหารทางการพยาบาล - Coggle Diagram
หน่วยที่ 3
เทคนิคการบริหารทางการพยาบาล
3.1 การมอบหมายงานและตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล
การมอบหมายงานทางการพยาบาล
หมายถึง การจัดแบ่งงาน (Allocation) ให้กับผู้ปฏิบัติงาน โดยพิจารณาจากปริมาณงาน เวลา ลักษณะงาน ความเหมาะสมของงาน ให้สอดคล้องเหมาะสมกับศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน ให้ผู้ปฏิบัติงานมีอำนาจในการปฏิบัติงาน (Authority) มีความรับผิดชอบ (Responsibility) สามารถตัดสินใจวางแผนได้เอง
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึง
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน(Task-Related Factors)
1.1 ความสามารถของบุคคลในการทำงานนั้น ๆ เกี่ยวกับความรู้ ทักษะของสมาชิกทีม ตามขอบข่ายหน้าที่ที่กำหนดให้สมาชิกทีมแต่ละระดับ
1.2 การจัดลำดับงานที่จะต้องทำ ก่อน-หลัง โดยพิจารณาตามความต้องการของผู้ใช้บริการความต้องการของทีม และความต้องการขององค์กรและชุมชน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสัมพันธภาพ (Relationship Factors)
2.1 ความยุติธรรมโดยมีการกระจายภาระงานที่ไม่ทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีงานมากหรือน้อยเกินไป
2.2 โอกาสในการเรียนรู้ การมอบหมายงานที่ท้าทายจะเป็นการกระตุ้น จูงใจให้เกิดการเรียนรู้และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตนเอง
3.1.1.3 หลักการมอบหมายงาน
การมอบหมายงานแบบรายผู้ป่วย (Case Assignment หรือ Case Method หรือ Total PatientCare) เป็นการมอบหมายงานให้พยาบาล ดูแลรับผิดชอบผู้ป่วยเป็นรายบุคคลในแต่ละเวร โดยพยาบาลต้องให้การพยาบาลผู้ป่วยทุกอย่าง คลอบคลุมปัญหาและความต้องการทั้งด้านร่างกาย จิตสังคมและจิตวิญญาณ(Total Care)
การมอบหมายงานตามหน้าที่(Functional Assignment
หรือ Functional Method)การมอบหมายงานตามหน้าที่ เป็นการมอบหมายงานตามหน้าที่ และกิจกรรมที่มีอยู่โดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลจะได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ใดก็ทำหน้าที่นั้นให้กับผู้ป่วยทุกคน
การมอบหมายงานแบบทีมการพยาบาล
(Team Nursing) เป็นการบริหารการพยาบาลในหน่วยย่อยแบบการกระจายงาน มีการกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบของหัวหน้าหอผู้ป่วยออกไปให้หัวหน้าทีมการพยาบาล การทำงานเป็นทีม ประกอบด้วยผู้นำทีม (Team Leader) และสมาชิกทีม (Team Member)
การมอบหมายงานระบบพยาบาลเจ้าของไข้
เป็นการมอบหมายงานให้พยาบาลดูแลผู้ป่วยแต่ละคนตั้งแต่รับผู้ป่วยไว้รักษาจนกระทั่งกลับบ้าน โดยพยาบาลคนเดียวให้การดูแลตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
การจัดการผู้ป่วยรายกรณี Case Management)
เป็นวิธีการที่พัฒนาขึ้นในระบบการพยาบาลยุคมีคุณภาพ ลดการทำงานแบบแยกส่วนเพื่อคุณภาพชีวิต ลดค่าใช้จ่ายโดยเน้นผลลัพธ์ภายในเวลาที่กำหนด มีการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสม
3.1.2 การตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล
การตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล (Nursing Round)
หมายถึงการนิเทศแบบเป็นกลุ่มกระทำได้ทั้งในขณะที่สมาชิกกำลังปฏิบัติงาน หลังจากปฏิบัติงาน หรือขณะที่ญาติอยู่กับผู้ป่วยเพื่อให้ได้ข้อมูลจากผู้ป่วยและครอบครัว เป็นการประกันคุณภาพการพยาบาลและใช้โอกาสนี้ในการสอน ให้คำปรึกษา
3.1.2.2 ขั้นตอนการตรวจเยี่ยม
การสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยมีการทักทายผู้ป่วย ต้องกล่าวหรือแสดงท่าทางทักทาย โดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น แนะนำตัว ยิ้ม เรียกชื่อ ถามชื่อ-สกุล การสัมผัส
ศึกษาปัญหาและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาผู้ป่วย โดยถามอาการความรู้สึกความต้องการหรือปัญหาของผู้ป่วย
การตัดสินแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยพิจารณาจากขอบเขตของคำถาม เช่น รับฟังความคิดเห็นของผู้ป่วยโดยการพยักหน้า ยิ้ม มองหน้าผู้ป่วยรับฟังปัญหา ให้คำแนะนำหรือแก้ปัญหา เช่น ให้นอนพักบนเตียง
การตรวจสภาพแวดล้อม เช่น โต๊ะข้างเตียง เก้าอี้ ความสะอาดทั่วไป
ปิดการสนทนา โดยกล่าวหรือแสดงท่าทางวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น ยิ้ม พยักหน้า สัมผัส
3.1.2.3 ประเภทการตรวจเยี่ยม
การตรวจเยี่ยมผู้ป่วย(Patient Rounds)
การตรวจเยี่ยมบุคลากร (Personnel Rounds)
การตรวจเยี่ยมโรงพยาบาล (Hospital Rounds)
การตรวจเยี่ยมโรงพยาบาล (Hospital Rounds)
3.2 การนิเทศและการประเมิน ผลทางการพยาบาล
ความหมายของการนิเทศการพยาบาล
คอน (Kron, 1971) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง กระบวนการในการทำงานร่วมกันของบุคลากรพยาบาล ซึ่งผู้ทำการนิเทศจะต้องใช้ความรู้ความหมายการนิเทศการพยาบาลความสามารถจากศาสตร์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น มนุษยสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร การบริหารงาน และอื่น ๆเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์
3.2.1.2 หลักการนิเทศการพยาบาล
วัตถุประสงค์การนิเทศ
เป็นการช่วยเหลือบุคลากรพยาบาลในการเพิ่มคุณภาพของการพยาบาลที่ให้กับผู้ป่วย
เพื่อพัฒนาความสามารถสูงสุดที่บุคคลมีอยู่ (High Potential) กิจกรรมการนิเทศการพยาบาล
เพื่อสามารถสนองตอบความต้องการของผู้ใช้บริการ (Health Care Consumer) ได้ถูกต้องและ
เหมาะสม
เพื่อการปรับปรุงวิธีการทำงาน หมายถึงการเปลี่ยนแปลงจะต้องเปิดขึ้นเพื่อเพิ่มคุณภาพของการ
พยาบาล
เพื่อดูแลทรัพยากรทางการพยาบาลทุกประเภทและทุกระดับทั้งคนและอุปกรณ
3.2.1.3 กระบวนการนิเทศการพยาบาล
กระบวนการนิเทศการพยาบาลมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อให้การบริการพยาบาลดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลให้มีความรู้ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและมีความสุขในการทำงาน การนิเทศงานในสายการพยาบาลจึงเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารการพยาบาลเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพตรงตามเป้าหมายและมาตรฐานการพยาบาล
3.2.1.4 คุณสมบัติผู้นิเทศ
1. คุณสมบัติทางบุคลิกลักษณะ
1.1 มีลักษณะเป็นผู้นำ
1.2 มีอารมณ์ขัน
1.3 มีสุขภาพดีทั้งกายและจิต คล่องแคล่ว ว่องไว
1.4 สุภาพเรียบร้อย
1.5 ซื่อสัตย์สุจริต
2. คุณสมบัติทางด้านวิชาการ
2.1 มีความรู้ในงานที่รับผิดชอบ
2.2 หมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ
2.3 สนใจแต่ความเคลื่อนไหวทางวิชาการ
3. คุณสมบัติทางด้านจิตวิทยา
3.1 รู้ความต้องการของคน ความแตกต่างของคน และเข้าใจอาการของความคับข้องใจ
4. คุณสมบัติทางด้านเจตคติและอารมณ์
4.1 ใจกว้าง ไม่ยึดมั่นแต่เฉพาะความเห็น และวิธีการของตนเองยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
เพื่อนำมาพิจารณาแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานอยู่เสมอ
5. คุณสมบัติทางด้านสังคม
5.1 มีมนุษยสัมพันธ์
3.2.1.5 เครื่องมือในการนิเทศนิเทศ
การนิเทศการพยาบาล จะต้องมีวิธีปฏิบัติ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือการนิเทศ ประกอบด้วยกิจกรรม การนิเทศ 7 ประการ
1.การตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล (Nursing Rounds)
การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล (NursingConference) 3. การสอน (Teaching)
การให้คำปรึกษาแนะนำ 5. การแก้ปัญหา
การสังเกต (Observation) 7. การร่วมมือปฏิบัติงาน
3.2.2 การประเมินผลทางการพยาบาล
การประเมินผลทางการพยาบาล เป็นกิจกรรมการบริหารงานที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้งานบรรลุ
ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 มนุษยสัมพันธ์ในการบริหารงาน
ความหมายของมนุษยสัมพันธ์
มีผู้ให้ความหมายคำว่ามนุษยสัมพันธ์ไว้หลายท่าน ดังนี้เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ กล่าวว่า กระบวนการรวมพลังของบุคคลเพื่อจะทำงานและมีแรงจูงใจให้ร่วมมือกันทำงานโดยมุ่งให้ผลผลิตสูง และขณะเดียวกันบุคคลก็ได้รับการตอบสนองความต้องการ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และจิตวิทยา
3.3.2 องค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ
1.องค์ประกอบเกี่ยวกับการรู้จักตน (Self) ตนเป็นที่รวมของพฤติกรรมและการแสดงออก บุคคลที่เข้าใจตนเองได้ดีจะได้เปรียบบุคคลที่ไม่ค่อยรู้จักตนเองในแง่ต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมให้เป็นไปในทางที่เหมาะสมได้
2.องค์ประกอบเกี่ยวกับการเข้าใจบุคคลอื่น ความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นตามหลัก
จิตวิทยา มนุษย์จะแสดงพฤติกรรมเพื่อสนองความต้องการ
3.องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม การที่คนเราจะสามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์ได้ดีมากน้อยเพียงใดนั้น
ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ ลักษณะของสภาพแวดล้อมของบุคคล
3.3.3 การปรับตนและสร้างมนุษยสัมพันธ
การเข้าใจบุคคลอื่นและสภาพแวดล้อม ทำให้มนุษย์สามารถวิเคราะห์ตนเองจนเป็นที่เข้าใจแล้ว เช่น รู้ความสามารถของตนเอง รู้นิสัยใจคอของตนเอง ขั้นต่อไป คือรู้จักพัฒนาลักษณะต่าง ๆของตนเองให้ดีขึ้น และเข้าใจบุคคลอื่นมากขึ้น
3.3.4 การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการพยาบาล
ในการบริหารงานในองค์กร จะมีบุคลากรหลายระดับที่รับผิดชอบปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้ร่วมงานกัน บางคนอาจทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา บางคนทำหน้าที่เป็นลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
3.4 การจูงใจและความพึงพอใจในงาน
3.4.3 การจูงใจกับวิชาชีพพยาบาล
การจูงใจเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนต้องอาศัยทักษะการบริหารและการเป็นผู้นำที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของหน่วยงานและบรรยากาศของการทำงาน ที่จะส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกระตือรือร้นและเต็มใจใช้ความรู้ความสามารถทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
3.4.2.2 การจูงใจเพื่อความพึงพอใจในงาน
องค์ประกอบที่เอื้ออำนวยต่อความพึงพอใจ
ในการทำงานไว้ 10 ประการ
ความมั่นคงปลอดภัย 2. โอกาสก้าวหน้าในการทำงาน
สถานที่ทำงานและการจัดการ 4. ค่าจ้าง
ลักษณะของงานน่าสนใจ
การควบคุมบังคับบัญชาที่ไม่ดีอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนย้ายงานและลาออกจากงาน
ลักษณะทางสังคมถ้าผู้ปฏิบัติงานทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขก็จะเกิดความพอใจ
ในงานนั้น
การติดต่อสื่อสาร 9. สภาพการทำงาน
สิ่งตอบแทนหรือประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ
3.4.1 การจูงใจ
การบริหารงานให้ประสบความสำเร็จตามนโยบาย หรือแผนงานนั้นผู้บริหารนอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการจูงใจผู้ปฏิบัติงานให้เต็มใจทำงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อบรรลุประสงค์ของหน่วยงาน
3.5 การสื่อสารภายในองค์กร
การติดต่อสื่อสารเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบองค์กรที่ระบุว่า ผู้บริหารจะประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน การใช้การสื่อสารเป็นศิลปะในการบริหารงานเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน ในทุกระดับของสายการบังคับบัญชา และเป็นการกระตุ้นบุคลากรให้ปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพราะการติดต่อสื่อสารเป็นส่วนหนึ่งของระบบความร่วมมือ และนำไปสู่ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่ของบุคคล
3.6 การเปลี่ยนแปลงและความขัดแย้ง
การเปลี่ยนแปลง เป็นสภาพการณ์ที่แปรไปจากสภาพที่เคยเป็นอยู่กลายเป็นสภาพใหม่ โดยอาศัยองค์ประกอบด้านเวลาเป็นเครื่องกำหนด และปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นผลมาจากอิทธิพลทั้งภายในหรือภายนอกของสิ่งนั้น ๆ
ความขัดแย้ง
ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอในการทำงาน เนื่องจากต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกันในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ค่านิยม ความคิด ความเชื่อ ความต้องการ นอกจากนี้ยังต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงของการทำงานอยู่เสมอ เช่น นโยบายของหน่วยงาน ลักษณะการทำงาน ตลอดจนปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ของการทำงาน