Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคผิวหนังจากการแพ้ (Allergy), นางสาวรพีพร ศักดิ์ศรี เลขที่55 ห้อง2A…
โรคผิวหนังจากการแพ้ (Allergy)
ลมพิษ(urticaria)
สาเหตุ
เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดยาที่ทำให้เกิดลมพิษได้บ่อยเช่น penicillin aspirin และ Sulfonamide ส่วนอาหารที่พบบ่อยคือนมถั่วไข่ปลาและอาหารที่มีส่วนผสมของยีสต์มีอาการคันอย่างรุนแรงส่วนใหญ่เกิดจากภูมิแพ้และหาสาเหตุไม่ได้
การรักษา
ให้กินยา antihistamine เช่น chlorpheniramine หากอาการไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาให้ steroid ร่วมด้วยหากมีอาการ anaphylaxis ควรพิจารณาให้ epinephrine และติดตามดูแลอาการอย่างใกล้ชิดหากเป็นลมพิษเรื้อรังควรพยายามหาสาเหตุและขจัดสาเหตุประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมักหายเองภายใน 1 ปี
Stevens-Johnson Syndrome (SJS)
เป็นโรคภูมิคุ้มกันไวต่อการตอบสนองที่พบได้ไม่บ่อยเชื่อว่าอาการของโรคเป็นผลมาจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ตอบสนองต่อยาการติดเชื้อหรือการเจ็บป่วยต่างๆทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ผิวหนังและเยื่อบุผิวทั่วร่างกายกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเกิดโรคขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุชักนำใด ๆ ส่วนกลุ่มที่ทราบสาเหตุชักนำนั้นมักเกิดจาก
ยาที่พบบ่อย ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ (กลุ่มซัลฟาเพนิซิลลิน) ยากันชัก (บาร์บิทูเรตเฟนิโทอินคาร์บามาซีพี่น) ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์หรือยาแก้ปวดข้อ (เฟนิลบูทาโซนไพร็อกซิแคม) ยารักษาโรคเกาต์ (อัลโลพูรินอล)
การติดเชื้อ ได้แก่ เชื้อไวรัส (เชื้อเริ่มเชื้อเอชไอวีไวรัสตับอักเสบคางทูมไข้หวัดใหญ่) เชื้อแบคทีเรีย (บีตาสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอคอตีบไทฟอยด์ไมโคพลาสมา) เชื้อราและโปรโตซัว
โรคมะเร็งมีโรคมะเร็งหลายชนิดรวมทั้งมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่ชักนำให้เกิดกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน
อาการและอาการแสดง
ระยะแรก
ผู้ป่วยจะมีไข้ระคายเคืองตาและลำคอโดยปรกติอาการเหล่านี้จะนำมาก่อนอาการทางผิวหนัง 2 3 วันตำแหน่งแรกที่เกิดผื่นคือบริเวณหน้าอกและใบหน้า
ระยะที่สอง
หลังจากมีพื้นที่ผิวหนังไม่นานภายในเวลาเป็นนาทีถึงชั่วโมงผิวหนังก็จะเริ่มเป็นตุ่มน้ำและหลุดลอกเป็นแผ่นใหญ่หากไม่พบผิวหนังลอกเป็นแผ่นอาจทดสอบด้วยการใช้หลังเล็บออกแรงขูดเบา ๆ ที่ข้างรอยแดง
ระยะท้ายและภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนนี้พบได้บ่อยในระยะท้ายของโรคเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะพักฟื้นจะมีผิวกระดำกระด่างตามรอยโรคเดิม (hyper / hypopigmentation) เล็บเสียและมีอาการทางตา
การรักษา
ระยะแรก
-การให้สารน้ำควรใช้ Saline Solution ใน 24 ชม. แรกโดยปริมาณสารน้ำที่ต้องการจะน้อยกว่าผู้ป่วยภาวะ burn ที่โดนในตำแหน่งเดียวกันหลังจากวันที่สองไปแล้วสามารถให้กินน้ำทางปาก
-การให้อาหารทางหลอดเลือดดำเป็นสิ่งจำเป็นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อส่งเสริมการสร้างผิวหนังทดแทนบริเวณที่เสียและชดเชยโปรตีนที่เสียไปควรปรับอุณหภูมิห้องให้อยู่ในช่วง 30-32 องศาเซลเซียสเพื่อลดการสูญเสียแคลลอรี่ทางผิวหนัง
-การรักษาผื่นและแผลบริเวณผิวหนังให้ทา wet Compression คือการประคบแผลที่มีน้ำเหลืองไหลซึมด้วยผ้ากอซที่ชุบน้ำเกลือหมาด ๆ ประคบ 5-10 นาทีแล้วเอาออกทาวันละ 4 ครั้งหรือเช็ดแผลที่เกิดจากตุ่มที่แตกแล้วบ่อยๆ
นางสาวรพีพร ศักดิ์ศรี เลขที่55 ห้อง2A
รหัสนักศึกษา 62123301109