Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สุขภาพจิต (Mental health) - Coggle Diagram
สุขภาพจิต (Mental health)
WHO: สภาพจิตใจที่เป็นสุข สามารถเข้าใจความสามารถของตนเอง สามารถเผชิญและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งสามารถสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้อย่างดี
กรมสุขภาพจิต : ภาวะจิตใจที่เป็นสุข สามารถปรับตัว แก้ปัญหาสร้างสรรค์ ทำงานได้ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความมั่นคงทางจิตใจ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ อยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้
ลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตดี
ก. ความรู้สึกต่อตัวเอง เป็นผู้ที่รู้จักและเข้าใจตนเอง
มีเจตคติที่ดีต่อตนเอง เข้าใจและยอมรับสภาพของตนเอง และยอมรับนับถือตนเอง
เป็นตัวของตัวเอง มีความเป็นอิสระในการคิดและการแสดงออก(Autonomy)
มีแรงจูงใจในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า สามารถดึงศักยภาพของตนมาใช้ได้อย่างเต็มที่ (Personal growth)
พอใจและชื่นชมยินดีต่อความสุขหรือความสำเร็จของตน
ข. ความรู้สึกต่อผู้อื่น เป็นผู้ที่รู้จักและเข้าใจผู้อื่น
ให้ความสนใจและรักคนอื่นเป็น และยอมรับความสนใจและความรักใคร่ที่คนอื่นมีต่อตน
เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี
เป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ
มีความรับผิดชอบต่อหมู่คณะหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
ค. ความสามารถในการดำเนินชีวิต สามารถเผชิญกับความจริงในชีวิตได้
รับรู้ตนเอง โลกและสังคมตามความเป็นจริง ยอมรับและเผชิญกับความจริง
แก้ปัญหาและเผชิญกับอุปสรรคได้ด้วยตัวเอง โดยไม่หวาดกลัวมากนัก
มีการวางแผนล่วงหน้าในการปฏิบัติงานต่างๆ
ตั้งจุดงหมายของชีวิตไว้สอดคล้องกับความจริง
ตัดสินใจในปัญหาต่างๆ ได้อย่างฉลาด ฉับพลัน ปราศจากการลังเลหรือเสียใจภายหลัง
สามารถใช้พลังงานที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่และเกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ลักษณะของคนที่มีสุขภาพจิตไม่ดี
มีปัญหาในงานของวัย (Task of the development period) เช่น ปัญหาการเรียน การงาน ครอบครัว สังคม เพศ เป็นต้น
มีความประพฤติผิดปกติ (Character disorder) เช่น ก้าวร้าว ทะเลาะวิวาท ติดสารเสพติด เป็นต้น
มีบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality disorder) เช่น เก็บตัว ระแวง เป็นต้น
มีอาการทางกายเนื่องจากอารมณ์ (Psychophysiological disorder เดิมเรียก Psychosomatic) เช่น แผลในกระเพาะอาหาร โรคหัวใจ เป็นต้น
โรคประสาท (Neurosis) เป็นสภาวะความตึงเครียดทางอารมณ์จากความวิตกกังวล ทำให้บุคคลมีพฤติกรรมผิดไปจากปกติ เป็นความผิดปกติทางจิตชนิดไม่รุนแรง และหายได้ถ้าได้รับการรักษาถูกวิธี
โรคจิต (Psychosis) เป็นสภาวะความผิดปกติทางจิตที่มีมาก จนทำให้ผู้ป่วยสูญเสียหน้าที่การทำงานของจิตใจในระดับรุนแรง ทำให้ไม่สมารถรับรู้ตนเองและโลกตามความเป็นจริง
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต
ด้านบุคคล
1.1 ด้านชีวภาพ/รางกาย ได้แก่ พันธุกรรม ชีวเคมี การใช้สารเสพติด
1.2 ด้านจิตใจ ได้แก่ บุคลิกภาพ ลักษณะพื้นอารมณ์ (Temperament) ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ความสามารถในการปรับตัว และปัญหาที่ประสบในชีวิตที่ส่งผลต่อจิตใจ
ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม
2.1 กฎเกณฑ์ โครงสร้ง และกระบวนการทางสังคม เช่น ความปลอดภัย ช่องว่างระหว่างชนชั้น
2.2 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น สภาพเศรษฐกิจ การจ้างงาน
สาเหตุโรคทางจิตเวช
ด้านชีวภาพ/รางกาย (Biological factors)
พันธุกรรม
กายวิภาคของสมอง
สารชีวเคมีในสมอง
การเจ็บป่วย/บาดเจ็บ
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
ด้านจิตใจ (Psychological factors )
การเลี้ยงดูและพัฒนาการในวัยเด็ก
ผลกระทบทางจิตใจ
สัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ด้านสังคม/สิ่งแวดล้อม (Social factors )
สภาพที่อยู่อาศัย
สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
การจำแนกโรคจิตเวช (Psychiatric classification)
DSM V: เป็นระบบการวินิจฉัยตามสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (American Psychiatric Association: APA) โดยแบ่งหมวดหมู่โรคออกเป็น 22 กลุ่ม
CD-10: ระบบมาตรฐานการจำแนกโรคระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก (WHO) ฉบับที่ 10 เป็นรหัสของโรคและอาการที่จัดทำขึ้น ใช้ในการจัดประเภทการเจ็บป่วยตามเกณฑ์
การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช
มีอาการและอาการแสดงที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรค
ความคิด
อารมณ์
ความรู้สึก
พฤติกรรม
สูญเสียหน้าที่ (Dysfunction)
การงานอาชีพ (Occupational dysfunction)
การเข้าสังคมหรือสัมพันธภาพ (Social dysfunction) หรือรู้สึกเป็นทุกข์ (Distress)
การตรวจสภาพจิต (Mental Status Examination: MSE)
เป็นการตรวจสภาพความคิดและจิตใจในด้นต่างๆ ของผู้ป่วยด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ควรชี้แจงให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงการตรวจสภาพจิตว่า เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจเช่นเดียวกับการตรวจร่างกาย
ลักษณะทั่วไป (General appearance)
ลักษณะคำพูด (Speech)
อารมณ์ (Emotion)
ความคิด (Thought)
การรับรู้ (Perception)
การรับรู้เวลา สถานที่ บุคคล (Orientation)
ความจำ (Memory)
ความตั้งใจและสมาธิ (Attention and concentration)
ความคิดแบบนามธรรมและความสามารถทางเชาว์ปัญญา (Abstract thinking and intellectual abilities)
การตัดสินใจ (Judgment)
ความรู้จักตนเอง (Insight)