Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด สุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิต - Coggle Diagram
แนวคิด สุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิต
คือสภาพจิตที่เป็นสุข เข้าใจความสามารถของตนเองเผชิญและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้อย่างดี - WHO
สภาวะที่จิตใจเป็นสุขสามารถปรับตัวแก้ปัญหา สร้างสรรค์ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น - กรมสุขภาพจิต
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต
ด้านบุคคล
ด้านชีวภาพ/ร่างกาย : พันธุกรรม ชีวเคมี สารเสพติด
ด้านจิตใจ : บุคลิกภาพ ลักษณะพื้นอารมณ์ ความสามารถในการปรับตัว
ด้านสังคม
กฎเกณฑ์โครงสร้าง กระบวนการทางสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม : สถานภาพทางเศรษฐกิจ
ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี
1 รู้จักและเข้าใจตนเอง : ยอมรับสภาพ เป็นตัวของตนเอง สามารถดึงศักยภาพออกมาใช้ได้ และมีความพอใจต่อความสำเร็จ
2 ผู้ที่รู้จักและเข้าใจผู้อื่น : ให้ความสนใจและรักคนอื่นเป็น เป็นได้ทั้งผู้นำ และผู้ตามที่ดี เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
3 เผชิญกับความจริงในชีวิตได้ : รับรู้ตนเอง มองโลกและสังคมตามความเป็นจริง แก้ปัญหาและเผชิญอุปสรรคได้ ตัดสินใจในปัญหาได้อย่างฉลาด ฉับพลัน
ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ดี
1 มีปัญหาในงานของวัย (Task of the development period)
2 มีความประพฤติที่ผิดปกติ (character disorder)
3 มีบุคลิกภาพที่ผิดปกติ (Personality Disorder)
4 มีอาการทางกายเนื่องจากอารมณ์ (Psychosomatic disorder )
5 โรคประสาท (neurosis) : การกระทำที่อยู่กับความเป็นจริง มีความรับผิดชอบขั่วดี รับรู้ปกติ ปรับตัวในสังคมชมได้
6 โรคจิต (psychosis) ความคิด การกระทำไม่อยู่ในความเป็นจริง ไม่มีความรับผิดชอบชั่วดี การรับรู้ผิดปกติ ปรับตัวในสังคมไม่ได้ ไม่ยอมรับในการรักษา
สาเหตุของโรคทางจิตเวช
ด้านชีวภาพ /ร่างกาย (biological factors) : พันธุกรรม กายวิภาคสมอง สารเคมีในสมอง การเจ็บป่วย วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท
ด้านจิตใจ (psychological factors) : การเลี้ยงดู และพัฒนาการในวัยเด็ก ผลกระทบจิตใจ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ด้านสังคม/สิ่งแวดล้อม (social factors) : สภาพที่อยู่อาศัย สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดและการดำเนินโรคทางจิตเวช
ปัจจัยเสี่ยง predisposing factors : พ่อแม่ทิ้ง การใช้สารเสพติด:
ปัจจัยกระตุ้น precipitating factors : เลิกกับคนที่รัก การใช้สารเสพติดเกินขนาด
ปัจจัยที่ทำให้อาการคงอยู่ prepetuating factors : ไม่มีญาติพี่น้อง ถูกทอดทิ้ง ถึงจะรักษาก็อยู่คนเดียว
ปัจจัยปกป้อง protective factors : สถานะทางเศรษฐกิจดี
การจำแนกโรคทางจิตเวช
DSM V : (diagnosis and statisical manual of mental diasoder fifth edition) ระบบวิจัยตามสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (APA) แบ่งเป็น22 กลุ่ม ex bipolar disorder , schizophrenia spectrum
ICD-10 (international classification of disease and related health problem 10th revision):ระบบมาตราฐานตามWHO ฉบับที่10 เป็นการบอกรหัสของโรคนั้นๆ ex PTSD disease คือ F43.10
โรคทางจิตเวช
1 การวินิจฉัย
มีอาการแสดง ความคิด องค์ความรู้ พฤติกรรม เปลี่ยนแปลง
สูญเสียหน้าที่ การเข้าสังคมสัมพันธภาพ ลดลง
2 การดูแลผู้ป่วย :ผู้ป่วยเดินทางมาเองได้ หรือต้องให้ผู้อื่นพามา
3 ขั้นตอนการดูแลรักษาผู้ป่วย : การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวสภาพจิต การตรวจทางจิตวิทยา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การวางแผนการรักษา การพยากรณ์โรค
4 Mental status examination (MSE)
general appearance : ลักษณะภายนอกทั่วไปที่สังเกตได้ ท่าทาง พฤติกรรม
เช่นมี tics กระตุก tremor สั่น
speech : ลักษณะการพูด สามารถสะท้อนความคิดได้
emotions : อารมณ์โกรธ ซึมเศร้า depress ,panic
thought : รูปแบบการคิด การตัดสินใจ แบ่งเป็น
FOT(กระแส รูปแบบความคิด) คิดไม่ต่อเนื่อง คิดเร็ว หยุดพูดกระทันหัน
COT(เนื้อหาความคิด) ความคิดหมกมุ่น obsession ย้ำคิด
perception : การรับรู้แปลสิ่งเร้าที่ผิด(illusion) หรือประสาทหลอน (hallucinations)
orientation : การรับรู้วันเวลา สถานที่ บุคคล(มีความผิดปกติของสมอง delirium )
Memory : ความผิดปกติทางความจำ ระยะยาว remote or long term ถามความจำในวัยเด็ก ระยะสั้น immediate or recall ให้จำของ 3สิ่งและผ่านไป5นาทีให้ถามซ้ำ
attention : ความตั้งใจและสมาธิ ทดสอบโดย digit forward อ่านเลขตาม และพูดทวนถอยหลังได้
adjustment :การตัดสินใจ สร้างสถานการณ์ให้ตัดสินใจ เช่นถ้าพบว่าลืมกุญแจรถยนต์ไว้ในรถจะทำอย่างไร
Abstract thinking & intellectual abilities ความคิดนามธรรมและปัญญาเชาว์ : ถามความรู้รอบตัวทั่วไป /เปรียบเทียบของสองสิ่งที่แตกต่าง /เปรียบเทียบของที่เหมือนกัน /ความหมายคำสุภาษิต
insight : การรู้จักตัวเอง ยอมรับและรู้ว่าตนเองต้องการความช่วยเหลือ