Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต - Coggle Diagram
บทที่ 2
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ความหมายของภาวะวิกฤต
ภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้น เมื่อบุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตนประเมินและรับรู้ว่ามีความคุกคาม ที่อาจทำให้เกิดความสูญเสียหรือความเปลี่ยนแปลงต่อตนเอง ภาพพจน์ หรือเป้าหมายในชีวิต โดยบุคคลไม่สามารถหนี หรือใช้วิธีการแก้ไขปัญหามาใช้ลดความตึงเครียดนั้นทำให้บุคคลเสียความสมดุลของชีวิตไป เกิดความตึงเครียด คับข้องใจอย่างมาก และมีความวิตกกังวลสูง เป็นเหตุให้ความสามารถทางสติปัญญาลดลง
ภาวะวิกฤตทางอารมณ์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด
สถานการณ์วิกฤต (situational crisis)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้
แล้วส่งผลให้ภาวะทางอารมณ์ทางจิตใจเสียภาวะสมดุล
การเสียคนรักจากอุบัติเหตุ
การตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ
การสอบตก
การถูกให้ออกจากงาน
พัฒนาการวิกฤตหรือวัยวิกฤต
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามช่วงวัยต่าง
ๆ ตามกระบวนการเจริญเติบโต (life cycle change)
การที่เด็กต้องพลัดพรากจากผู้ปกครองไปเข้า
โรงเรียน,
การต้องออกจากครอบครัวของบิดามารดาไปสร้างครอบครัวของตนเอง
การเกษียณอายุ
ภาวะวิกฤตที่เกิดจากภัยพิบัติ (disaster crisis)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด อาจ
เกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมาเอง ส่งผลให้เกิดความเสียหาย สูญเสีย ทำลายล้าง และเกิดความตึง เครียดอย่างรุนแรงต่อตัวบุคคลหรือชุมชนที่ได้รับผลจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งบุคคลหรือชุมชนนั้นจำเป็นต้อง
ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
ไฟไหม้บ้าน
อุทกภัย
แผ่นดินไหว
ซึนามิ
การเกิดสงคราม
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่บุคคลที่อยู่ในระยะวิกฤต (crisis stage)
มีความเครียด (stress) ความวิตกกังวล (anxiety) มากขึ้นจากการที่ตนเองใช้วิธีการจัดแก้ไขเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ผล
สับสน สมาธิลดลง การตัดสินใจเสีย
มีอาการทางกาย เช่น เจ็บหน้าอก ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่ออก วิงเวียน
รู้สึกผิดและละอาย (guilt and shame) ที่ไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้
รู้สึกโกรธ (anger) ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ง่ายจากการมีอารมณ์ไม่คงที่
ระยะที่ 2 ระยะฉุกเฉิน
รู้สึกขาดที่พึ่งและหนดหนทาง (helplessness) ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า
รู้สึกลังเล (ambivalence) สับสนไม่แน่ใจในตนเองว่าจะสามารถแก้ไขปัญหา
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่บุคคลซึ่งอยู่ในภาวะที่อ่อนไหว (vulnerable state)
บุคคลจะมีความตึงเครียดวิตกกังวล (final stress and anxiety) มากขึ้น มีอาการและอาการแสดงที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤตในลักษณะต่างๆที่รุนแรงขึ้น
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่บุคคลไม่สามารถรับความตึงเครียดวิตกกังวล (stress and anxiety)
ภาวะวิกฤตจะสงบลงและสามารถกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลภายใน 4 – 6 สัปดาห์
สาเหตุการเกิดภาวะวิกฤตของบุคคล
เหตุการณ์วิกฤต (Negative Events)
ก่อให้เกิดภาวะวิกฤตสำหรับบุคคล
การรับรู้ต่อเหตุการณ์วิกฤต
เห็นว่าเหตุการณ์วิกฤตนั้นเป็น สิ่งคุกคาม (threat) ทำให้เกิดความสูญเสีย ความปวดร้าว หรือความสิ้นหวัง
การแก้ไขปัญหา
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focus coping)
พยายามแก้ไขปัญหาให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยพยายามแก้ไขที่ตัวปัญหา
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นอารมณ์ (emotion focus coping)
บุคคลพยายามจัดการอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากปัญหา โดยใช้กระบวนการทางความคิด
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
การประเมินภาวะสุขภาพ
ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ระดับความรุนแรงของอาการทางกายที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤติ
กลวิธีหรือกลไกทางจิตที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤต ใช้ในการเผชิญปัญหา
บุคลิกภาพเดิม ระดับความอดทน และความเข้มแข็งของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต ต่อเหตุการณ์ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น
แหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ ปรัชญาของชีวิต หรือหลักศาสนาที่ยึดถือในการเผชิญปัญหา
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การเผชิญปัญหาไร้ประสิทธิภาพ
เสี่ยงต่อการกระทำรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น
แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับเปลี่ยนแปลง
บกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะสั้น
เพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤติ
เพื่อลดอาการและอาการแสดงทางกายที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆให้กลับสู่ภาวะปกติ
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
เพื่อส่งเสริมการแสวงหาและเตรียมความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมเพียงพอเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
การปฏิบัติการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตได้ระบายเรื่องราวความทุกข์ใจต่าง ๆ โดยใช้คำถามปลายเปิด
่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเข้าใจและยอมรับสถานการณ์ปัญหาวิกฤติของชีวิต
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ดูแลช่วยเหลือเรื่องทั่ว ๆไป
ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤต
การประเมินผลการพยาบาล
เพื่อประเมินผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาล
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีความเครียดหรือความวิตกกังวลลดลง
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีอาการและอาการแสตงทางกายที่เป็นผลมาจากสถานการณ์วิกฤติของชีวิตลดลง
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีวิธีการเผชิญปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติสามารถบอกถึงขั้นตอนหรือวิธีการในการไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตในอนาคต
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติสามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมกับบริบทชีวิตของตนเองได้ หากต้องต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตในอนาคต