Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด (Retinopathy Of Prematurity: ROP) …
โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด (Retinopathy Of Prematurity: ROP)
พยาธิสภาพ
เส้นเลือดจอประสาทตาจะเริ่มเจริญตอนอายุครรภ์ 16 wks เริ่มจากที่ขั้วประสาทตาตรงกลาง แล้วเจริญแผ่ออกไปด้านนอกของจอประสาทตาโดยรอบ
ด้านจมูกเจริญสมบูรณ์เมื่ออายุครรภ์ 36 wks
ด้านหางตาจะเจริญสมบูรณ์เมื่ออายุครรภ์ 40 wks
ทารกเกิดก่อนกำหนดจำเป็นต้องได้รับ O2 เมื่อได้รับ O2 ความเข้มข้นสูงกว่าในครรภ์ เส้นเลือดหดตัว หลอดเลือดตีบ ระยะแรกยังสามารถ กลับเป็นปกติได้
ถ้าได้รับ O2 นาน ๆ เส้นเลือดตีบและอุดตัน บริเวณที่เส้นเลือดยังงอกไปไม่ถึงเกิดการขาดเลือด (จอประสาทตาบริเวณขอบ ๆ ขาดเลือดและหยุดการเจริญเติบโตของเส้นเลือดที่ไปยังส่วนปลาย โดยเฉพาะด้านหางตา
มีการสร้างสารผิดปกติออกมา (Vascular endothelial growth factor:VEGF)
กระตุ้นให้มีการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติ (neovascularization)
มีการสร้างพังผืด (Fibrovascular proliferation) ดึงรั้งจอประสาทตา เกิดภาวะจอประสาทตาหลุดลอก (Retina detachment) ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้หรือตาบอดถาวรได้
ปัจจัยเสี่ยง
อายุครรภ์น้อยกว่า 28 wks
น้ำหนักแรกคลอด
น้ำหนัก น้อยกว่า 1,000 กรัม มีความเสี่ยง 81.6%
น้ำหนัก 1,000-1,250 กรัม มีความเสี่ยง 46.9%
ได้รับออกซิเจนเป็นเวลานาน และให้ความเข้มข้นของออกซิเจนสูง
Wide fluctuations in oxygen saturation level
ระยะเวลาการใช้เครื่อง Ventilatorยาวนา
ข้อบ่งชี้ในการตรวจคัดกรอง ROP
ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัม
อายุครรภ์ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 28 สัปดาห์
ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักแรกเกิดระหว่าง 1,500-2,000 กรัม ที่มีปันหาสุขภาพต่างๆ
วลาที่ตรวจครั้งแรก ควรมำเมื่ออายุหลังคลอด 4-6 สัปดาห์ หรืออายุครรภ์บวกกับอายุหลังคลอด ที่31-33 สัปดาห์
การวินิจฉัย
ตำแหน่ง (Zone) แบ่งเป็น 3 ส่วน Zone I, II, III เริ่มจากด้านหลัง ไปด้านหน้า ด้านข้าง
ขอบเขต (Extent) บรรยายขอบเขตของโรค โดยแบ่งตามชั่วโมงของนาฬิกา แต่ละช่วงชั่วโมงเป็น 30 องศา
ความรุนแรง (Stage) แบ่งการเปลี่ยนแปลงที่จอประสาทตาจะแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ตามความรุนแรงของโรค 4 stage
Plus disease บอกถึงความรุนแรงของ ROP พบลักษณะ คือ เส้นเลือดที่จอประสาทตาขยายตัวและคดเคี้ยว เส้นเลือดที่บริเวณม่านตาขยายตัว รูม่านตาขยายออกได้ยาก และวุ้นตาขุ่น
การพยาบาล
ดูแลให้ทารกได้รับออกซิเจนเท่าที่จำเป็น
ทารกที่ได้รับออกซิเจน ควรใช้ Pulse oximeter ติดตาม O2 saturation ตลอดเวลา ดูแลให้ทารกมีระดับ O2 saturation อยู่ระหว่าง 88-95% และเพิ่มเป็น 98-99% สำหรับทารกที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทา
ดูแลให้ทารกได้รับยาวิตามินอีตามแผนการรักษา โดยเชื่อว่าวิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ป้องกันการเกิด ROP ในทารกเกิดก่อนกำหนด
เตรียมทารกแรกเกิดเพื่อรับการ
ตรวจหาภาวะ ROP โดยจักษุแพทย์
ตรวจในทารกที่มีอายุครรภ์<35 wks หรือน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 1,800gที่ได้รับการรักษาโดยออกซิเจน
ทารกแรกเกิดที่ไม่ได้รับการรักษาโดยออกซิเจนแต่มีอายุในครรภ์<30wks น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 1,300 g
ดูแลให้ทารกที่มีภาวะ ROPได้รับการรักษาโดย ใช้แสงเลเซอร์ตามแผนการรักษา
รักษา
ใช้จี้บริเวณผิดปกติด้วยความเย็น หรือใช้เลเซอร์
ฉีดยา VEGF ยาต้านการเกิดหลอดเลือดใหม่เข้าในวุ้นตา เพื่อยับยั้งหรือขจัดหลอดเลือดใหม่
ผ่าตัดวุ้นตา แก้ไขจอตาหลุดลอดในรายที่เป็นระยะรุนแรง