Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภูมิปัญญาบ้านฉัน นางสาวกานต์รวี สุพรรณ ม.4/1 เลขที่18 - Coggle Diagram
ภูมิปัญญาบ้านฉัน
นางสาวกานต์รวี สุพรรณ
ม.4/1 เลขที่18
ลักษณะรายละเอียดโดยทั่วไป
โคมไฟแบบล้านนาถูกนำมาใช้ ประดับ ตกแต่งอาคารบ้านเรือนเพื่อความสวยงาม และสร้างความเป็นศิริมงคลให้แก่เจ้าของบ้าน ซึ่งสำหรับชาวล้านนาเชื่อกันว่า การจุดโคมไฟ นำความเจริญและความสุขมาให้กับคนในครอบครัว อีกทั้งยังมีความเชื่อว่า เกิดมาชาติหน้าจะเป็นบุคคลที่มีความฉลาดเฉลียว เปรียบดั่งแสงของเปลวไฟที่ลุกโชติช่วงท่ามกลางความมืดมืด
สาระข้อคิดที่ได้จากภูมิปัญญา
มีคว่มคิดสร้างสรรค์ที่จะออกแบบลวดลายใหม่ๆ
นำไปต่อยอดในอนาคตได้
การฝึก/มีสมาธิในการทำ
ฝีมือในการทำโคม
ชื่อภูมิปัญญา
โคมล้านนา
ขั้นตอน/วิธีการปฏิบัติของภูมิปัญญา
1.เหลาไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ความยาวตามขนาดของโคมที่จะทำ คือ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก
2.ทำโครงของโคมโดยการใช้คีมหักไม้ไผ่ตามลักษณะของโคมของโคม เช่น ถ้าเป็นโคม 8 เหลี่ยมให้หักเป็น 4 เหลี่ยม จำนวน 9 ชิ้น ถ้าเป็นโคม 6 เหลี่ยมให้หักเป็น 7 เหลี่ยม จำนวน เผื่อไว้ในการประกอบ
3.ประกอบโครงของโคมขึ้นเป็นรูปร่างตามลักษณะ เหลี่ยมชนเหลี่ยมโดยใช้ลวดมัดยึดติด
4.ใช้กระดาษสีต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ติดตามช่องของโคม ตามความชอบ
5.เพิ่มเติมส่วนหูกระต่ายโดยหักไม้ไผ่เป็นรูปสามเหลี่ยมมัดติดตรงส่วนของหัวโคมแล้วติดกระดาษสีตามชอบ สุดท้ายตัดกระดาษตกแต่งหางโคม ความยาวและลวดลาย ตามความชอบ
แนวทางการแผยแพร่
สอนให้ลูกหลานตัวเองรู้จักและสามารถประดิษฐ์ได้
จัดกิจกรรมส่งเสริมการทำโคมล้านนา
นำไปเป็นสินค้าประจำท้องถิ่น
ข้อเสนอแนะ
ส่วนมากเราจะเห็นโคมในงานประเพณีต่างๆเท่านั้น เช่น ประเพณียี่เป็ง และเมื่อหมดเทศกาลทุกคนก็จะนำโคมไปเก็บและนำออกมาใช้ใหม่ในปีถัดไปแต่โคมก็เป็นอุปกรณ์ตกแต่งที่สะท้องความเป็นภูมิปัญญษของไทยได้เหมือนกันทุกๆสถานที่ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารหรือโรงแรมควรมีโคมเพื่อประดับและให้แสงส่วงและยังแสดงถึงภูมิปัญญาล้านนาของเราอีกด้วย