Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงทางอุทกภาค - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงทางอุทกภาค
อุทกภาค
อุทกภาค หมายถึง ส่วนที่เป็นน้ำที่อยู่บนพื้นโลกทั้งหมด ประกอบด้วย น้ำจืด ที่อยู่ในแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินร้อยละ 3.0 และน้ำเค็มที่อยู่ในทะเลและมหาสมุทรถึงร้อยละ 97.0
น้ำจืด
หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือ
และของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ
น้ำผิวดิน
ได้แก่น้ำในแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบและในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นน้ำจืด ปกติน้ำผิวดินจะได้รับการเติมจากฝนหรือหิมะ และจะหายไปตามธรรมชาติด้วยการะเหย การไหลออกสู่ทะเลและการซึมลงไปใต้ดิน
น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล
คือน้ำที่ถูกกักเก็บหรือสะสมตัวอยู่ใต้ดิน อาจสะสมตัวอยู่ตามรอยแตก รอยแยกของชั้นหิน หรืออาจสะสมตัวอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดกรวด หรือเม็ดทรายใต้ผิวดิน
อุทกวัฏจักร
๑) ไหล่ทวีป เป็นส่วนที่ตื้นที่สุดและอยู่ติดกับส่วนที่เป็นทวีป บางทีถือว่าเป็นส่วนของทวีป บางทีถือว่าเป็นส่วนของทวีป พื้นของไหล่ทวีปบางตอนจะเรียบ บางตอนมีร่องยาว บางตอนมีสันเนิน บางตอนมีแอ่งกลม บางตอนมีเนินเขา บางส่วนเป็นหิน บางส่วนปกคลุมด้วยโคลน ทราย หรือกรวด
๒) ลาดทวีปอยู่ ถัดจากไหล่ทวีป มีความลาดชันมาก 65 กิโลเมตรต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรทอดไปถึงระดับน้ำลึกประมาณ 3,600 เมตรลาดทวีปในที่ต่าง มีความกว้างแตกต่างกันไปโดยเฉลี่ยจะกว้างเป็น 2 เท่าของไหล่ทวีป ขอบนอกสุดของลาดทวีปจะติดต่อกับพื้นท้องมหาสมุทรเป็นแนวที่เห็นได้ชัดเจน เพราะเป็นตอนที่มีการเปลี่ยนระดับ ลาดทวีปนี้เป็นส่วนขอบของเปลือกโลกที่เรียกว่าไซอัล
การแบ่งเขตทะเลมหาสมุทร
- เขตชายฝั่ง คือเขตที่อยู่ระหว่างระดับน้ำทะเลสูงสุดกับน้ำทะเลต่ำสุด คลื่นซัดอยู่เกือบตลอดเวลา สิ่งมีชีวิตในเขตนี้จึงยึดตัวกับพื้นหรือฝังตัวอยู่ในโคลน บางชนิดหลบอยู่ในแอ่ง บางชนิดมีโคลงสร้างที่ทำให้มันมีชีวิตอยู่ได้แม้จะไม่มีน้ำทะเลเหลืออยู่เลย บางชนิดขุดรูในหินและอาศัยอยู่ที่นั่น
- เขตทะเลตื้น คือเขตระหว่างระดับน้ำต่ำสุดกับขอบนอกสุดของไหล่ทวีป น้ำในเขตนี้ไม่ลึกมากและอุ่นเพราะได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ อาหารอุดมสมบูรณ์ สิ่งมีชีวิตมีมากมายหลายชนิด
- เขตน้ำลึกลาดทวีป คือเขตระหว่างระดับน้ำลึก 120 เมตรกับ 1,800 เมตร ตอนบนน้ำได้รับแสงสว่างบ้างแต่พืชมีน้อย ที่พื้นมีสัตว์ทะเลมากแต่พืชก็มีน้อยอีก การทับถมของตะกอนในเขตนี้เป็นไปอย่างช้าๆ มีพวกแคลเซียมซึ่งส่วนใหญ่คือเปลือกของพวกแพลงก์ตอน และพวกซิลิกาซึ่งส่วนใหญ่เป็นไดอะตอม และซากของฟองน้ำ)
- เขตทะเลลึก อยู่ ถัดเขตชายฝั่ง สิ่งมีชีวิตในเขตนี้รวมเอาพวกแพลงก์ตอน ซึ่งลอยอยู่ในน้ำและสัตว์ที่ว่ายน้ำได้ พืชที่มีมากคือสาหร่ายและไดอะตอม สัตว์มีมากมายหลายชนิด ซากพืชและสัตว์ในส่วนนี้ที่เน่าเปื่อยไปและส่วนที่เป็นอนินทรียสารมีส่วน ช่วยทำให้เกิดหินชั้นขี้น
- เขตบาดาล คือส่วนที่อยู่ใต้ระดับลึก 1,800 เมตรลงไป เขตนี้ไม่ได้รับแสงแดด อุณหภูมิของน้ำเกือบจะถึงขีดเยือกแข็ง ความกดมากกว่า 1 ตันต่อเนื้อที่ 1 ตารางเซนติเมตร พืชที่ต้องการแสงแดดไม่มีในเขตนี้ สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารต้องกินของที่จมลงมาจากตอนบนที่น้ำถูกแสงแดด เปลือกและกระดูกสัตว์ที่อาศัยอยู่ที่พื้นของเขตนี้แสดงให้เห็นว่า สัตว์ที่จะอาศัยอยู่ใส่วนนี้ได้ต้องมีลักษณะพิเศษจึงจะมีชีวิตอยู่ได้
-
กระแสน้ำในมหาสมุทร
แยกออกเป็น 2 สาย
กระแสน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้มี กระแสน้ำเย็นเบงเกวลา ไหลเลียบชายฝั่งทางตะวันตกของทวีปแอฟริกาบริเวณประเทศแอฟริกาใต้ นามิเบีย และแองโกลา เมื่อใกล้เส้นศูนย์สูตรและอ่าวกินี กระแสน้ำอุ่นขึ้นและไหลไปทางทิศตะวันตก เรียกว่า กระแสน้ำไหลไปถึงทวีปอเมริกาใต้จะแยกออกเป็น 2 สาย คือ สายที่ไหลวกลงทางใต้เส้นศูนย์สูตรผ่านชายฝั่งประเทศบราซิลและอาร์เจนตินา เรียกว่า กระแสน้ำอุ่นบราซิล ส่วนสายที่ไหลขึ้นไปทางเหนือเส้นศูนย์สูตรเข้าไปในทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และชายฝั่งทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกาและแคนนาดา เรียกว่า กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม
กระแสน้ำจะไหลข้ามมหาสมุทรไปจนถึงคาบสมุทรแกนดิเนเวียและยุโรปตะวันตก เรียกว่า กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ ขณะที่กระแสน้ำเย็นที่ไหลลงมาจากมหาสมุทรอาร์กติกจะไหลอยู่ลึกใต้กระแสน้ำอุ่น แถบหมู่เกาะคะแนรี และเมื่อไหลเข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรกระแสน้ำก็จะอุ่นขึ้นแล้วไหลไปตามแนวเส้นศูนย์สูตร
-
-