Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับความผิดปกติของผิวหนัง, นางสาวธนพร พูนประสิทธิ์ เลขที่…
ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับความผิดปกติของผิวหนัง
ปฏิกิริยาของผิวหนังต่อสิ่งระคายเคือง
Eczema/Dermatitis
โรคผิวหนังอักเสบ สาเหตุอาจเกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น การสัมผัสกับสารระคายเคืยงหรือสารก่อภูมิแพ้
การรักษา
1.ระยะเฉียบพลัน ทำ wet dressing ด้วยน้ำเกลือ วันละ 2-3 ครั้งและทาด้วยครีมสเตียรอยด์
ระยะปานกลาง ใช้ครีมสเตียรอยด์ อาจใช้ใน subacute eczema ที่เป็นๆหายๆ
3.ระยะเรื้อรัง รักษาเฉพาะที่และแนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ
เนื้อเยื่อและผิวหนังถูกทำลาย
แผลไหม้ (Burn)
ชนิดของแผลไหม้
แผลหม้จากสารเคมี
แผลไหม้จากกระแสไฟฟ้า
แผลไหม้จากความร้อน
เกิดจากการสัมผัส
เกิดจากน้ำร้อนลวก
เกิดจากเปลวไฟ
แผลไหม้จากรังสี
พยาธิสภาพ
1.ผลต่อผิวหนังมีการเสียน้ำและความร้อนออกทางผิวหนัง
Keratin ซึ่งเป็นโปรตีนในชั้นผิวหนังกำพร้าถูกทำลาย ทำให้น้ำซึมออกมานอกผิวหนังและเมื่อสูญเสียน้ำ จึงทำให้มีการเสียความร้อนด้วย
2.ผลต่อหลอดเลือดและส่วนประกอบของเลือด
หลอดเลือดถูกรบกวนทำให้ Plasma ซึมผ่านผนังหลอดเลือดฝอยมากขึ้น เกิดน้ำคั่งในช่องว่างระหว่างเซลล์ ผู้ป่วยจะบวมมากขึ้นใน 24-48 ชั่วโมง สูงสุดใน 8 ชั่วโมงแรก แม้ว่าการซึมผ่านของหลอดเลือดฝอยจะกลับสู่สภาพปกติภายหลงั48 ชั่วโมง แต่ก็มีผลทำให้
Plasma มีปริมาณลดลง ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงอัดแน่น หรือ Hematocrit มากขึ้น ทำให้เลือดหนืด นอกจากนั้น เม็ดเลือดแดงบางส่วนอาจจะถูกทำลาย เนื่องจากความร้อนหรือการเกิดลิ่มในหลอดเลือดบริเวณแผลไหม้ อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้
3.ผลต่อการไหลเวียนเลือดและการเผาผลาญสารอาหาร
1.ระยะเริ่มช็อค
อาการ : กระวนกระวาย กระสับกระส่าย อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ
2.ระยะการเผาผลาญสารอาหารมากขึ้น
เกิดการเสียสมดุลย์ของพลังงานและเซลล์ของร่างกายถูกทำลาย ส่งผลให้ไนโตรเจนและโปแตสเซียมคั่งในเลือด ร่างกายเกิดการเสียสมดุลย์มากขึ้น จึงทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญอาหารมากยิ่งขึ้น
3.ระยะเสริมสร้างเนื้อเยื่อ
หลังจากผ่าน 2 ระยะข้างต้นมาแล้ว ร่างกายจะเผาผลาญอาหารมากขึ้น เพื่อช่วยซ่อมแซมในส่วนที่เกิดแผลให้กลับมาคืนสู่สภาพปกติ
4.ผลต่อระบบทางเดินหายใจ
การสูดควัน ทำให้มีการเพิ่มของ pulmonary vascular resistance พบว่า ระยะ 24-48 ชั่วโมงแรก มักไม่เกิด pulmonary edema
5.ผลต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
ถ้าแผลลึกถึงกระดูกและดูแลไม่ดีอาจจะทำให้มีการอักเสบ บริเวณโดยรอบข้อมีภาวะแทรกซ้อน คือ ข้อติด เกิดการหดรั้งตามข้อพับต่างๆ ทำให้รูปร่างผิดไปจากเดิม อาจเกิดความพิการได้
6.ผลต่อระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ
เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงจากการสลายกลัยโคเจน เป็นต้น
แนวทางการดูแลบาดแผลไฟไหม้ที่มีความรุนแรงน้อยและเฉพาะที่
1.ล้างแผลด้วยน้ำเกลือที่ปราศจากเชื้อ ถ้ามีคราบเขม่าติดแน่น อาจใช้สบู่ล้างออกได้ แต่ห้ามถูแผลแรง ๆ แล้วใช้ผ้าปราศจากเชื้อซับให้แก้ง ให้ยาปฏิชีวนะชนิดทาและยากันบาดทะยัก
2.แผล Second degree burn ขนาดไม่กว้าง ให้ทายาลงบนแผลและปิดทับด้วย non adherent dressing / biologic dressing แล้วใช้ก๊อซหลายๆชั้นปิดทับอีกครั้ง
3.แผล Second degree burn ขนาดกว้างมากกว่า 30% หรือแผล Third degree burn ทาด้วย topical chemotherapeutic agent ปิดทับด้วย non adherent dressing และผ้าก๊อซหลายๆชั้น และเปิดดูแผล เปลี่ยน dressing หลังจาก 24-48 ชั่วโมง
แผลบริเวณใบหน้า ทาด้วย 1% คลอแรมฟินีคอล และเปิดแผลทิ้งไว้ ทายาบ่อยๆวันละ 3-4 ครั้ง
5.แผลที่มือ หลังจากทายาปิดแผลแล้ว แนะนำให้ใส่เฝือกดามยกมือและแขนสูงกว่าระดับหัวใจ หลัง72 ชั่วโมงแล้วสามารถถอดเฝือกได้และเริ่มบริหารกล้ามเนื้อได้
6.แผลที่ขา หลังจากทายาปิดแผลแล้วให้ยกขาสูงและbad rest นาน 72 ชั่วโมง จึงเริ่มเดินได้ ถ้าไม่มีแผลที่ฝ่าเท้า
7.แผลที่อวัยวะสืบพันธุ์ ให้เปิดแผลทิ้งไว้ และทายาโดยไม่ต้องปิดแผล ทายาใหม่ทุกครั้งที่ขับถ่าย
8.บริเวณข้อต่อต่างๆ ควรบริหารข้อต่อนั้นๆอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ
9.เมื่อแผลหายดี ระวังไม่ให้ถูกแสงแดด 3-6 เดือน ใช้น้ำมันหรทอครีมโลชั่นทาที่ผิดหนัง แนะนำให้ใส่ผ้ายืด
การติดเชื้อของผิวหนัง
การติดเชื้อแบคทีเรีย
เซลลูไลติส (Cellulitis)
อาการ : ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่มีการติดเชื้อ
แนวทางการรักษา :
1.ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานหรือฉีด
2.รายที่มีไข้หรืออาการปวดร่วมด้วย ควรให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด
3.ยกอวัยวะส่วนที่ติดเชื้อขึ้นสูงกว่าพื้นราบ
Necrotizing fasciitis (NF)
อาการ : ระยะแรก ปวด บวม แดง ร้อนที่ผิวหนัง อาจมีตุ่มน้ำ ต่อมาสีของผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีม่วงและมีเนื้อตาย และอาจมีอาการชามาทดแทนอาการปวด และมักจะมีไข้สูงและติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดร่วมด้วย
แนวการรักษา
การใช้ยา โดยให้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งแพทย์มักให้ยาหลายชนิดร่วมกันทางหลอดเลือดดำ
การผ่าตัด เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อที่ตาย รวมทั้งอาจจะต้องตัดแขน/ขา ในบางกรณีที่เป็นรุนแรง
การติดเชื้อรา
โรคกลาก (Tinea Circinata or Ring Worm)
เป็นกลุ่มโรคผิวหนังจากเชื้อราที่ก่อพยาธิสภาพบริเวณผิวหนังชั้นนอกร่างกาย เส้นผม ขนและเล็บ เรียกว่า Cutaneous mycoses
การรักษา
1.ใช้ยาเฉพาะที่ที่ให้ผลดีต่อเชื้อรา และเหมาะสมกับสภาพของผื่น
2.การให้ยารับประทาน
เกลื้อน (TineaVersicolor)
เป็นมากในคนขาดสารอาหาร โลหิตจาง โรคเรื้อรังอื่นๆ คนที่ได้รับยาสเตียรอยด์ เหงื่ออกมากหรือมีผื่นลักษณะเป็นจุด เปลี่ยนสีบนผิวหนัง รูปเล็กกลมขนาดเล็กยาว 2-3 มิลลิเมตร ขอบชัดเจนปกคลุมด้วยขุยบางๆมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน มักพบผื่นตามลำตัว
การรักษา
1.ให้ยารับประทาน
2.ให้ยาทาภายนอก
การติดเชื้อไวรัส
เริม(Herpes Simplex)
การติดเชื้อชนิดเฉียบพลันของผิวหนังและเยื้อยุ พบได้ 2 แบบ
1.ชนิดปฐมภูมิ ผู้ป่วยพึ่งเป็นครั้งแรก ยังไม่มีความต้านทานต่อเชื้อ อาการเริ่มด้วย ปวดแสบปวดร้อนตรงบริเวณผิวหนังที่จะเป็น ต่อมามีกลุ่มตุ่มน้ำใสฐานแดง ถเาตุ่มแตกจะเป็นแผลตื้นๆ มีอาการเจ็บๆคันๆ และหสยใน1-3 สัปดาห์
2.ชนิดกลับซ้ำ พบในผู้ป่วยที่มีความต้านทานต่อเชื้อ โดยขนาดของกลุ่มน้ำเล็กกว่าและไม่มีอาการมาก ผื่นมักเกิดบริเวณเดิมหรือใกล้เคียง พบได้บ่อยบริเวณริมฝีปาก ลิ้น ก้นและเยื่อบุในช่องปาก อวัยวะสืบพันธุ์
การรักษา
1.รักษาตามอาการ
2.รักษาเฉพาะที่ อาจประคบแผลด้วย Saline หรืออาจให้ยาทา
3.การรักษาด้วยยารับประทาน Acyclovir ขนาด 200 mg วันละ 5 ครั้ง นาน 5 วัน
งูสวัด(Herpes Zoster)
เป็นการติดเชื้อชนิดเฉีบพลัน ลักษณะของตุ่มน้ำใสและรอยแผลจะจำกัดอยู่เฉพาะตามแนวเส้นประสาทเท่านั้น อาการ : ไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยหรือเจ็บผิวหนังตามแนวเส้นประสาทรับความรู้สึกประมาณ2-3วัน ตุ่มน้ำใสจะขึ้นในวันที่4 และจะเพิ่มขึ้น และแตกเป็นสะเก็ดปนเลือด หายภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่เหลือรอยดำๆ
การพยาบาล
1.สำคัญคือ ใช้สบู่ที่มีส่วนผสมยาฆ่าเชื้ออาบน้ำชำระร่างกายในรายที่มีเหงื่อออกมาก
2.ให้การรักษาตามอาการ
3.ถ้าอักเสบมากควรให้ยาปฏิชีวนะ Acyclovir โดยรับประทาน 800 mg วันละ5 ครั้ง นาน 7 วัน หรือฉีด 10 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 kg. นาน 5-7 วัน
โครงสร้างของผิวหนัง
หนังกำพร้า (Epidermis)
ผิวหนังชั้นบนสุด ลักษณะบาง ไม่มีหลอดเลือด เส้นประสาทและต่อมต่าง ๆ นอกจากเป็นทางผ่านของรูเหงื่อ เส้นขนและไขมัน
หนังแท้ (Dermis)
ผิวหนังชั้นล่าง อยู่ถัดจากหนังกำพร้า มีลักษณะหนากว่า ผิวหนังชั้นนี้ประกอบด้วย เนื้อเยื่อคอลลาเจนและอีลาสติน หลอดเลือดฝอย เส้นประสาท กล้ามเนื้อเกาะเส้นขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อและรูขุมขนกระจายอยู่ทั่วไป
หน้าที่ของผิวหนัง
ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย
ขับของเสีย ขับเหงื่อออกมา โดยต่อมเหงื่อ
รักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่
รับความรู้สึกสัมผัส
สร้างวิตามินดีให้ร่างกาย
ขับไขมันหล่อลื่นเส้นผมและขน ไม่แห้ง
ป้องกัน ปกปิดอวัยวะภายในไม่ให้ได้รับอันตราย
นางสาวธนพร พูนประสิทธิ์ เลขที่ 28 ห้องA รหัส 62123301049