Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการขององค์กรชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิตบ้านนาปรัง …
การจัดการขององค์กรชุมชน:
กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์
เพื่อการผลิตบ้านนาปรัง
อ. นาทวี จ. สงขลา
การจัดองค์กร (Organizing)
1) การจัดโครงสร้างหน่วยงานและความสัมพัธ์ระหว่างองค์กร
แบ่งโครงสร้างหน่วยงานออกเป็น 4 ฝ่ายคือ ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายเงินกู้ ฝ่ายตรวจสอบ ฝ่ายส่งเสริม โดยทุกฝ่ายจะมีการบริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการ
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมต่อการดำเนินงาน เหมาะสมกับสภาพชุมชน เหมาะสมกับรูปแบบการบริหารเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการบริการมีเพียง 3 คณะ คือ คณะกรรมการรับเงินฝากสัจจะและส่งเงินกู้ คณะกรรมการฝ่ายการเงิน คณะกรรมการฝ่ายสินเชื่อ
2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มออมทรัพย์
2.1 การคัดเลือกสมาชิกและคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์
การเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มออมทรัพย์ต้องเป็นประชาชนในหมู่ 1-3 ของตำบลคลองกวาง เอกสารที่ใช้คือ สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนสบัตรประชาชน บทบาทหน้าที่คือ การส่งเงินสัจจะออมทรัพย์และเงินกู้ต่อคณะกรรมการรับเงินฝากสัจจะและส่งเงินกู้ประจำกลุ่มตามที่สมาชิกสังกัดอยู่
การเลือกคณะกรรมการกลุ่ม โดยให้สมชิกทำการเสนอรายชื่อ จากนั้นดำเนินการคิดเลือกบุคคลที่สมควรดำรงตำแหน่ง
2.2 การพัฒนาบุลลากร
ให้มีการฝึกอบรมจากกรมพัฒนาชุมชนเดือนละครั้ง และไปทัศนศึกษาดูงานกลุ่มออมทรัพย์ที่ก่อตั้งมาก่อนและประสบความสำเร็จในหลายๆพื้นที่
2.3 เงินสวัสดิการและสิทธิประโยชน์
จะได้เงินปันผลสมาชิก เงินปันผลคืนดอกเบี้ย นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการรูปแบบอื่นๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล และค่าชาปณกิจ
การนำ (Leading)
1) ด้านผู้นำ
กลุ่มออมทรัพย์มีประธานบริหาร และคณะกรรมการอีก 3 คณะ โดยการทำงานของคณะกรรมการทั้งหมดอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธารบริหาร รูปแบบการตัดสินใจของผู้นำกลุ่มออมพรัพย์เน้นการเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบันชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
2) การจูงใจ
ให้ความรู้และความเข้าใจถึงหลักการและประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับจากการเข้าเป็นสมชิก
3) การติดต่อสื่อสาร
มี 2 รูปแบบ คือการติดต่อสื่อสารที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ส่วนใหญ่จะเน้นไม่เป็นทางการ
การติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ เช่น การแจ้งด้วยวาจา
การติดต่อสื่อสารที่เป็นทางการ เช่น การติดประกาศ การส่งจดหมาย
การควบคุม (Controlling)
1) การวัดผลปฏิบัติงาน
ประธานบริหารสังเกตการดำเนินงานของคณะกรรมการและสมาชิกในกลุ่มออมทรัพย์
2) การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐานที่กำหนดไว้
ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานในการทำงานไว้อย่างชัดเจน มีแต่การดำเนินงานในอดีต เป็นเกณฑ์ใช้สำหรับปีถัดไป
3) การแก้ไขหรือปรับปรุงสิ่งที่ผิดพลาด
การเปรียบเทียบราบงานทางการเงินที่คณะกรรมการประจำกลุ่มได้บันทึกไว้ จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับรายงานในรูปแบบสถิติที่บันทึกลงในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
การวางแผน (Planning)
กลุ่มออมทรัพย์ได้มีการวางแผนอย่างเป็นทางการ มีการกำหนดเป้าหมาย ขั้นตอน และการปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งคำนึงถึงทรัพยากรภายในองค์กร และสภาพแวดล้อมภายนอก ส่วนใหญ่จะเป็นแผนระยะสั้น