Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 /1 พยาธิสรีรวิทยาของระบบกระดูกและข้อต่อ - Coggle Diagram
บทที่ 5 /1 พยาธิสรีรวิทยาของระบบกระดูกและข้อต่อ
สรีรวิทยาของกระดูก
กระดูกเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญในการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นอวัยวะที่มีเมตาลิซึมสูง มีความสำคัญในการรักษาสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย
หน้าที่ของกระดูก
เป็นส่วนประกอบสำคัญในการเคลื่อนไหว การทำกิจกรรมต่าง ๆ
ป้องกันอันตรายให้กับอวัยวะสำคัญต่าง ๆ เช่น สมอง หัวใจ ปอด
รักษาสมดุลของเกลือแร่
โครงสร้างของกระดูก (structural of bone)
ไขกระดูก (bone marrow)
กระดูกพรุน (spongy bone)
กระดูกทึบ (compact bone)
ส่วนประกอบของกระดูก (bone Metrix)
ร้อยละ 60 ของกระดูกเป็นผลึกของเกลือ (mineral metric) โดยเฉพาะแคลเซียม ฟอสเฟต มีส่วน น้อยที่เป็น โพแทสเซียม แมกนีเซียม
ร้อยละ 30 เป็นสารอินทรีย์ (organic metric)
เซลล์กระดูก (bone cell)
osteoblast เป็นเซลล์สร้างเนื้อกระดูกที่เจริญพัฒนามาจากเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์กระดูก (osteoprogenitor cell)
osteocyte เป็นเซลล์กระดูกเจริญเต็มที่มาจาก osteoblast รอบ ๆ เซลล์มีช่องว่างที่เรียกว่า “lacuna”
osteoclast เป็นเซลล์สลายกระดูกสร้างมาจากไขกระดูก (bone marrow) มีลักษณะ เดียวกันกับ เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด macrophage เป็นเซลล์ที่มีหลายนิวเคลียสอยู่บนผิวหน้าของกระดูก osteoclast
สารอินทรีย์
การเกิดของกระดูก
Intramembranous ossification
กระดูกที่กำเนิดจาก membrane เช่น กระดูกกะโหลก ศีรษะกระดูกชนิดนี้เจริญมาจากชั้น fibrous ของสมอง
Intracartilagenous ossification
ส่วนมากกระดูกในร่างกายมนุษย์เกิดโดยวิธีนี้เป็นการสร้างกระดูก ตั้งแต่ทารกในครรภ์โดยสร้างจากกระดูกอ่อน (cartilage)
กระบวนการก่อรูปกระดูก
ระยะที่ 1 เซลล์กระดูกได้รับการกระตุ้นจากสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมน ยา วิตามิน ทำให้เซลล์กระดูก กลายเป็น osteoclast
ระยะที่ 3 สร้างกระดูกใหม่โดย osteoblast
ระยะที่ 2 osteoclast กัดกร่อนกระดูกให้เป็นรูปโคน ข้างในเป็นโพรง
การควบคุมการสร้างกระดูก
การสร้างกระดูกถูกควบคุมด้วยกลไกการักษาสมดุลของแคลเซียมในกระแสเลือด
พาราไทรอยด์ฮอร์โมน (parathyroid hormone: PTH) สร้างมาจากต่อมพาราไทรอยด์ มีหน้าที่ ป้องกันไม่ให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติและควบคุมระดับฟอสเฟตในเลือดไม่ให้สูงกว่าปกติ
วิตามินดีหรือ cholecalciferol มีบทบาทสำคัญในการสร้างและสลายกระดูก โดยร่างกายสามารถ สังเคราะห์วิตามินดีได้จากสาร 7-dehydrocholesterol
ฮอร์โมนแคลซิโทนิน (calcitonin) เป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่จะลดระดับ แคลเซียมในเลือดให้เป็นปกติ
ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) จะลดความไวของตัวรับที่กระดูกที่เกิดจากพาราไทรอยด์ฮอร์โมน
การบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อ (Skeletal trauma)
กระดูกหัก (skeletal fracture)
คือ ภาวะที่กระดูกมีการแตกหักแล้วอาจจะมีหรือไม่มีการเคลื่อนย้าย ออกจากกัน กระดูกหักเกิดเมื่อมีแรงภายนอกที่มีค่ามากกว่าแรงที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อหรือแรงกดที่ เกิดจากน้ำหนักตัวที่กระทำต่อกระดูก
การจำแนกประเภทกระดูกหักตามลักษณะของการหัก
Complete fracture
กระดูกหักแล้วมีการเคลื่อนที่ของกระดูกชิ้นที่หักแยกออกจากกัน
Incomplete fracture
กระดูกที่มีรอยแตกร้าวหรือหักแต่ไม่มีการเคลื่อนที่ของชิ้นกระดูกแยก ออกจากกัน
Open fracture
Complete fracture หรือ Incomplete fracture ที่ผิวหนังมีแผลเปิดออก เพราะกระดูกที่หักแทงทะลุผิวออกมา
Close fracture
Complete fracture หรือ Incomplete fracture ที่ผิวหนังไม่มีแผลเปิด ออกมาเพราะไม่มีกระดูกที่หักแทงทะลุผิวหนัง
Comminuted fracture
คือกระดูกหักในบริเวณเดียวกันแตกออกเป็น 2 ชิ้นหรือมากกว่า
Linear fracture
คือกระดูกที่หักทำมุมในแนวขนานกับแนวยาวของกระดูก
Oblique fracture
คือกระดูกที่หักทำมุมแนวเฉียงกับกระดูก
Transverse fracture
คือกระดูกที่หักทำมุมแนวตัดขวางกับกระดูก
การจำแนกประเภทของการหักตามสาเหตุการหัก
กระดูกหักที่เกิดจากพยาธิสภาพของกระดูก
กระดูกหักที่เกิดจากแรงภายนอกที่กระทำต่อกระดูก
fatigue fracture เกิดจากแรงภายนอกที่กระทำต่อกระดูกแล้วทำให้กระดูกผิดรูปแต่ยัง สามารถคืนสภาพเดิมได้
insufficiency fracture เป็น stress fracture ที่พบในกระดูกที่ขาดความสามารถใน การปรับเปลี่ยนรูปร่างให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
กระดูกหักผ่านข้อ
พยาธิสรีรวิทยาของกระดูกบาดเจ็บ
เมื่อกระดูกหัก เยื่อหุ้มกระดูกและเส้นเลือดในบริเวณกระดูกส่วนนอก ไขกระดูกและเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ ก็จะฉีกขาดด้วย ทำให้มีเลือดออกตรงบริเวณกระดูกหักเกิดจากการฉีกขาดของเนื้อเยื่อที่บริเวณส่วนปลาย ของกระดูกที่หักและจากเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงแล้ว ก้อนเลือดที่แข็งตัวเกิดขึ้นภายในโครงกระดูกอยู่ระหว่าง ส่วนปลายของกระดูกหักและใต้เยื่อหุ้มกระดูกเนื้อเยื่อกระดูกที่อยู่ใกล้เคียงกันกับบริเวณกระดูกหักจะตาย
เนื้อเยื่อที่ตายเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบทันที ร่างกายจะตอบสนองด้วยการขยายตัว ของเส้นเลือดมีการหลั่งของสารคัดหลั่งจากพลาสมาและเซลล์เม็ดเลือดขาวตรงบริเวณที่มีการอักเสบและการ ดักจับเชื้อโรคด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวขณะที่มีการอักเสบและ mast cell ซึ่งจะไปสลายกระดูกบริเวณส่วน ปลายของกระดูกที่หักภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับการบาดเจ็บ หลังจากนั้นจะเกิดการซ่อมแซมกระดูก ต่อไป
การซ่อมแซมกระดูกหัก (bone repair)
Hematoma การมีลิ่มเลือดเกิดขึ้น
Hard callus คือการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกใหม่ที่หนาขึ้น
Remodeling ระยะที่มีการเชื่อมกระดูกเมื่อกระดูกที่หักได้พักนิ่งมีหินปูนมาเกาะที่ callus จะทำให้ กระดูกงอกใหม่เจริญ
Soft callus หรือ Fibrocartilaginous callus เป็นการการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ มีหลอดเลือดฝอย
อาการและอาการแสดง
อาการปวดบวมหรือมีแผลบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ อาการปวดเกิดจากกล้ามเนื้อหดเกร็งบริเวณที่ กระดูกหักและเนื้อเยื่อถูกทำลาย
กล้ามเนื้อหดเกร็ง จากการที่กระดูกไม่อยู่ในตำแหน่งเดิม
มีอาการชา สูญเสียการรับความรู้สึกจากการที่เส้นประสาทถูกกดหรือถูกทำลาย
การเคลื่อนไหวลดลง มีเสียงกรอบแกรบ
ภาวะแทรกซ้อนของกระดูกหัก
การบาดเจ็บต่อเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการชา
Compartment syndrome เป็นผลจากการที่กล้ามเนื้อในบริเวณกระดูกหักมีความดันสูงเกินไป
Volkmann ,s contracture เป็นอาการต่อจาก Compartment syndrome ทำให้เกิดการตายของ กล้ามเนื้อ
Fat embolism เป็นกลุ่มอาการไขมันอุดตันในหลอดเลือดที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต