Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัตถุประสงค์ - Coggle Diagram
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วย
1.ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับการบริการ
ด้านสุขภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติเนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา
ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย
3.ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและชัดเจนเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอม เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น
4.ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณีโดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
5.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของ
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน
6.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตนและมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้
7.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับ
ตนเองด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอม
จากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
8.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
9.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฎในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
10.บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิตใจ ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้
เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการที่ส่งผลต่อการเกิดโรค
1.ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ
2.ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ
3.ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือติดเชื้อไวรัส เอดส์
4.ผู้ที่รับประทานอาหารเค็ม จัด อาหารที่มีส่วนผสมดินประสิวและส่วนไหม้เกรียม
5.ผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว
อาหารที่ส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
อาหารที่ให้พลังงานสูง เนื่องจากผู้ป่วยมักกินอาหารได้ในปริมาณน้อย
กินผักผลไม้ให้ครบวันละ 5 สี จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้มะเร็งลุกลามได้ เช่น มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ คะน้า บล็อคโคลี ผักโขม ส้ม เป็นต้น
อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา ไข่ นม ถั่ว เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน
กินไขมันจากปลา เพราะน้ำมันปลามีกรดโอเมก้า 3 ช่วยลดการอักเสบ เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่น้ำหนักตัวน้อย และ ไม่ควรกินอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ที่เป็นไขมันอิ่มตัวมาก เช่น หนังติดมัน น้ำมันหมู เพราะสามารถถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งได้
กินมื้อใหญ่ในช่วงเช้า และแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อ ช่วยให้กินอาหารได้มากขึ้น
อาหารที่ผู้ป่วยมะเร็งห้ามรับประทาน
-อาหารมัน
-ของทอด
-ผักดิบ
-ข้าวโพด
-ถั่วลันเตา
-ชา กาแฟ
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
1.การดูแลแบบประคับประคอง คือ การมุ่งเน้นการบรรเทาความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน ปัองกันภาวะแทรกซ้อน
2.ความต้องการครั้งสุดท้าย ควรมีการพูดคุยกันในครอบครัวและเตรียมเอกสารระบุความต้องการของผู้ป่วย ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการด้านการแพทย์ในขณะที่มีสติสัมปัชชัญญะสมบูรณ์ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับตัดสินใจวางแผนการรักษา ใช้หัตถการเพื่อยื้อชีวิต ในกรณีที่ต้องการชีวิตอยู่ เช่น ปั๊มหัวใจ ใส่ท่อช่วยหายใจ
3.บทบาทของสมาชิกครอบครัวและผู้ดูแลผู้ป่วย
3.1บทบาทสำหรับตัวผู้ป่วยเอง บทบาทหน้าที่ของตนเองก็จะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ไม่สามารถทำงานหรือช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา
3.2บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ต้องลาออกจากงานประจำมาดูแลผู้ป่วย
3.3บทบาทของศาสนา การดูแลทางด้านจิตวิญญาณ ศาสนา เป็นแหล่งพึ่งพิงทางจิตใจ จิตวิญญาณ โรงพยาบาลสนับสนุนให้ผู้ทำพิธีทางศาสนามีส่วนในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยปรึกษากับทีมสุขภาพ ที่อยู่หน้างาน
เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริการที่มีต่อผู้รับบริการ
-บอกข้อมูลที่ผิดให้แก่ญาติ
-ไม่มีการให้ข้อมูลที่โน้มน้าว
-ไม่ได้อธิบายถึงการตรวจชิ้นเนื้อ และการทำ MRI ให้กับญาติ
ควรใช้คำพูดที่นุ่มนวลแก่ผู้ป่วย
ให้ข้อมูลถูกต้องตามความเป็นจริง
ควรอธิบายการทำ MRI และค่าใช้จ่ายในการทำMRI
ไม่ควรใช้อารมณ์กับผู้ป่วย
เพื่อศึกษาบทบาทของพยาบาล
และการพยาบาลผู้ป่วยรักษาตัวที่บ้าน
ศึกษาข้อมูลการเจ็บป่วย ประเมินความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ดูแล/ญาติ
ให้ความรู้ และการฝึกทักษะแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล/ญาติ ให้สามารถกลับไปดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้อย่างถูกต้อง และสิ่งสำคัญต้องให้เวลาแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล/ญาติ ในการฝึกทักษะ
เสริมสร้างอำนาจแก่ผู้ป่วยและครอบครัวให้เห็นถึงคุณค่า และความหมายของการมีชีวิตอยู่ แม้จะเป็นครั้งสุดท้ายของชีวิต สมาชิกในครอบครัวได้ทำหน้าที่รวมดูแลผู้ป่วย จะช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเผชิญกับการสูญเสียที่เกิดขึ้นในอนาคตได้
ให้ความรู้ด้านโภชนาการ รับประทานอาหารที่พอทานได้ เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอาจมีการกระจายของมะเร็งไปที่ช่องท้องทำให้มีอาการท้องอืด ไม่ควรบังคับหรือฝืนให้ผู้ป่วยรับประทานให้ได้
ให้ความรู้ด้านอาการไม่สุขสบาย เช่น ถ้ามีอาการปวดพยาบาลต้องให้คำแนะนำวิธี และความจำเป็นในการบริหารยาแก้ปวดที่บ้าน ในการใช้ยาแก้ปวดมอร์ฟีน ถ้ามีอาการปวดมากหรือมีอาการหอบเหนื่อยตามแผนการรักษาและบอกระดับความปวดให้ผู้ป่วยได้รับรู้
เพื่อศึกษาบทบาทในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
โรคมะเร็งเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ระยะที่ 1 เมื่อผู้ป่วยทราบผลชิ้นเนื้อว่าเป็นมะเร็ง
การใช้ทักษะการแจ้งข่าวร้ายที่เหมาะสมจะทำให้ผู้ป่วยและ ผู้ปกครองยอมรับความจริง คลายความวิตกกังวลลง และ มีความพร้อมที่จะรับทราบเรื่องธรรมชาติและการดำเนิน โรคของโรคมะเร็ง ประโยชน์และการเตรียมตัว เข้ารับการรักษา
ระยะที่ 2 เมื่อผู้ป่วยมารับการรักษา
การให้ข้อมูลในช่วงนี้จึงควรมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีการรักษา ประสิทธิภาพของการรักษา และผลข้างเคียง ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ควรเปิด โอกาสให้ผู้ป่วยและญาติซักถามในกรณีที่อาจจะยังมี ข้อสงสัย เพื่อจะได้เกิดความมั่นใจในการรักษาที่จะได้รับ
ระยะที่ 3 เมื่อผู้ป่วยมารับการตรวจ
การให้ข้อมูลในระยะนี้ควรมุ่งเน้นใน 2 ด้าน ได้แก่ การบอกพยากรณ์โรคแก่ผู้ป่วย โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาส ที่จะหายขาดจากโรค (remission) โอกาสที่จะเกิดโรคกลับ เป็นซ้ำ (recurrence) และโอกาสที่จะเสียชีวิต (mortality)
ระยะที่4 เมื่อผู้ป่วยมารับติดตามผลการรักษา
การให้ข้อมูลในระยะนี้ควรมุ่งเน้นในด้าน ความสำคัญของการมาตรวจติดตามการรักษา
เพื่อศึกษาความจำเป็น
ในการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์
4.การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้
-การวินิจฉัยโรคแพทย์จะใช้วิธีวิธีที่แม่นยำที่สุดคือ การตัดชิ้นเนื้อ
3.การตัดชิ้นเนื้อตรวจ Biopsy
-การตัดเอาชิ้นเนื้อ เพื่อส่งตรวจทางพยาธิโดยการส่องกล้องจุลทัศน์
2.ข้อเสียหรือข้อจำกัดเครื่อง MRI
-ห้องตรวจ MRI มีสนามแม่เหล็กแรงสูง
1.ข้อดีของการใช้เครื่อง MRI
-ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น
เพื่อศึกษาการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้
การวินิจฉัย
-ตรวจเลือดคัดกรอง
-ตรวจเลือดที่ปนมาในอุจจาระ
-การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร
-การตรวจทางภาพรังสีวินิจฉัย
-การนำชิ้นเนื้อไปตรวจ
อาการของมะเร็งลำไส้
-ปวดท้องเรื้อรัง ท้องอืดเรื้อรัง
-ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือถ่ายดำ
-น้ำหนักลดผิดปกติ อ่อนเพลีย
-คลำพบก้อนในท้อง
-ท้องผูกหรือท้องผูกสลับท้องเสีย
เพื่อศึกษาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
การดูแลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระหว่างการรักษาให้ครอบครัวได้เตรียมความพร้อมทั้งด้านจิตใจและการใช้ชีวิตหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว และให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้จากไปอย่างสงบ
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน
หากผู้ป่วยหรือญาติตัดสินใจที่จะดูแลผู้ป่วยที่บ้าน แพทย์ผู้ดูแลจะแนะนำขั้นตอนและวิธีการดูแล โดยสมาชิกในครอบครัว ญาติ เพื่อนของผู้ป่วย และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องสามารถช่วยกันดูแลผู้ป่วยให้บรรเทาจากอาการหรือความเจ็บปวดทางร่างกาย รวมทั้งให้กำลังใจให้ผู้ป่วย
เพื่อศึกษาบทบาทของพยาบาล
ในการประเมินและจัดการความเจ็บปวด
การจัคการความเจ็บปวด
2.ให้ข้อมูล และให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ
3.ดูแลให้ยาแก่ผู้ป่วย
1.ให้ความช่วยเหลือในขณะมีความปวด
4.ตระหนักในการรีบเร่งช่วยเหลือในการจัดการความเจ็บปวด
การประเมินความปวด
ประเมินความความรุนแรงความปวดรูปภาพใบหน้า
ประเมินความเจ็บปวดจากการสังเกตพฤติกรรม
การแสดงสีหน้า
การขยับแขน
การเกร็งกล้ามเนื้อ
สัญญาณชีพ
การประเมินความรุนแรงความปวดเป็นตัวเลข
เพื่อศึกษาจรรยาบรรณวิชาชีพต่อระชาชน
ความเอื้ออาทร (Caring)
ความรับผิดชอบ (Accountability or Responsibility
การไม่กระท าสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อผู้ป่วย (Do no harm)
ความยุติธรรม (Justice)
ความซื่อสัตย์ (Findelity)
การกระทำาสิ่งที่ดีแก่ผู้ป่วย (Beneficence)
การคุ้มครองผู้ป่วย หรือการพิทักษ์สิทธิ์ (Advocacy)
ความเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy)
การยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าว (Informed consent)
การพูดความจริงในการบอกข้อมูลทั่วไปและการบอกความจริง (Truth)
เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการบอกความจริงแก่ผู้ป่วย
-วัตถุประสงค์การบอกความจริง เป็นการให้ข้อมูลที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถตัดสินใจเลือกเเนวทางการรักษาได้ถูกต้องเเละมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยรู้ความจริงที่เกิดขึ้นกับตนเอง
ข้อดี ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ได้อย่างถูกต้อง
ช่วยให้ผู้ป่วยมีเจตคติเเละการรักษาที่ดีขึ้น มีความหวัง
ช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวเตรียมพร้อมเผชิญปัญหา
ข้อเสีย อาจทำให้กำลังใจผู้ป่วยลดลง ก่อความกลัวเเละความวิตกกังวล ผู้ป่วยอาจปฏิเสธการรักษา ในผู้ปาวยบางรายอาจมีอาการซึมเศร้า ในผู้ป่วยบางรายอาจหนีไปรักษาตัวในทางที่ผิด
เพื่อศึกษาการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
การบริหารยาโดยหลักการ 10R
Right patient (ผู้ป่วยที่เหมาะสม) -ตรวจสอบชื่อยาและสายรัดข้อมือ
Right Medication / drug (ยาที่ถูกต้อง)
-ตรวจสอบคำสั่งแพทย์
3.Right dose (ปริมาณนาที่ถูกต้องและเหมาะสม)
-ยืนยันความเหมาะสมของขนาดยาโดยใช้ BNF หรือแนวทางท้องถิ่น
Right route (เส้นทางที่ถูกต้อง)
-ตรวจสอบว่ายาที่ให้ oral / IV / IM / Suppository
Right time (เวลาที่เหมาะสม)
-ตรวจสอบความถี่ของการใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง
Right patient education (ผู้ป่วยควรมีความรู้เกี่ยวกับยาที่จะได้รับ)
-ตรวจสอบว่าผู้ป่วยเข้าใจว่าเป็นยาอะไร
Right documentation (การบันทึกการให้ยาที่ถูกต้อง)
-พยาบาลลงนามในยาหลังจากได้รับยา
Right to refuse (สิทธิ์ในการปฏิเสธ)
-ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยในการจัดการยา
Right assesment (การประเมินอาการคนไข้ก่อนให้ยา)
-ตรวจสอบข้อห้ามในการใช้ยาของคนไข้แต่ละคน
Right evaluation (การประเมินผลหลักการให้ยา)
-ตรวจสอบให้แน่ใจว่ายาทำงานตามที่ควรจะเป็น