Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
IoT : Internet of Things - Coggle Diagram
IoT : Internet of Things
IoT คืออะไร?
"อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง" หมายถึง การที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (การสั่งการเปิดไฟฟ้าภายในบ้านด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุม เช่น มือถือ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต) รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
-
ยกตัวอย่าง IoT
Smart home คือ เทคโนโลยีที่นำการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตมาใช้กับอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน เพื่อควบคุมอุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้น เช่น
หลอดไฟที่สามารถเปิด-ปิด,ปรับความสว่างได้โดยสั่งการผ่านโทรศัพท์
-
โดยหลักการของ Smart grids คือการส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจร ระบบนี้จะพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าในปัจจุบัน ทั้งในด้านการส่ง การรับ และการตรวจสอบซ่อมแซมเมื่อสายไฟผิดปกติอีกด้วย ในหลายๆประเทศมีการพัฒนาระบบนี้ไปแล้ว และในประเทศไทยก็เริ่มศึกษาระบบนี้อย่างจริงจัง
การผลิตและจำหน่ายไฟฟ้านั้นประกอบด้วย ระบบผลิต (Generation),ระบบส่ง (Transmission),ระบบจำหน่าย (Distribution), และ ผู้ใช้ไฟฟ้า (Utilization)
-
นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่ทุกๆคนสามารถมีได้ นอกจากเป็นเครื่องประดับแล้วยังเป็นเครื่องมือทางการแพทย์อีกด้วย
ในอดีตนั้น Smart watch จะมีฟังก์ชันมากกว่านาฬิกาทั่วไปเล็กน้อย เช่น สามารถช่วยนับระยะทางที่เดินในแต่ละวัน สามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ แต่ในปัจจุบัน Smart watch เริ่มมีบทบาทและมีฟังก์ชันใหม่ๆมากขึ้นเรื่อยๆ
-
-
คืออุปกรณ์การแพทย์แบบอิเล็คทรอนิกส์ เพื่อความสะดวกและประหยัดมากขึ้น เนื่องจากบางครั้ง อาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆอาจจะไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ ทั้งยังสามารถประหยัดเวลาได้ด้วย
อุปกรณ์ตรวจหู (Otoscope) ของบริษัท Cellscope ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถนำไปติดกับกล้องโทรศัพท์แล้วสามารถตรวจภายในหูได้ เหมาะกับประเทศไทยที่การไปพบแพทย์ครั้งหนึ่งใช้เวลานานและมีราคาที่แพง
-
โดยอุปกรณ์นี้จะตรวจจับการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิร่างกาย การหายใจ และแสดงผลออกมาทางแอพลิเคชัน หากมีอาการผิดปกติ อุปกรณ์นี้จะส่งสัญญาณเตือนไปยังโทรศัพท์หรือแจ้งเตือนไปยังเบอร์ฉุกเฉินที่ผู้ใช้บันทึกไว้ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตหรือได้รับอันตรายจากโรคนี้ได้อย่างมาก
-
-
ข้อเสีย
ข้อดี
รับส่งข้อมูลรูปแบบดิจิทัล ปัจจุบัน ข้อมูลดิจิทัลมีความจำเป็นมาก เพราะสามารถนำไปใช้กับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้ทันที ซึ่ง IoT มีคุณสมบัติด้านการเก็บข้อมูลทางภายภาพให้อยู่ในรูปดิจิทัลได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว จึงนับเป็นประโยชน์อย่างมากในยุค Digital Transformation
แม่นยำ ใช้ได้ตลอดเวลา และส่งข้อมูลแบบ Real-Time ข้อมูลจาก IoT ไม่เพียงแต่เป็นดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังสามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วระดับ Real-Time มีความแม่นยำ และสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ช่วยให้มีข้อมูลในการตัดสินใจได้ทันท่วงที
ลดภาระงานของบุคลากร ในอดีตการเก็บข้อมูลอาจต้องใช้คนเดินทางเข้าไปสอดส่องที่เครื่องมือเพื่อหาความผิดปกติ แต่ปัจจุบัน IoT ไม่เพียงแต่สอดส่องให้เราผ่าน Dashboard เท่านั้น แต่ยังสามารถเรียนรู้การหาความผิดปกติด้วยเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น Artificial Intelligence ได้
ทำงานตรวจสอบในจุดที่คนเข้าไม่ถึง เราสามารถออกแบบ Smart Device ให้มีขนาดเล็กและทนทานเพื่อติดตั้งตามจุดที่คนเข้าถึงยากหรือในจุดที่มีอันตรายระหว่างดำเนินการได้ เช่น ภายในท่อส่งน้ำมัน หรือบ่อบำบัดน้ำเสีย ช่วยลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินจากการต้องเข้าพื้นที่อันตรายเป็นประจำได้
เพิ่งพาระบบอินเทอร์เน็ต หากไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อาจเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ไม่สามารถสั่งงานอุปกรณ์ได้ เป็นต้น
ความผิดพลาดที่เกิดจากการประมวลผลผิดพลาด อุปกรณ์ IoT อาจเกิดปัญหาประมวลผลผิดพลาดได้ เนื่องจากการเขียนโปรแกรมที่ไม่รัดกุม และ พอมีอุปกณ์ตัวไหนตัวหนึ่งประมวลผลผิดพลาดจะส่งผลทำให้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ด้วยประมวลผลผิดพลาดไปตาม
ความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากอุปกรณ์ถูกเชื่อมโยงกันด้วยเครือข่ายเดียวกัน ทำให้ต้องการบำรุงและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลกับซอฟต์แวร์ของอุปกรณ์อยู่เสมอ