Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่6 นายเสมอ - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่6 นายเสมอ
8.คำอธิบายผู้ป่วยรายนี้เมื่อแพทย์งดการให้ยาในครั้งนี้
ยาเคมีบำบัดส่งผลต่อเซลล์กระดูก
ทำให้
มีเม็ดเลือดจำนวนน้อยลง ไขกระดูกเป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด
ดังนั้นต้องทำการตรวจเลือดดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดก่อนให้ยาเคมีบำบัดทุกครั้งเนื่องจาก ผู้ป่วยแต่ละราย มีความทนทาน (tolerance) ต่อฤทธิ์ของยาเคมีบำบัดไม่เท่ากัน
จากการตรวจ CBC พบว่า
Hb 9g/dl ต่ำกว่าปกติ (ปกติ 13-18 g/dl)
Hct 28 % ต่ำกว่าปกติ (ปกติ 40-54%)
Plt 150,000 UL ปกติ (ปกติ 150,000UL)
WBC 2,000/mm ต่ำกว่าปกติ (ปกติ 4,000-10,000/mm)
Neutrophill 54 % ปกติ (ปกติ 50-70%)
ถ้าจำนวนเม็ดเลือดขาวสมบูรณ์ (ANC) น้อยกว่า 1,500 เชลล์ลูกบาศก์มิลลิเมตร (โดยประมาณ) ทางการแพทย์ถือว่ามีโกสเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าคนปกติ แพทย์อาจพิจารณาหยุดการให้ยาเคมีบำบัดชั่วคราว หรือปรับลดขนาดยาลง ขึ้นกับการพิจรณาของแพทย์ในผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้แพทย์ต้องพิจารณาดูความเข้มขันของเลือด และเกล็ดเลือดก่อนให้ยาเคมีบำบัดด้วย
แพทย์จะมีวิธีการคำนวณค่าของเม็ดเลือดขาวสมบูรณ์ (Absolute Neutrophil Count = ANC)
ก่อนพิจารณาให้ยเคมีบำบัดแก่ท่าน โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้คือ
จำนวนเม็ดเลือดขาวสมบูรณ์ (ANC) = นิวโทรฟิล x เม็ดเลือดขาวทั้งหมด/100
จำนวนเม็ดเลือดขาวสมบูรณ์ของผู้ป่วยรายยนี้ (ANC) = นิวโทรฟิล x เม็ดเลือดขาวทั้งหมด/100
แพทย์อาจพิจารณาหยุดการให้ยาเคมีบำบัดชั่วคราว รวมถึงค่า Hb และ Hct ต่ำ จะทำให้ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมได้ง่าย
= 54 x 2,000/100=1,080 เชลล์ลูกบาศก์มิลลิเมตร
3.แผนการพยาบาลในผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด
ปวดเนื่องจากการทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย
บริเวณหน้าท้อง
การรวบรวมข้อมูล
Objective data
แผลผ่าตัดหน้าท้องยาวประมาณ 7นิ้วแผลผ่าตัดหน้าท้องแห้งดี
ระดับ pain score 3
Subjective data
ผู้ป่วยบอกว่าปวดแผล
จุดมุ่งหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่มีอาการปวดแผลผ่าตัด
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยไม่บ่นและแสดงสีหน้าว่าเจ็บปวด
ประเมินระดับความเจ็บปวดได้ค่า pain score ระดับ 0
นอนหลับพักผ่อนได้ สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้
กิจกรรมการพยาบาล
1.สังเกตและสอบถามถึงอาการและระดับความปวดของผู้ป่วย
2.จัดท่านอนsemi-fowler’s position
3.ทำความสะอาดแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องด้วยวิธี Dry dressing
4.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษาและถูกต้องตามหลัก7R
5.ให้คำแนะนำในการดูแลบาดแผล
หลังผ่าตัดควรมีการเปลี่ยนท่านอน พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมงและลุกนั่งพร้อมทั้งเริ่มบริหารร่างกายทันทีเมื่ออาการดีขึ้น
หลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือการออกแรงมากๆ
การประเมินผลพยาบาล
บรรลุจุดมุ่งหมาย
ผู้ป่วยไม่บ่นและแสดงสีหน้าว่าเจ็บปวด
ประเมินระดับความเจ็บปวดได้ค่า pain score ระดับ 0
นอนหลับพักผ่อนได้ สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้
เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเนื่องจากคาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน
การรวบรวมข้อมูล
Objective data
retained foley cath ปัสสาวะออกดี
จุดมุ่งหมายการพยาบาล
ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
เกณฑ์การประเมิน
อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 36.5-37.4 °C
บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์สะอาด ไม่อับชื้น
น้ำปัสสาวะใส ไม่มีตะกอน ไม่ขุ่น
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์อยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณรอบๆสายสวนปัสสาวะ
สังเกตลักษณะ สี ปริมาณของน้ำปัสสาวะ
3.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำเพียงพอต่อความต่อการอย่างน้อยวันละ 2,000 CC
4.บันทึกปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยได้รับและที่ปัสสาวะออกทุก8ชั่วโมง
5.ให้คำแนะนำในเรื่องการดูแลอุปกรณ์
ไม่ดึงรั้งสายสวนปัสสาวะ หากมีการเลื่อนหลุดให้แจ้งพยาบาล
ดูแลถุง urine bag ให้อยู่ต่ำกว่าระดับเอวแต่ไม่ถึงพื้น
ป้องกันไม่ให้สายสวนปัสสาวะหักงอ
6.ประเมินอุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชั่วโมง
การประเมินผลพยาบาล
อุณหภูมิร่างกาย 36.8 °C
บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์สะอาด ไม่อับชื้น
น้ำปัสสาวะใส ไม่มีตะกอน ไม่ขุ่น
เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกผิดปกติบริเวณบาดแผลเนื่องจากการฉีกขาดจากผ่าตัด (bleeding)
การรวบรวมข้อมูล
; แผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องทางขวา
จุดมุ่งหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะเลือดออก(bledding)
เกณฑ์การประเมิน
บริเวณบาดแผลไม่มีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน
บริเวณรอยเย็บของบาดแผลไม่มีรอยฉีกขาด และไม่มีเลือดออกจากท่อระบาย
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
1.ประเมินบาดแผลของผู้ป่วยเมื่อกลับถึงห้องพักว่ามีอาการปวด บวม แดง ร้อนหรือไม่ รวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ติดมากับบาดแผลของผู้ป่วย เช่น drain
2.ประเมินภาวะbleeding ทุก15นาที4ครั้ง 30 นาที 2ครั้ง และทุก1ชั่วโมงจนปกติ หากมีภาวะbleeding ให้แจ้งพยาบาล วงกลมบริเวณผ้า gauze เพื่อประเมินว่ามีเลือดออกเพิ่มขึ้นหรือไม่โดยประเมิน สังเกต และบันทึก
3.สังเกตและบันทึกจำนวนการเสียเลือดที่หลังออกมาจากร่างกายทั้งหมด เช่น ปัสสาวะ สายระบายจากกระเพาะอาหาร(NG) ถ้าพบผิดปกติให้รายงานแพทย์
4..ให้คำแนะนำในเรื่องของการดูแลแผลผ่าตัด
4.1 ดูแลแผลให้แห้งอยู่เสมอ ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังจากผ่าตัด ผู้ป่วยต้องไม่ให้แผลสัมผัสน้ำ
4.2 ขยับร่างกายบริเวณแผลผ่าตัดให้น้อยที่สุด หากแผลผ่าตัดได้รับแรงกระทบกระเทือนมากเกินไปจะทำให้แผลหายช้าลงหรือปริออกได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการยกของ การออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดแรงดันที่แผล
4.3 ล้างมือก่อนสัมผัสกับแผลทุกครั้ง เพื่อป้องกันแผลสัมผัสกับสิ่งสกปรกและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
การประเมินผลพยาบาล
บรรลุจุดมุ่งหมาย
บริเวณแผลผ่าตัดของผู้ป่วยไม่มีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน และภาวะเลือดออกจากการผ่าตัดและท่อระบาย
อาจเกิดภาวะ Hypovolemic Shock เนื่องจากมีการเสียเลือดในระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง
การรวบรวมข้อมูล
Objective data
ใส่สายยางให้อาหารทางจมูกเพื่อดูดดูสีและปริมาณของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหาร
ป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
จุดมุ่งหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะ Hypovolemic Shock
เกณฑ์การประเมินผล
วัดสัญญาณชีพ
อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 36.5-37.5 องศาเซลเซียส
ชีพจรอยู่ระหว่าง 60-100ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 16-24ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต 120/80 มิลลิเมตรปรอท
ไม่มีอาการ มือ เท้า เย็น กระสับกระส่าย
-Content ออกมาจาก NGไม่มีเลือดออกมา
กิจกรรมการพยาบาล
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
แนะนำตัวและสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยเพื่อให้ความไว้วางใจโดยการพูดคุยและให้คำ
ประเมินสัญญาณชีพทุก ๆ 15นาที เพื่อประเมินภาวะ Shock เช่น ชีพจรเบา ความดันโลหิตลดต่ำลง หรือปลายมือปลายเท้าเย็น
-ดูแลให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะอยู่ระดับเดียวกับทรวงอก ปลายเท้าสูงเล็กน้อย 20-30องศา
ทำการ Larvage เพื่อประเมินดูว่าผู้ป่วยยังมีภาวะเลือดออกหรือไม่ และติดตาม Content ที่ออกจาก NG Tube
บันทึกจำนวนสารน้ำเข้า-ออก จากร่างกายทุก ๆ 1 ชั่วโมง
(ถ้าปัสสาวะออกน้อยกว่า 30 มิลลิเมตร/ชั่วโมง) หรือไม่ออกเลยแสดงว่ามีอาการ Shock ต้องรีบรายงานแพทย์
ประเมินค่า Hematocrit ทุก ๆ 4 ชั่วโมง และทำการตรวจกรุ๊ปเลือดเพื่อให้เลือด แบบ packed red cell เพื่อทดแทนเม็ดเลือดแดงที่สูญเสียออกไประหว่างให้เลือดให้สังเกตอาการผิดปกติจากการให้เลือด
การประเมินผลพยาบาล
บรรลุจุดมุ่งหมาย
ผู้ป่วยมีสัญญาณชีพปกติ
ผู้ป่วยไม่มีอาการ มือ เท้า เย็น หรืออาการกระสับกระส่าย
Content ที่ออกมาจาก สาย NG ของผู้ป่วยไม่มีเลือดปนออกมา
5.คำแนะนำแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่ผู้ป่วยได้รับ
ยาเคมีบำบัดสูตร folfox- 4 ประกอบด้วย
Oxaliplatinเป็นยาชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ในวันแรกของการรักษา
Leucovorinเป็นยาชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ในวันที่ 1 และวันที่ 2
Fluorouracil หรือที่รู้จักกันในชื่อ 5-FU เป็นยาชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำที่ให้หลังจากให้ยา leucovorin ในวันที่ 1 และวันที่ 2
จำนวนรอบในการให้ยาเคมีบำบัดแบ่งเป็น 12 cycle โดย1รอบการรักษาจะแบ่งเป็นรอบละ2สัปดาห์
อาการไม่พึงประสงค์ของยาเคมีบำบัด
3.แผลในปากเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับยาไม่กี่วัน โดยเริ่มจากมีอาการที่ลิ้น ข้างกระพุ้งแก้ม หรือในลำคอ แผลจะมีเลือดออกซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อได้
4.จำนวนเม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น
2.ท้องเสียถ่ายเหลวและถ่ายบ่อยครั้ง
5.คลื่นไส้ อาเจียน พบเพียงเล็กน้อยหรืออาจ ไม่มีอาการเลย
6.ผมบาง ผมหลุดร่วงง่าย ผมสามารถ งอกใหม่ได้เมื่อหยุดการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด แต่สีผม หรือลักษณะเส้นผมอาจมีการเปลี่ยนแปลง
1.มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้าซึ่งจะรู้สึกเจ็บเหมือนถูกแทงด้วยของแหลมคม ผิวหนังแห้ง คัน ในบางเคสอาจมีอาการบวม แดง
7.อาการอ่อนเพลีย
การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดคือ
ใช้รักษาเป็นหลักในpt.ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
ใช้รักษาในpt.หลังผ่าตัดเพื่อป้องกันกำจัดเชื้อที่ยังแพร่กระจาย
คำแนะนำสำหรับ pt.
3.หลีกเลี่ยงการทานอาหารกลิ่นฉุน รสจัด ไขมันสูง ของทอดเนื่องจากจะทำให้รู้สึกอยากอาเจียน
4.เน้นทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก วิตามินB6,B12 เช่นกล้วย ส้ม
2.รับประทานอาหารย่อยง่าย เช่นข้าวต้ม โจ๊ก
5.ทานยาแก้คลื่นไส้อาเจียนตามแพทย์สั่ง
1.ปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารโดยรับประทานครั้งละน้อยๆแต่บ่อยมื้อ
6.พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อลดอาการอ่อนเพลียจากการได้รับยาเคมีบำบัด
7.ดูแลช่องปากและฟันด้วยแปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ น้ำสะอาดที่ไม่มีส่วนผสมของ alcohol เพื่อลดการระคายเคือง
8.หากมีอาการบวมแดงบริเวณนิ้วมือนิ้วเท้า ให้ประคบเย็น3-4ครั้ง/วัน
2.ระยะของการเกิดโรคมะเร็งในผู้ป่วยรายนี้
ผู้ป่วยชายไทยคู่ อายุ 78 ปี ป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 บริเวรลำไส้ใหญ่ส่วนที่ทอดขวางช่องท้องไปทางด้านซ้ายโครงไปใต้ปลายของม้าม
มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 2แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
Stage IIB : มะเร็งเติบโตผ่านทุกชั้นของลำไส้ใหญ่ แต่ยังไม่แพร่กระจายไปที่ ต่อมนำ้เหลืองและอวัยวะอื่นๆ
Stage IIC : มะเร็งเติบโตผ่านทุกชั้นของลำไส้และเนื้อเยื่อใกล้เคียง แต่ยังไม่แพร่กระจายไปที่ต่อมนำ้เหลืองและอวัยวะอื่นๆ
Stage IIA : มะเร็งเติบโตขึ้นที่ชั้นนอกสุดของลำไส้ใหญ่ แต่ยังไม่แพร่กระจายไปที่ต่อมนำ้เหลืองและอวัยวะอื่นๆ
จากการพิจารณาระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่ตามระบบ TNM system ได้ดังนี้ T3,N0,M0
N0= ไม่มีเซลล์มะเร็งในต่อมนำ้เหลือง
M0= ไม่มีหลักฐานการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
T3 = ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของก้อนมากกว่า 5 cm
1.ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในผู้ป่วยรายนี้
แบ่งกลุ่มเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ออกเป็น 2 กลุ่ม
ปัจจัยความเสี่ยงจากตัวบุคคล (Non-modifiable risk factors)
อายุ (Age)
อัตราการเกิดมะเร็งลำไส้เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มคนอายุมากกว่า40ปีขึ้นไป และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามอายุ และยิ่งในช่วงอายุ60-79ปี มีความเสี่ยงมากถึง50เท่า เมื่อเทียบกับคนอายุน้อยกว่า แต่ปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ในกลุ่มคนอายุ 20-49ปี เพิ่มมากขึ้น
ประวัติการเกิดมะเร็งลำไส้ในครอบครัว
มากกว่าร้อยละ20 ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้เกิดจากที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 5-10 ของมะเร็งลำไส้เป็นผู้ป่วยที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ประวัติการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้
ประวัติการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้ที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ ซึ่งเป็นรอยโรคที่สามารถกลายเป็นมะเร็งลำไส้ได้ในอนาคต
Tubular
villous adenomas
ประวัติการเกิดลำไส้อักเสบ
แบ่งเป็นโรคได้สองโรค ซึ่งการอักเสบของลำไส้ทั้งสองโรคนี้เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้มากขึ้น 4-20 เท่า
Ulcerative colitis สาเหตุเกิดจากการอักเสบส่วนของชั้น mucosa ของลำไส้
Crohn disease สาเหตุเกิดจากการอับเสบตลอดชั้นของลำไส้ บางส่วนเกิดการอักเสบได้ที่ปากและทวารหนัก
ปัจจัยความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม (Environmental risk factor)
อาหาร
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์ เป็นหนึ่งปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้
การออกกำลังกายและน้ำหนักเกิน
การไม่ออกกำลังกายและมีน้ำหนักเกินเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ เพราะเมื่อออกกำลังกายและการเพิ่ม Metabolic rate จะส่งผลให้ลำไส้ทำงานมากขึ้น เคลื่อนตัวมากขึ้น มีการเพิ่มการใช้งานออกซิเจน ผลระยะยาวทำให้ความดันในร่างกายลดลง ทำให้ estrogen ในเลือดลดลง ซึ่ง Estrogen มีระดับสูงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้
การสูบบุหรี่
มีรายงานออกมาชัดเจน ในส่วนของมะเร็งลำไส้พบว่าร้อยละ 12 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้นั้นสูบบุหรี่ สัมพันธ์กับอัตราการเกิดและเจริญเติบโตของ Adenomatous polyp
การดื่มแอลกอฮอล์
เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้เช่นกันกับการสูบบุหรี่ ผลที่ได้จากการย่อยสลายแอลกอฮอล์ คือ Acetaldehyde ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งตัวหนึ่ง ซึ่งการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับสูบบุหรี่ จะมีผลเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น
วิเคราะห์จาก case
อายุของผู้ป่วย
เนื่องจากผู้ป่วยมีอายุ 78 ปี ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงบุคคลในอันดับต้นๆที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้
พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วย
มีการรับประทานอาหารมัน และอาหารประเภทเนื้อย่าง ไม่ชอบรับประทานผัก ซึ่งเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเนื่องจากอาหารมันกระตุ้นให้มีการหลั่งของน้ำดีมากขึ้น แบคทีเรียในลำไส้จะเปลี่ยนสารเหล่านี้ให้เป็น cholesterol metabolites และ secondary bile acid ซึ่งจะเกิดการระคายเคืองเยื่อบุของผนังลำไส้กระตุ้นให้เกิดการแบ่งตัวของเยื่อบุผนังลำไส้มากขึ้น
อาหารที่มีการผ่านกระบวนการปรุงด้วยวิธีการปิ้งย่างทำให้เกิดสารก่อมะเร็งคือ Heterocyclic amines
การสูบบุหรี่
เนื่องจากผู้ป่วยมีประวัติการสูบบุหรี่มานาน 30 และได้เลิกสูบมาแล้ว20ปีซึ่งในช่วงการสูบบุหรี่นั้นทำให้อาจเกิดการเจริญเติบโตของ Adenomatous polyp
9.การพยาบาลผู้ป่วยหลังได้รับยาเคมี Cycle ที่ 5
เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารเนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อยลงซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาเคมีบำบัด
การรวบรวมข้อมูล
S : บ่นเบื่ออาหารคลื่นไส้แต่ไม่อาเจียน ปากเป็นแผลเพิ่งจะหาย กินอาหารได้น้อย
O : ได้รับยาเคมีบำบัด สูตร folfox- 4 cycle ที่ 5
จุดมุ่งหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่มีเกิดภาวะทุพโภชนาการ
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยไม่เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้มากขึ้น
ไม่เกิดแผลในปาก
กิจกรรมการพยาบาล
1.แนะนำผู้ป่วยในการดูแลตนเองเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร
รับประทานอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารร้อนเพราะมีกลิ่นและทำให้รู้สึกอยากอาเจียนมากขึ้น
หลีกเลี่ยงอาหารกลิ่นฉุน รสจัด อาหารมัน อาหารทอด เพราะจะทำให้ท่านรู้สึกอยากอาเจียนมากขึ้น
รับประทานทีละน้อย แต่บ่อยมื้อ
2.แนะนำให้พักผ่อนมาก ๆ หากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายจิตใจ
3.แนะนำให้รับประทานยาแก้คลื่นไส้อาเจียนตามแพทย์สั่ง
หากมีอาการอาเจียนมากกว่า 3 ครั้งต่อ 1 ชั่วโมง อาเจียนเป็นเลือดหรือมีน้ำดีปนออกมา อาเจียนมากจนไม่สามารถรับประทานอาหารได้นานกว่า 1 วัน
การประเมินผลพยาบาล
บรรลุจุดมุ่งหมาย
ผู้ป่วยไม่เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้มากขึ้น
ไม่เกิดแผลในปาก
เสี่ยงต่อการเกิดโรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดถูกทำลายจากการได้รับยาเคมีบำบัด
การรวบรวมข้อมูล
O : ได้รับยาเคมีบำบัด สูตร folfox- 4 cycle ที่ 5
ผล CBC : Hb 9 g/dl., Hct 28 % ,
WBC 2,000/mm.
แพทย์ให้เลือด 1 U
ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียและซีด
จุดมุ่งหมายการพยาบาล
ไม่เกิดภาวะโลหิตจาง
เกณฑ์การประเมิน
ผล CBC อยู่ในค่าปกติ
Hb ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ประมาณ 12-16g/dL
Hct ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ประมาณ 37-47%
ค่า WBC ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ประมาณ
5000-10000 cell/ml
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการให้เลือด
เช่น
ปอดเสียหาย
มีธาตุเหล็กในเลือดมากเกิน
ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลันเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกัน
ภาวะร่างกายต่อต้านเซลล์เม็ดเลือดแดง
2.แนะนำการดูแลตนเองเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของเม็ดเลือด
ได้แก่
รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก เช่น ตับ ผักใบเขียว อาหารที่มีโปรตีน และวิตามินสูง
พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่ไม่หักโหม
ทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามปกติ แต่ปรับให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
การประเมินผลพยาบาล
บรรลุจุดมุ่งหมาย
ผล CBC อยู่ในค่าปกติ
Hb ค่าอยู่ที่ 14 g/dL
Hct ค่าอยู่ที่ 40 %
ค่า WBC ค่าอยู่ที่ 8000 cell/ml
6.การให้ยาเคมีแต่ละครั้งผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเลือด
การตรวจ LAB CBC
(Complete Blood Count)
โดยตรวจดูความสมบูรณ์ ของค่า
เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด
องค์ประกอบเลือด
ค่าปกติ
นิวโทรฟิล 40-74%
ค่าปกติ
เกล็ดเลือด140,000-450,000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร
ค่าปกติ
เม็ดเลือดขาว 4,000-10,000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร
ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง
ค่าปกติ 14– 18 (ผู้ชาย) กรัม/เดซิลิตร
12 – 16(ผู้หญิง) กรัม/เดซิลิตร
การตรวจหา ANC
(Absolute Neutrophil Count)
หน้าที่
ป้องกันและต่อสู้กับเชื้อโรค
การคำนวณ
จำนวนเม็ดเลือดขาวสมบูรณ์ =
นิวโทรฟิล x เม็ดเลือดขาวทั้งหมด/100
เช่น
54 x 2,000/100 = 1,080
เม็ดเลือดขาวสมบูรณ์น้อยกว่า 1,500
เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร
โอกาสเสี่ยงต่อ
การติดเชื้อทำให้แพทย์หยุดการให้ยาหรือปรับขนาดยาลดลง
7.การพยาบาลขณะผู้ป่วย
ได้ยาเคมีบำบัด
วิตกกังวลเนื่องจากได้รับยาเคมีบำบัด
การรวบรวมข้อมูล
S : รู้สึกกังวลเกี่ยวกับการให้ ยาเคมีบำบัด
O : ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด สูตร folfox- 4 ทุก 2 สัปดาห์จำนวน 12 cycle
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการดูแลตนเองขณะได้รับยาเคมีบำบัด 3 ใน 5 ข้อ
ผู้ป่วยให้ความร่วมมือครบทุก cycle
ผู้ป่วยไม่แสดงสีหน้าที่บ่งบอกถึงความวิตกกังวล เช่น คิ้วขมวด กระสับกระส่าย กระวนกระวาย
จุดมุ่งหมายการพยาบาล
ผู้ป่วยไม่เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวการได้รับยาเคมีบำบัด
การประเมินผลพยาบาล
บรรลุจุดมุ่งหมาย
ผู้ป่วยไม่แสดงสีหน้าที่บ่งบอกถึงความวิตกกังวล เช่น คิ้วขมวด กระสับกระส่าย กระวนกระวาย
ผู้ป่วยให้ความร่วมมือครบทุก cycle
ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการดูแลตนเองขณะได้รับยาเคมีบำบัดได้ 4 ข้อ
กิจกรรมการพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและแจ้งวัตถุประสงค์ทุกครั้งเมื่อให้การพยาบาล
2.ประเมินสภาวะจิตของผู้ป่วยโดยเฉพาะความวิตกกังวลของผู้ป่วย
3.บอกเหตุผลของการให้ยาเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วย
4.ให้ความรู้เกี่ยวกับยาเคมีบำบัดสูตร folfox- 4
และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการได้รับยา
5.แนะนำวิธีการดูแลตนเองขณะได้รับยาเคมีบำบัด
ปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารโดยรับประทานอาหารทีละน้อยๆ แต่บ่อยมื้อ
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกลิ่นฉุน รสจัด อาหารมันอาหารทอด เนื่องจากจะทำให้รู้สึกอยากอาเจียนเพิ่มมากขึ้น
แนะนำให้อมน้ำแข็งเพื่อบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ
แนะนำให้ใช้แปรงสีฟันที่ขนอ่อนนุ่มและบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เนื่องจากจะทำให้ระคายเคืองเพิ่มขึ้นเมื่อมีแผลในช่องปาก
ควรพักผ่อนให้มากเพื่อลดอาการอ่อนเพลียหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด
4.คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้าน
ใช้หลัก D-Method
D : Diagnosis
ให้ความรู้เรื่องสาเหตุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
อาการ
น้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
อยากอาหารน้อยลง ไม่รู้สึกหิว
ท้องผูกและท้องเสียสลับกันบ่อยครั้ง
คลื่นไส้ อาเจียนบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ
ท้องอืด ท้องเฟ้อบ่อยพร้อมกับมีอาการปวดท้องช่วงล่าง
สาเหตุ
ประวัติการเกิดมะเร็งลำไส้ในครอบครัว
อายุ ในช่วงอายุ 60-79 ปีพบว่า มีโอกาสเสี่ยงมาก
การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญหนึ่งในการเกิดมะเร็งลำไส้
การออกกำลังกายน้อยและน้ำหนักเกิน
มีประวัติการเจ็บป่วยในอดีต มีอาการปวดท้อง ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร ท้องผูก สลับกับท้องเสีย
ชอบรับประทานอาหารมันและอาหารประเภทเนื้อย่าง ไม่ชอบรับประทานผัก
ดื่มเหล้า ดื่มแอลกอฮอล์
M : Medicine
ให้คำแนะนำการใช้ยาเคมีบำบัดที่ได้รับ
ใช้ยาเคมีบำบัดสูตร folfox- 4
เป็นยาOxaliplatinและFluorouracilสำหรับฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำให้คู่กับยา Leucovorin
มักจะให้ Fluorouracil คู่กับ Leucovorin ทุก 1 สัปดาห์ ติดต่อกัน 6 สัปดาห์
ส่วนยา Oxaliplatin จะให้ห่างกันทุก 2 สัปดาห์
ให้ยาทั้งหมด 3 รอบ ระยะเวลาในการให้ยาประมาณ 3 ชั่วโมง/ครั้ง
ภาวะแทรกซ้อน
ความรู้สึกผิดปกติบริเวณมือและเท้า มีอาการชา เป็นตะคริว
ท้องเสียถ่ายอุจจาระเหลวและถ่ายบ่อยครั้ง
เกิดแผลในปาก
จำนวนเม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น
คลื่นไส้ อาเจียน
ข้อควรระวังระหว่างรับยา
อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนก่อนรับยาเคมีบำบัดประมาณ 30 นาที
หากรู้สึกแน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น เวียนศีรษะ หายใจติดขัด ต้องแจ้งพยาบาลทันที
ยา Oxaliplatin อาจทำให้เกิดอาการเกร็ง หรือความรู้สึกผิดปกติรอบๆ ปาก และคอ หลอดลมตีบ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่เย็น
หากมีอาการปวดบริเวณที่ให้ยา พยาบาลจะให้ประคบอุ่นเพื่อบรรเทาอาการ
E: Environment
จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดโปร่งเพื่อทำให้เกิดการผ่อนคลาย
T: Treatment
เมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้าน
ปรับเปลี่ยนสุขนิสัยในการรับประทานอาหาร รับประทานอาหารเพียงพอแต่ละมื้อ ไม่ควรอิ่มจนเกินไป
ดื่มน้ำาอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
ป้องกันและดูแลรักษาผิวหนังโดยรอบบาดแผล
ในช่วงแรกให้งดเว้นการยกของหนักหรือภาวะที่ทําให้แรงดันในช่องท้องสูง
ควรพักผ่อนให้ครบ6-8ชั่วมงต่อวันและการออกกําลังกายสามารถออกกําาลังกายเบาๆ
ทำหัตถการในช่องปากก่อนรับเคมีบำบัด1-2สัปดาห์
งดการสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
ให้ผู้ป่วยสังเกตความผิดปกติของร่างกายก่อนวันนัด
.แนะนําผู้รับบริการมาพบแพทย์ตามนัด
H : Health
การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย
งดเว้นการยกของหนักหรือภาวะที่ทําให้แรงดันในช่องท้องสูง เพื่อส่งเสริมให้บาดแผลหายไวขึ้น
หลีกเลี่ยงอาหารไขมันและกากใยสูงเพื่อป้องกันการอุดตันของลำไส้
O: Out patient
มาตามแพทย์นัดทุกครั้ง
มารับการให้ยาเคมีบำบัดตามแพทย์นัด
D : Diet
รับประทานอาหารทีละน้อยๆแต่บ่อยมื้อ
รับประทานอาหารอ่อน นุ่ม ย่อยง่าย
หลีกเลี่ยงการับประทานอาหารที่มีกลิ่นฉุนเนื่องจากจะทำให้รู้สึกอาเจียนมากยิ่งขึ้น
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทหมักดอง เพราะจะเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคได้ง่าย