Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีการบริหาร - Coggle Diagram
หน่วยที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีการบริหาร
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานพยาบาล
การจัดการพยาบาล
(Nursing management) คือการดำเนินงานการพยาบาลตามกระบวนการบริหาร เพื่อให้บุคลากรการพยาบาลสามารถให้การพยาบาลที่มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ขององค์การพยาบาล
1.1.1 ความหมายและความสำคัญการบริหา
ร หมายถึง การที่บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปร่วมมือกันทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมอย่างมีศิลปะในการนำเอาทรัพยากรการบริหารอันได้แก่ คน เงิน วัตถุ และการจัดการ มาประกอบการตามกระบวนการบริหาร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของการบริหาร
การบริหารการพยาบาลช่วยให้บุคลากรพยาบาลร่วมกันทำงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหารการพยาบาลจะช่วยชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มทั้งในด้านความเจริญและความสำเร็จของสังคมในอนาคต
องค์กรพยาบาลจะคงสภาพอยู่ มีความเจริญก้าวหน้า หรือถดถอย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการบริหาร
การบริหารการพยาบาลซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ และมีความสลับซับซ้อนจะต้องมีการจัดระบบระเบียบขององค์กร ซึ่งเป็นวิถีทางที่สำคัญที่จะนำสังคมไปสู่ความเจริญก้าวหน้า
การบริหารการพยาบาลมีลักษณะต้องใช้การวินิจฉัยสั่งการเป็นเครื่องมือ ซึ่งผู้บริหารต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ และการวินิจฉัยสั่งการนี่เองเป็นเครื่องมือแสดงให้ทราบถึงความสามารถของนักบริหาร เป็นเรื่องน่าสนใจ และจำเป็นต่อการที่จะดำรงชีวิตอย่างชาญฉลาด
ความสำคัญของการบริหาร
6ุ. การบริหารการพยาบาลที่ดี ย่อมก่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพราะสามารถให้การพยาบาลได้อย่างมีคุณภาพ
ชีวิตประจำวันของบุคลากรพยาบาลไม่ว่าในครอบครัวหรือในองค์กรพยาบาลย่อมมีส่วนเกี่ยวพันกับการบริหารอยู่เสมอ ดังนั้น การบริหารจึงเป็นเรื่องน่าสนใจ และจำเป็นต่อการที่จะดำรงชีวิตอย่างชาญฉลาด
1.1.2 รูปแบบของการบริหาร
การบริหารมุ่งผลงาน (Task center)
การบริหารโดยมุ่งตัวบุคคล (Personal center)
การบริหารที่มุ่งคนและงาน (Modern development)
การบริหารที่มุ่งถึงประสิทธิภาพตามสถานการณ์
1.2.3 บทบาทผู้บริหารพยาบาล
“
ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรการพยาบาล” หมายถึง หัวหน้าพยาบาล หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล หัวหน้ากองการพยาบาล
คุณสมบัติผู้บริหารสูงสุดขององค์กรการพยาบาล
1.เป็นสมาชิกสภาการพยาบาลและมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ที่เป็นปัจจุบัน
2.มีเกณฑ์ กระบวนการสรรหาและคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งหัวหน้าพยาบาลอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
3.บุคลากรการพยาบาลในองค์กรมีส่วนร่วมในการสรรหาและคัดเลือกหัวหน้าพยาบาล
4.มีสมรรถนะที่สะท้อนความเป็นมืออาชีพในการนำองค์กรพยาบาล (Professionalism)
บทบาทที่สำคัญของผู้บริหารพยาบาล
1.หัวหน้าพยาบาลเป็นคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล
2.หัวหน้าพยาบาลมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ตัดสินใจและวางแผน
3.ผู้บริหารการพยาบาลทุกระดับ สนับสนุนให้บุคลากรทางการพยาบาลในระดับต่างๆ
4.ผู้บริหารการพยาบาลทุกระดับ สนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพได้รับการเตรียมและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการศึกษาพยาบาล
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานพยาบาล
1.1.4 องค์ประกอบของการบริหารงานพยาบาล
ทรัพยากรการบริหาร หรือปัจจัยการบริหาร (Administrative resources)
กระบวนการบริหาร (Administrative Processes)
วัตถุประสงค์ของการบริหารงาน (Objective)
1.1.5 แนวคิดเกี่ยวกับผลผลิตทางการพยาบาล
ความสำคัญของผลลัพธ์ทางการพยาบาล
ใช้เป็นหลักฐานยืนยันซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นผลที่เกิดจากการกระทาโดยพยาบาล หรือเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาลตามขอบเขตวิชาชีพ
ผู้ให้การพยาบาลได้รับทราบถึงผลดี ผลเสียที่เกิดจากการปฏิบัติ
ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์แสดงถึงความมีคุณภาพ
ผลลัพธ์ทางการพยาบาล
= การตอบสนอง หรือการเปลี่ยนแปลงของผู้ใช้บริการอันเกิดจากการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะทางสุขภาพ หรือพฤติกรรม หรือ ความรู้สึก
การวัดผลผลิตทางการพยาบาล 3 วิธี
Operation target output : วัดผลการปฏิบัติงานตามเป้าหมายโดยวัดจำนวนผลผลิตที่นับได้ เช่น จำนวนผู้ป่วย วันนอน จำนวนหัตถการ ฯลฯ
Performance indicators : วัดผลการดำเนินงานโดย KPI
Nursing outcomes: วัดคุณค่าที่เกิดขึ้นกับผู้รับผลงานเมื่อใช้บริการพยาบาลแล้วเป็นอย่างไร
1.2 ทฤษฎีการบริหาร
1.2.1 ยุคคลาสสิค(Classical or Traditional Theory)หรือทฤษฎีการบริหารแบบดั้งเดิม
1.ทฤษฎีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
1.1 เฟรดเดอริค วินสโลว์ เทเลอร์ (Frederick winslow taylor)
บิดาแห่งการบริหารงานเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ก่อตั้งการบริหารงานที่มีหลักเกณฑ์ โดยเชื่อว่าปัญหาที่คนทำงานไม่เต็มศักยภาพนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบงานและการจัดสิ่งจูงใจใหม่ๆ
1.2 เฮนรี่ แก๊นต์ (Henry L. Gantt)
ได้นำเอาเทคนิคการจัดตารางสำหรับการควบคุมการปฏิบัติงานมาใช้ เพื่อปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพในการทำงาน เทคนิคการจัดทำตารางเวลาของแก๊นต์ เป็นที่นิยมใช้กันถึงปัจจุบันซึ่งช่วยในการปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพในการทำงาน
1.3.แฟรงค์ บังเกอร์ กิลเบรธ (Frank Bunker Gillbreth)
ได้ทำการศึกษาความเคลื่อนไหว ความเบื่อหน่ายและผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อคนงาน ซึ่งสนับสนุนแนวคิดของ เทเล่อร์ โดยสรุปให้เห็นว่า การทำงานด้วยการแบ่งงานออกตามความชำนาญเฉพาะด้านและแบ่งงานเป็นส่วนๆ (division to work) จะทำได้ดียิ่งขึ้น
2.ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร (administrative management)
2.1.เฮ็นรี่ ฟาโยล (Henry Fayol)
ซึ่งเป็นผู้ผู้บุกเบิกแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงบริหาร (administrative management) เขาเชื่อว่าผู้บริหารจะประสบผลสำเร็จได้ หากเข้าใจหน้าที่พื้นฐานและหลักการบริหารดีพอ
2.2ลูเทอร์ กูลิคและลินดอลล์ เออร์วิค (Luther Gulick and Lyndall Urwick)
ได้เพิ่มกระบวนการบริหารที่ Fayol ให้ไว้ 5 ประการ เป็น 7 ประการ ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลายและเป็นที่รู้จักกันในนาม POSDCoRB ซึ่งที่เพิ่ม 2 ประการ
3. ทฤษฎีระบบราชการ (bureaucracy)
ผู้ก่อตั้งคือ แมกซ์ วีเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เสนอทฤษฎีที่เป็นแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์การ ซึ่งเน้นการมีเหตุผลเป็นสำคัญ การบริหารแบบระบบราชการมีลักษณะสำคัญ 7 ประการดังนี้ (Hellriegel and Slocum, 1982)
มีการแบ่งงานกันทำ (division of work) ตามความรู้ ความชำนาญ (specialization)
1.2.2 ยุคนีโอคลาสสิค (NEO–Classical Theory)หรือทฤษฎีการบริหารแบบใหม่กว่าเดิม
1.1เอลตัน เมโย (Elton Mayo
) เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ พบว่าวิธีจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สามารถทำได้โดยต้องทุ่มเทสนใจปัญหาและความต้องการของมนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
1
.
2 แมคเกรเกอร์ (Douglas Mc Gregor)
เจ้าของทฤษฎี เอ็กซ์ และวาย (X and Y theory) ได้วางหลักสมมติฐานเกี่ยวกับคนเป็น ๒ แนวตรงกันข้ามกัน
1.3.วิลเลี่ยม กูซี่ (William G. Quchi)
เป็นแนวคิดการบริหารแบบญี่ปุ่น แต่อเมริกาได้นำมาประยุกต์เป็นรูปแบบ วิธีการทำงานแบบกลุ่มคุณภาพ โดยให้แนวคิดว่าการบริหารจะให้ผลดีกว่า ถ้าให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการตัดสินใจบริหาร(participation of the participants in decision making)
1.2.3 การบริหารสมัยใหม่หรือสมัยปัจจุบัน (Modern Theory
)
1.การวางแผนองค์การ (corporate planning)
คือ การวางแผนกลยุทธ์ที่สามารถปรับตัวด้านแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพ แผนกลยุทธ์ (strategic planning)
2.การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การ (corporate culture)
เป็นแนวคิดทางการบริหารสมัยใหม่ที่เสริมสร้าง ประเพณีปฏิบัติและค่านิยมสำหรับทุกฝ่ายในองค์กร เพื่อเป็นเครื่องยึดมั่นและเป็นแนวทางให้ทุกฝ่ายปฏิบัติด้วยความสมัครใจ
หลักการบริหารคุณภาพโดยรวม
1.มุ่งสนใจลูกค้า/ผู้รับบริการ(customer focus)
ต้องยึดผู้รับบริการเป็นหลัก พยายามตอบสนองความต้องการให้มากที่สุด
2.ปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น
(process improvement) ยึดหลักต้องปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ และมีจิตสำนึกในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการ รวมทั้งระบบปฏิบัติงานให้ดีที่สุดตลอดเวลา
3.ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมทั่วทั้งองค์กร
(total involvement) รวมทั้งเข้าใจบทบาทของผู้นำที่ต้องทำให้เกิดบรรยากาศการปรับปรุงาน การจูงใจในการทำงาน และการมีขวัญกำลังใจ ทุ่มเททำงาน
4.การรื้อปรับระบบ
(reengineering) หมายถึง การสร้างกระบวนการทำงานขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลง ประสบการณ์ ตลอดจนวิทยาการต่าง ๆ ในปัจจุบันเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าสูงสุดแก่ลูกค้า
สรุป
การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ ๓ ประการ คือ ปัจจัยนำเข้าเป็นทรัพยากรในการบริหาร กระบวนการบริหาร และผลลัพธ์หรือผลที่เกิดจากการบริหาร สำหรับแนวคิดทางการบริหารมี ๓ วิธีคือ การบริหารที่มุ่งผลงาน การบริหารที่มุ่งคน และการบริหารที่มุ่งทั้งคนและงาน