Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา - Coggle Diagram
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๔ มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง
การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
มาตรา ๙ การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลัก ดังนี้
มีเอกภาพด้านนโยบาย
มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา
มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา
มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู
หมวด ๖ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา ๔๗ ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
มาตรา ๔๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
มาตรา ๔๙ ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ ให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา
มาตรา ๕๐ ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา
มาตรา ๕๑ ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกไม่ได้ตามมาตรฐาน ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๓ ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ข้อ ๔ เมื่อได้รับรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาตามข้อที่ ๓ แล้วจัดทำรายงาน
ทิศทางการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวง (ใหม่)
ระบบการประเมินภายนอกมีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบ และพัฒนา
สถานศึกษาประเมินตนเองทุกปี
กระทรวงและสมศ พัฒนาผู้ประเมินภายนอกร่วมกัน
สมศ ทำหน้าที่ ประเมิน และติดตามการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
แนวทางดำเนินงานตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
กำหนดมาตรฐานการศึกษาของแต่ละสถานศึกษา
จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาทุกแห่ง
ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้
ประเมินผล
ติดตามผลการดำเนินงาน
จัดทำรายงาน SAR