Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ดนตรีพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านไทย - Coggle Diagram
ดนตรีพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านไทย
เป็นดนตรีที่ถ่ายทอดกันมาด้วยวาจา เรียนรู้ผ่านการฟังมากกว่าการอ่านและเป็นสิ่งที่พูดต่อกันมาแบบปากต่อปากโดยไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงเป็นการสืบทอดทางวัฒนธรรมของชาวบ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มีเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดจากการทำงาน ความรื่นเริงบันเทิงเป็นหมู่คณะ ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นเกิดความรักสามัคคีกันในท้องถิ่น ทำให้ปฏิบัติสืบทอดต่อมายังรุ่นลูกรุ่นหลาน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ทางพื้นบ้านของท้องถิ่นนั้น ๆ สืบต่อไป
มีแยกหลักๆเป็น ๔ ประเภท หรือ ๔ ภาค
ดนตรีพื้นเมืองบ้านภาคเหนือ
เป็นดนตรีของชาวบ้าน ส่วนมากเกิดขึ้นและพัฒนาในสังคมเกษตรกรรม มีลักษณะที่ไม่มีระบบกฎเกณฑ์ชัดเจนตายตัว
เป็นดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แต่ละท้องถิ่นจะมีดนตรีที่มีสำเนียง ทำนอง และจังหวะลีลาของตนเอง
ดนตรีพื้นบ้านส่วนใหญ่มีทำนองที่ประดิษฐ์ดัดแปลงมาจากทำนองของเสียงธรรมชาติ
ตัวอย่างเช่น ซอของดนตรีภาคเหนือ คือ เพลงจะปุ มีทำนองอ่อนหวานตามสำเนียงพูดของคนไทยชาวเมืองจะปุ
ซอล่อง ของจังหวัดน่านมีทำนองเหมือนกระแสน้ำไหล
ดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)
การที่จะสืบค้นประวัติความเป็นมาของดนตรีอีสานให้ได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงนั้นทำ ได้ยาก เพราะไม่มีเอกสารใดที่บันทึกเรื่องราวทางดนตรีโดยเฉพาะ
ที่กล่าวถึงส่วนมากก็เป็นดนตรีในราชสำนัก โดยกล่าวถึงชื่อดนตรีต่าง ๆ เช่น แคน พิณ ซอ ไค้ (แคนของชาวเขา) ขลุ่ย กลอง ตะโพน พาทย์ (กลอง ระนาด ฆ้อง สไนง์ (ปี่เขาควาย) สวนไล (ชะไล-ปี่ใน) ปี่อ้อหรือปี่ห้อ เป็นต้น
ประสมวงของดนตรีอีสานก็ยังไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือวงมโหรี
ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้
มีหลายเผ่าพันธุ์และมีหลายกลุ่ม ในอดีตมีการติดต่อค้าขาย มีความสัมพันธ์กับอินเดีย จีน ชวา - มลายู ตลอดจนติดต่อกับคนไทยในภาคกลาง
ในชนบทความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง ลักษณะของ ดนตรีพื้นบ้าน จึงเป็นลักษณะเรียบง่าย ประดิษฐ์อย่างง่าย ๆ จากวัสดุใกล้ตัวมีการรักษาเอกลักษณ์ และยอมให้มีการพัฒนาได้น้อยมาก
ประเภทเครื่องตี โดยใช้ไม้ไผ่ลำขนาดต่าง ๆ กัน ตัดออกเป็นท่อน สั้นบ้างยาวบ้าง ตัดปากของกระบอกไม้ไผ่ ตรงหรือเฉียง บ้างก็หุ้มด้วยใบไม้ กาบของต้นพืช ใช้บรรเลง (ตี) ประกอบการขับร้องและเต้นรำ เครื่องดนตรี ค่อย ๆ พัฒนามาเป็นแตร กรับ
การค้าขายกับอินเดียและจีน การถ่ายโยงวัฒนธรรมย่อมเกิดขึ้น เช่น ทับ (กลอง) ที่ใช้ประกอบการเล่นโนรา มีร่องรอยอิทธิพลของอินเดียอย่างชัดเจน และการมีอาณาเขตติดต่อกับชวา - มลายู ภาษาและวัฒนธรรมทางดนตรี จึงถูกถ่ายโยงกันมา
พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดให้นำละครจากเมืองนครศรีธรรมราช ไปฝึกละครให้นักแสดงในสมัยนั้น จึงเป็นการถ่ายโยงวัฒนธรรม ด้านดนตรีกลับไปสู่ เมืองนครศรีธรรมราชด้วย เช่น ปี่นอก ซออู้ และซอด้วง
ดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า โดยเครื่องดีดได้แก่ จะเข้และจ้องหน่อง เครื่องสีได้แก่ ซอด้วงและซออู้ เครื่องตีได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทอง ระนาดทุ้มเล็ก ฆ้อง โหม่ง ฉิ่ง ฉาบและกรับ เครื่องเป่าได้แก่ ขลุ่ยและปี่
ลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง คือ วงปี่พาทย์ของภาคกลางจะมีการพัฒนาในลักษณะผสมผสานกับดนตรีหลวง โดยมีการพัฒนาจากดนตรีปี่และกลองเป็นหลักมาเป็นระนาดและฆ้องวงพร้อมทั้งเพิ่มเครื่องดนตรี มากขึ้นจนเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งยังมีการขับร้องที่คล้ายคลึงกับปี่พาทย์ของหลวง ซึ่งเป็นผลมาจากการถ่ายโยงทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมราษฎร์และหลวง