Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สามัคคีเภทคำฉันท์ - Coggle Diagram
สามัคคีเภทคำฉันท์
-
บทวิเคาราะห์
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
-ใช้ฉันทลักษณ์ได้อย่างงดงามเหมาะสม โดยเลือกฉันท์ชนิดต่าง ๆ มาใช้สลับกันตามความเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง จึงเกิดความไพเราะสละสลวย
-ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เห็นภาพชัดเจน
คุณค่าด้านสังคม
– เน้นโทษของการแตกความสามัคคีในหมู่คณะ
– ด้านจริยธรรม เน้นถึงหลักธรรม อปริหานิยธรรม ซึ่งเป็นธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม
– เน้นถึงความสำคัญของการใช้สติปัญญาตริตรอง และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ต้องใช้กำลัง
ผู้แต่ง
นายชิต บุรทัต
กวีในรัชกาลที่ 6 ในขณะที่บรรพชาเป็นสามเณร อายุเพียง 18 ปี ได้เข้าร่วมแต่งฉันท์สมโภชพระมหาเศวตฉัตรในงานราชพิธีฉัตรมงคล รัชกาลที่ 6 เมื่ออายุ 22 ปี ได้ส่งกาพย์ปลุกใจลงในหนังสือพิมพ์ สมุทรสาร นายชิตมีนามสกุลเดิมว่า ชวางกูร เมื่ออายุ 23 ปีได้รับพระราชทานนามสกุล “บุรทัต” จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ในปี 2450 ใช้นามปากกาว่า เจ้าเงาะ เอกชน และแมวคราว
ที่มาของเรื่อง
ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดกบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของบ้านเมือง นายชิต บุรทัต จึงได้แต่งเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2457 เพื่อมุ่งชี้ความสำคัญของการรวมกันเป็นหมู่คณะ เรื่องสามัคคีเภท เป็นนิทานสุภาษิต ในมหาปรินิพพานสูตร และอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ทีฆนิกายมหาวรรค ลงพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุ ของมหามกุฎราชวิทยาลัย โดยเรียบเรียงเป็นภาษาบาลี
ลักษณะคำประพันธ์
แต่งเป็นบทร้อยกรอง โดยนำฉันท์ชนิดต่าง ๆ มาใช้สลับกันอย่างเหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละตอน ประกอบด้วยฉันท์ 18 ชนิด กาพย์ 2 ชนิด คือ กาพย์ฉบัง 16 และ กาพย์สุรางคนางค์ 28
-