Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:pencil2: -ระบบปฏิบัติการ- :pencil2: - Coggle Diagram
:pencil2: -ระบบปฏิบัติการ- :pencil2:
ความหมายของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ(operating system) หรือ โอเอส (OS)เป็นซอฟต์แวร์ที่ทําหน้าทีเป็นตัวกลางระหว่างฮารด์แวรแ์ล
ะซอฟต์แวร์ประยุกต์ทัวไปบางครั้งเราอาจจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟรม์แวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าทีหลักๆ
ความสําคัญของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีหน้าที่บริหารจัดการข้อมูลหรือคำสั่งที่รับมาจากผู้ใช้ (Input) และแสดงผลตอบสนองกลับไปให้ผู้ใช้ (Output) ให้ได้อย่างถูกต้องและทันเวลา หมายถึง "ระบบปฏิบัติการจะต้องเชื่อมโยงอุปกรณ์หลายส่วนภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันให้ได้ ให้ทุกส่วนสามารถคุยกันได้อย่างเข้าใจส่งผ่านข้อมูลหากันได้" ซึ่งอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีมากมายหลายอย่างและทำงานแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้ระบบปฏิบัติการที่ดีจะต้องมีความรู้และความฉลาดมากพอที่จะสั่งการอุปกรณ์เหล่านั้นให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น
การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ
การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์
จัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ
การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย
การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง
ลักษณะของการทำงานของระบบปฏิัติงาน
ระบบ Multiprogramming เป็นระบบที่มีผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกัน เช่น Unix , Linux
ซึ่ง Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต่อย่างใด แต่Unix
เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนองการใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser system)
ระบบคนเดียว (Single User) ใช้ในเครื่อง PC ที่มีผู้ใช้คนเดียวในเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น DOS (Disk Operating System) ซึ่งระบบ DOS
เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็ระบบปฏิบัติการสําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นําไปปฏิบัติตาม
ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย 2 ส่วน
คอร์เนล (kernel) หมายถึง ส่วนกลางของระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนแรกที่ถูกเรียกมาใช้งาน และจะฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำหลักของระบบ ดังนั้นเคอร์เนลจึงต้องมีขนาดเล็ก โดยเคอร์เนลจะมีหน้าที่ในการติดต่อและควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมใช้งาน (application programs)
โปรแกรมระบบ (system programs) คือ ส่วนของโปรแกรมการทำงานของระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ และผู้จัดการระบบ (system administrator)