Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของผิวหนัง - Coggle Diagram
ความผิดปกติของผิวหนัง
2.การติดเชื้อของผิวหนัง
การติดเชื้อรา
โรคกลาก เป็นกลุ่มโรคผิวหนังจากเชื้อราที่ก่อพยาธิสภาพบริเวณผิวหนังชั้นนอกของร่างกายขนและเล็บได้บางครั้งเรียกกลุ่มโรคติดเชื้อราชนิดนี้ว่า “Cutaneous mycoses”
จุลชีพก่อโรคกลากคือเชื้อรากลุ่ม“Dermatophytes”
การรักษา
- ใช้ยาเฉพาะที่ที่ให้ผลดีต่อเชื้อรา ควรเลือกชนิดที่เหมาะกับสภาพของผื่น เช่น ถ้าเป็นตามตัว มีสะเก็ด ผิวค่อนข้างแห้ง อาจใช้ยาทาที่เป็นขี้ผึ้ง แต่ถ้าเป็นบริเวณที่ซอกอับชื้น หรือผื่นมีตุ่มหนอง ตุ่มน้ำใส ต้องเลือกใช้ยาประเภทครีม ผง น้ำยาป้ายทา (Paint Solution)
- การให้ยารับประทาน เช่น การให้ Ketoconazole 200 mg/day นาน 14 วัน สำหรับเชื้อราที่ผิวหนัง
เกลื้อน (TineaVersicolor)เป็นมากในคนที่ขาดอาหาร โลหิตจาง โรคเรื้อรังอื่น ๆ คนที่ได้รับยาสเตียรอยด์ เหงื่อออกมาก หรือใส่เสื้อผ้าที่ทำให้เหงื่อออกมาก ผื่นมีลักษณะเป็นจุด เปลี่ยนสีบนผิวหนัง รูปเล็กกลมขนาดเล็กยาว 2 – 3 มิลลิเมตรขอบชัดเจนซึ่งจะปกคลุมด้วยขุยบาง ๆ มีสีขาวหรือน้าตาลอ่อน จุดเปลี่ยนสีบนผิวหนังอาจรวมกันเป็นผื่นขนาดใหญ่ มีอาการคันเวลาเหงื่อออก มักพบผื่นตามลาตัว เช่น ที่หน้าอก ท้องไหล่ หลัง ช่วงคอ หน้า ตามแขนขาและที่ข้อพับ ได้แก่ รักแร้และขาหนีบ
การรักษา
- ยารับประทาน เช่น Ketoconazole (Nizoral 200 mg Tablet) : 200 mg/day นาน 5 วัน
-
การพยาบาลการป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา วิธีที่ดีที่สุด คือ การชำระร่างกายให้สะอาด เปลี่ยนเสื้อผ้าทุกวัน เสื้อผ้าของผู้ป่วยควรแยกซักต่างหาก ใช้ยาทาบริเวณที่เป็นอย่างสม่ำเสมอตามการรักษา การรักษาใช้เวลาหลายสัปดาห์ ควรระมัดระวังการใช้ยา เพราะอาจทำให้ผิวหนังไหม้และแสบได้
การติดเชื้อแบคทีเรีย
เซลลูไลติส (Cellulitis)
เป็นการอักเสบเฉียบพลันจากการติดเชื้อของผิวหนังในชั้นหนังแท้และในเนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนังสาเหตุเกิดจากเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบโดยทั่วไปเกิดจากการติดเชื้อประเภทแบคทีเรีย เชื้อที่พบบ่อยคือเชื้อ Streptococcus และ Staphylococcus
การรักษา
- ในรายที่มีไข้หรือมีอาการปวดร่วมด้วย ผู้ป่วยควรได้รับยาลดไข้ ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ
- ผู้ป่วยควรยกอวัยวะส่วนที่ติดเชื้อขึ้นสูงกว่าพื้นราบ เช่น หนุนขาข้างมีรอยโรคให้สูงด้วยหมอนรองเพื่อช่วยลดอาการบวม
- การใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานหรือชนิดฉีดอย่างรวดเร็วตามความเหมาะสมกับความรุนแรงของอาการและชนิดของเชื้อแบคทีเรีย
- หากมีผื่นหรือมีแผลที่ผิวหนังควรมีการดูแลรักษาที่เหมาะสม เช่น มีการทำความสะอาดแผลและทาแผล รวมทั้งมีการรักษารอยโรคเดิม
ที่ผิวหนัง เช่น ในคนไข้ที่มีเชื้อราหรือผื่นผิวหนังอักเสบอื่นๆทั้งนี้ควรดูแลตามคาแนะนาของแพทย์พยาบาลที่ดูแลรักษา
Necrotizing fasciitis (NF) สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและทำให้เกิดการอักเสบแบบมีเนื้อตายที่ผิวหนังตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้าถึงชั้นเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้ออาการแสดงที่พบในระยะแรกคือ มีอาการเจ็บปวดบวม แดง ร้อน ที่ผิวหนังอย่างมาก อาการบวมแดงจะลามอย่างรวดเร็ว อาจมีตุ่มน้ำร่วมด้วย ต่อมาสีของผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีม่วงและมีเนื้อตายเกิดขึ้น เมื่อมีเนื้อตายเกิดขึ้นผู้ป่วยอาจมีอาการชามาแทนที่อาการเจ็บปวด มักจะมีไข้สูงและการติดเชื้อแบคทีเรีย
การรักษา
โดยการใช้ยา ผู้ป่วยอาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะ ซึ่งแพทย์มักให้ยาหลายชนิดร่วมกันทางหลอดเลือดดำและการผ่าตัด เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อที่ตาย เพื่อหยุดการกระจายของเชื้อ รวมทั้งอาจต้องตัดแขนหรือขาในบางกรณีหากการติดเชื้อลุกลามหรือรุนแรง ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือการติดเชื้อในกระแสเลือดหรืออวัยวะในร่างกายทางานล้มเหลวจนอาจนาไปสู่การเสียชีวิตได้
การติดเชื้อไวรัส
งูสวัด(Herpes Zoster) มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ทาให้เกิดโรคอีสุกอีใส ลักษณะผื่นเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำใสที่มีฐานที่อักเสบแดง
การรักษา
- ให้การรักษาตามอาการ คือ ให้ยาแก้ปวด ยาลดไข้ หรือยากล่อมประสาทตามความจำเป็น
- ถ้าการอักเสบมีมากควรให้ยาปฏิชีวนะ Acyclovir โดยรับประทานหรือฉีดขนาดยารับประทาน 800mg วันละ 5 ครั้ง นาน 7 วัน ขนาดยาฉีด 10 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมนาน 5 –7 วัน
- สิ่งที่สำคัญ คือ สุขนิสัยส่วนบุคคล ในรายที่มีเหงื่อออกมากควรใช้สบู่ที่มีส่วนผสมยาฆ่าเชื้อที่ดี อาบน้ำชำระร่างกายบ่อย ๆ รักษาความสะอาดของผิวหนังให้แห้งอยู่เสมอ ใส่เสื้อผ้าและอยู่ในสถานที่ที่มีการระบายอากาศดี
-