Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของหลอดเลือด กลุ่ม 3, นางสาวนาซูฮา แซแอ 634N46219 - Coggle…
ความผิดปกติของหลอดเลือด กลุ่ม 3
โรคหลอดเลือดสมอง stroke
คือภาวะที่ทำให้เซลล์สมองถูกทำลายซึ่งมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองตีบอุดตันหรือแตกทำให้ขัดขวางการลำเลียงเลือดซึ่งนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมองส่งผลให้สมองสูญเสียการทำหน้าที่จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์อัมพาตหรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
Hemorrhagic Stroke
ภาวะหลอดเลือดสมองแตก ภาวะเลือดออกในสมองส่งผลให้เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บจากการมีเลือดคั่งในเนื้อสมองทำให้เนื้อสมองตายมักพบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดมีความเปราะและโป่งพองและสาเหตุอื่น ๆ
Transient ischemic attack (TIA)
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว”
Ischemic Stroke
ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน” หรือ“ ภาวะสมองขาดเลือด มีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดจากการสะสมของคราบไขมันหินปูนที่ผนังหลอดเลือดชั้นในจนหนานูนแข็งขาดความยืดหยุ่นทำให้รูของหลอดเลือดค่อยๆตีบแคบลงส่งผลให้ประสิทธิภาพของการลำเลียงเลือดลดลงหรืออาจเกิดจากลิ่มเลือดจากหัวใจหรือการปริแตกของผนังหลอดเลือดหลุดมาอุดตันหลอดเลือดในสมอง
สาเหตุของโรค
ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สาจัยเสียงที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองควรควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 140/90 mmHg ในผู้ที่อายุน้อยกว่า 60 ปี
โรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลก่อนอาหารให้อยู่ระหว่าง 80-130 mg / dl หรือน้ำตาลสะสม (HbA1C) ให้น้อยกว่า 7 เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดในร่างกาย
คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
โรคอ้วน
การขาดการออกกำลังกาย
หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณคอตีบพบในผู้ที่มีอายุมาก
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถป้องกันได้
ผู้สูงอายุ มีโอกาสเป็นได้มากเรามักพบโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือด
มีประวัติโรคหลอดเลือดสมองในครอบครัว
เพศชาย พบอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าเพศหญิง
ประวัติเคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน
อาการเตือนของโรคอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง
ชาหรืออ่อนแรงใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งอย่างฉับพลันทำให้มุมปากตกปากเบี้ยวอมน้ำไม่อยู่น้ำไหลออกจากมุมปาก
พูดไม่ชัดพูดไม่ออกสับสนนึกคำพูดไม่ออก
การมองเห็นมีปัญหาฉับพลันอาจมองเห็นภาพซ้อนมองเห็นภาพครึ่งเดียวตาบอดหนึ่งหรือสองข้าง
มีอาการปวดศีรษะรุนแรงฉับพลัน
การป้องกันโรค
ตรวจเช็กสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงถ้าพบต้องรีบรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
ไม่เครียด
ควบคุมอาหารให้สมดุลทานให้ครบ 5 หมู่และหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มหวานมัน
ควบคุมระดับความดันโลหิตไขมันและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
รับประทานผักผลไม้อย่างสม่ำเสมอ
โรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง
ภาวะหลอดเลือดโป่งพองเกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดที่อ่อนแอซึ่งโดยทั่วไปจะขยายพองขึ้น บ่อยครั้งเรียกว่าเป็น“ ภาวะการโป่งพอง” ของหลอดเลือด
ภาวะหลอดเลือดโป่งพองตามปกติเกิดขึ้นตามหลอดเลือดแดงที่สําคัญที่อยู่ลึกภายในโครงสร้างสมองในระหว่างการผ่าตัดเมื่อเข้าใกล้บริเวณที่เกิดหลอดเลือดโป่งพองเนื้อเยื่อสมองที่เป็นปกติจะต้องถูกแยกอย่างระมัดระวังเพื่อเปิดออกภาวะหลอดเลือดโป่งพองอาจเกิดขึ้นได้ในสมองส่วนหน้า หรือส่วนหลังของสมอง
ทางพยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการโป่งออกของหลอดเลือดสมองเฉพาะจุดมีผลทำให้ผนังหลอดเลือดสมองบริเวณดังกล่าวบางลงและแตกออกง่ายก่อให้เกิดเลือดออกในชั้นใต้เยื่อหุ้มสมองอะแร็คนอยด์ซึ่งเป็นภาวะที่มีอันตรายสูงหากไม่ได้รักษาหรือรักษาไม่ทันเวลาจะมีอัตราเสียชีวิตสูงมาก
อาการ
กลุ่มที่ตรวจพบกระเปาะหลอดเลือดสมองโป่งพองโดยบังเอิญเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ
กลุ่มที่มีการแตกออกของกระเปาะหลอดเลือดสมองโป่งพองทำให้เกิดภาวะเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมองอะแร็คนอยด์ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเฉียบพลันโดยเฉพาะบริเวณต้นคอ จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ผู้ป่วยบางรายจะหมดสติ
กลุ่มที่กระเปาะหลอดเลือดสมองโป่งพองมีขนาดใหญ่ทำให้เลือดไหลวนอยู่ภายในก่อให้เกิดลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมองส่วนปลาย อาการและอาการแสดงจะเป็นไปตามบริเวณของสมองที่ขาดเลือด เช่นถ้าอุดตันหลอดเลือดที่เลี้ยงสมองซีกซ้ายอาจทำให้ออนแรงซีกขวาและพูดไม่ชัด
สาเหตุของโรค
สาเหตุเกิดจากกระเปาะหลอดเลือดโป่งพองที่บริเวณหลอดเลือดใหญ่ที่ฐานสมองและมีลักษณะกลมสาเหตุเชื่อว่าเกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือดซึ่งเกิดจากการที่มีกระแสเลือดไหลมากระทบตลอดเวลารวมกับอายุที่มากขึ้น
อุบัติเหตุทางสมองที่มีการบาดเจ็บของหลอดเลือดสมอง, การติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีผลทำให้เชื้อฝังตัวที่ผนังหลอดเลือดสมอง,
การรักษา
การผ่าตัดสมอง
การรักษาทางการแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาระบบประสาท (Neurointerventionalist) หรือประสาทรังสีแพทย์ (neuroradiologist)
โรคอัมพฤกษ์ (Paresis) อัมพาต (Paralysis)
เป็นกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่นเกิดจากหลอดเลือดในสมองตีบอุดตันหรือแตกหรือเกิดจากสมองไขสันหลังหรือเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บหรือมีการอักเสบ
อัมพาตหมายถึง ภาวะที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้เลยทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้อาการที่เกิดอวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาตายไปเคลื่อนไหวไม่ได้
อัมพฤกษ์หมายถึงภาวะ ที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้บางส่วนทำให้เคลื่อนไหวได้ไม่ตรงตามทิศทางที่ต้องการอวัยวะที่เกิดบางส่วนเช่นแขนขาอ่อนแรง
อาการที่แสดง
อัมพาตเฉพาะแขนเป็นโรคที่ทำให้แบนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างเคลื่อนไหวได้ไม่ปกติเกิดจากเส้นประสาทระดับไขสันหลังช่วงต้นคอไม่เกินกึ่งกลางสะบักผิดปกติ
อัมพาตเฉพาะขาเป็นโรคที่ทำให้ขาข้างใดข้างหนึ่งเคลื่อนไหวได้ไม่ปกติเกิดจาเส้นประสาทไขสันหลังช่วงเอวกันกบผิดปกติเ
อัมพาตครึ่งท่อนเป็นโรคที่ทำให้ขาทั้ง 2 ข้างเคลื่อนไหวได้ไม่ปกติมีปัญหาสูญเสียการควบคุมระบบการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
การวินิจฉัย
แพทย์วินิจฉัยโรคอัมพาตอัมพฤกษ์ได้จากประวัติอาการการตรวจวัดความดันโลหิตจับชีพจรการตรวจร่างกายการตรวจร่างกายทางระบบประสาทและวินิจฉัยสาเหตุได้จากประวัติการเจ็บป่วยต่างๆประวัติสูบบุหรี่การตรวจดูค่าน้ำตาลและไขมันในเลือดและการตรวจภาพสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กเอมอาร์ไอและอาจมีการตรวจอื่น ๆ
นางสาวนาซูฮา แซแอ 634N46219