Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เด็กปฐมวัย(0-5ปี) พัฒนาการล่าช้า, A24C5C02-C01D-4CA4-8F22-5ADCC0C01675,…
เด็กปฐมวัย(0-5ปี)
พัฒนาการล่าช้า
ความหมาย
เด็กพัฒนาการล่าช้า คือ เด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าขั้นพัฒนาการปกติของช่วงอายุ โดยจะมีพัฒนาการล่าช้าด้านใดด้านหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งด้านก็ได้ ในด้านหลักของพัฒนาการทั้ง 4 คือ
พัฒนาการด้านนิสัยส่วนบุคคลและการเข้าสังคม
พัฒนาการด้านการพูดการสื่อสาร
พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และการปรับตัว
พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
ซึ่งพัฒนาการแต่ละด้านจะเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับการเจริญเติบโตของเด็ก ดังนั้นเมื่อพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งล่าช้า ก็จะส่งผลถึงพัฒนาการด้านอื่น ๆ ด้วย
ทำไมลูกถึงมีพัฒนาการล่าช้า
จากผลการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั่วประเทศโดยกรมอนามัยพบว่าเด็กไทยมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าประมาณ 30% โดยพบว่าเด็กไทยมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้ามากที่สุด รองลงมาคือ พัฒนาการด้านกล้ามเน้ือมัดเล็ก
สาเหตุ
ที่เด็กมีพัฒนาการล่าช้าส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากการเลี้ยงดู เด็กขาดประสบการณ์ (ประมาณ 90% ของเด็กที่สงสัยล่าช้า)โดยเมื่อบุคลากรสาธารณสุขให้คำแนะนำพ่อแม่วิธีการส่งเสริมพัฒนาการลูกและกลับมาประเมินพัฒนาการซ้ำอีกคร้ังใน ๑ เดือน ต่อมา เด็กส่วนใหญ่กลับมามีพัฒนาการสมวัยส่วนเด็กที่ยังคงมีพัฒนาการล่าช้า(ประมาณ10%)จำเป็นต้องได้รับตรวจการประเมินโดยแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และให้การรักษาในเด็กท่ีมีอาการรุนแรงอาจตรวจพบสาเหตุ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคทางสมองออทิสติกภาวะขาดออกซิเจนช่วงคลอดภาวะติดเชื้อในครรภ์ มารดาหรือภาวะขาดสารอาหาร เป็นต้น
การสังเกตการผิดปกติที่บ่งบอกว่าเด็กพัฒนาการล่าช้า
1. เด็กพัฒนาการช้าศีรษะผิดปกติ
สังเกตเห็นด้วยว่า มีศีรษะเล็กหรือใหญ่เกินไป บ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของสมอง อาจจะเกิดจากการที่สมองเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น ขาดอากาศขณะคลอด หรืออาจจะเป็นโรคทางพันธุกรรมเส้นรอบศรีษะ
2.เด็กพัฒนาการช้าหูผิดปกติ
ใบหูผิดรูป อยู่ต่ำหรือสูงเกินไปจนสังเกตได้ติ่งหูยาวผิดปกติ มีรูด้านหน้าหูหรือหูไม่มีรู อายุ 6 เดือนแล้วไม่สามารถหันตามทิศทางของเสียง และไม่ตอบสนองกับเสียงที่ได้ยินรอบข้าง เช่น ไม่สะดุ้งตกใจเมื่อมีเสียงดัง
แนวทางการแก้ไขปัญหา
การให้ลูกฟังเสียงที่มีโทนเสียงแตกต่างกัน เสียงที่มีความซับซ้อน รวมถึงการพูดคุยโต้ตอบเสียงที่ถูกเปล่งออกมาจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการฟังของลูกได้
3.เด็กพัฒนาการช้าตาผิดปกติ
เด็กพัฒนาการล่าช้าตาลูกจะห่างจนผิดปกติ ตาเหล่าเข้า-ตาเหล่ออก เห็นแสงสะท้อนจากรูม่านตาเป็นสีขาว แสดงว่ามีความผิดปกติอยู่ด้านหลังรูม่านตา อาจจะเป็นต้อ มีเนื้องอก จอประสาทตาลอก พัฒนาการที่ผิดปกติคือ มองตามวัตถุแล้วตาแกว่งไม่หยุดนิ่ง ไม่จับจ้องวัตถุ ไม่สบตา
แนวทางการแก้ไขปัญหา
การให้เล่นของเล่นสีสันสดใสที่เคลื่อนไหวได้ เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนของ ช่วยกระตุ้นให้ลูกได้ฝึกเคลื่อนไหวดวงตาเพื่อมองตามวัตถุ
4.เด็กพัฒนาการช้าจมูกผิดปกติ
เด็กจะมีดั้งจมูกบี้หรือเชิดมาก ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ต้องดูหน้าตาโดยรวมด้วย เช่น หางตาชี้ กระหม่อมแบน ลิ้นใหญ่ ซึ่งอาจจะเป็นอาการของเด็กดาวน์ซินโดรม เด็กจะไม่ตอบสนองหรือไม่มีปฏิกิริยากับกลิ่นต่างๆ เลย เช่น ไม่นิ่วหน้าหรือจามเมื่อมีกลิ่นเหม็นฉุน โดยปกติแล้วทารกเริ่มได้กลิ่นตั้งแต่อายุ 3 วัน
5.เด็กพัฒนาการช้าปากผิดปกติ
ปากบางเป็นปากปลาหรือปากแหว่งเพดานโหว่ เด็กจะมีอาการพูดไม่ชัด ติดอ่าง เสียงผิดปกติ ไม่เล่นเสียงและส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่โต้ตอบตำพูดตามวัยมีพัฒนาการทางภาษาช้า เช่น สองขวบแล้วยังพูดคำที่ไม่มีความหมาย ไม่ทำตามคำสั่งและไม่พยายามพูดกับคนอื่น
แนวทางการแก้ไขปัญหา
สามารถกระตุ้นพัฒนาการการพูดได้จากการตอบสนองเสียงอ้อแอ้ ชวนลูกคุยโต้ตอบให้เหมือนคุยกันรู้เรื่อง ชวนออกเสีย งคำง่ายๆ ให้เด็กได้เลียนเสียง ชวนเล่นเกมเป่าฟองสบู่ เป่าลูกโป่งหรือเป่าน้ำในแก้ว ซึ่งจะช่วยฝึกกล้ามเนื้อเพดานช่องคอและการใช้ลมออกเสียง
6.เด็กพัฒนาการช้าลิ้นผิดปกติ
สังเกตพบว่าลิ้นใหญ่ ลิ้นยืดออกมาขณะพูด การสบของฟันปกติ เด็กจะน้ำลายไหลย้อย เด็กมักอ้าปากกว้างไม่หุบ ไม่กลืนอาหาร ไม่เคี้ยวข้าวหรือเคี้ยวนาน ไอหรือสำลักอาหารบ่อยๆ
แนวทางการแก้ไขปัญหา
สามารถกระตุ้นด้วยการนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบริมฝีปาก เพื่อให้เกิดการดูดโดยวางหัวนิ้วแม่มือลงบนคางใต้ริมฝีปากล่างแล้วลากออกเป็นเส้นตรงจนสุดขอบปากล่างทั้งสองประมาณ
5 -10 ครั้ง
7.เด็กพัฒนาการช้าแขนขาและบริเวณลำตัวผิดปกติ
เด็กจะมีแขนขายาวไม่เท่ากันทั้งสองข้าง นิ้วยึดติด นิ้วเกิน 5 นิ้ว นิ้วกุด กล้ามเนื้อแขนขาเกร็งเกินไป คือเด็กเคลื่อนไหวลำบากและเคลื่อนไหวผิดปกติ ข้อยึดติด ข้อสะโพกหลุด แบะออกมามากเกินไปหรือหนีบติดกันไม่ยอมแบะ ท้องผูกเรื้อรัง เป็นสัญญาณของการเคลื่อนไหวลำไส้มีปัญหา หรืออาจจะมีปัญหาเรื่องการย่อยและการดูดซึม กล้ามเนื้อแขนขานุ่มนิ่ม อ่อนปวกเปียก คือไม่มีแรงในการเคลื่อนไหว ยกแขนยกขาลำบาก ไม่สามารถควบคุมลำตัวเพื่อทรงตัวให้มีความสมดุลขณะถูกอุ้ม
แนวทางการแก้ไขปัญหา
การกระตุ้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อจะได้กระตุ้นกล้ามเนื้อได้ถูกต้อง
- เด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า
หมายถึง เด็กที่ได้รับตรวจคัดกรองพัฒนาการโดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(DSPM)และผลการตรวจคัดกรองพัฒนาการตามอายุของเด็กในการประเมินพัฒนาการครั้งแรกผ่านไม่ครบ 5ด้าน ทั้งเด็กที่ต้องแนะนำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย 30 วัน รวมกับเด็กที่สงสัยล่าช้า ส่งต่อทันที (เด็กที่พัฒนาการล่าช้า/ความผิดปกติอย่างชัดเจน)
- เด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการติดตาม
หมายถึง เด็กที่ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการตามอายุของเด็กในการประเมินพัฒนาการครั้งแรกผ่านไม่ครบ 5 ด้าน เฉพาะกลุ่มที่แนะนำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย 30 วันแล้วติดตามกลับมาประเมินคัดกรองพัฒนาการครั้งที่ 2
- เด็กพัฒนาการสมวัย
หมายถึง เด็กที่ได้รับตรวจคัดกรองพัฒนาการโดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(DSPM) แล้วผลการตรวจคัดกรอง ผ่านครบ 5 ด้าน ในการตรวจคัดกรองพัฒนาการครั้งแรก รวมกับเด็กที่พบพัฒนาการสงสัยล่าช้าและได้รับการติดตามให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ และประเมินซ้ำแล้วผลการประเมิน ผ่านครบ 5 ด้านภายใน 30 วัน
- เด็กพัฒนาการล่าช้า
หมายถึง เด็กที่ได้รับตรวจคัดกรองพัฒนาการโดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(DSPM) แล้วผลการตรวจคัดกรอง ไม่ผ่านครบ 5 ด้าน ในการตรวจคัดกรองพัฒนาการครั้งแรกและครั้งที่ 2
แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการลูกที่บ้านโดยครอบครัวมีส่วนร่วม
โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการลูกที่บ้าน
หมายถึง ภาพรวมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ที่สามารถทำได้โดยครอบครัว ผ่านกิจวัตรประจำวัน หรือ กิจกรรมภายในครอบครัว Dr. Stanley Greenspan จิตแพทย์เด็กที่ทำงานด้านการส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กพิเศษ มาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ได้ให้คำแนะนำ ภาพรวมโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการลูกที่บ้าน โดยแบ่งออกเป็น
การเล่นกับลูก
การเล่นกับลูก
หมายถึง การจัดแบ่งเวลาของคุณพ่อคุณแม่ลงมาเล่นกับลูก โดยวิธีการง่ายๆ คือ เล่นอะไรก็ได้ที่ลูกสนุกลูกชอบ เล่นแล้วลูกหัวเราะ อยากเอาอีก อยากเล่นอีก ประโยชน์ในการเล่นกับลูก เด็กจะได้รับความรัก ความอบอุ่น เด็กมีอารมณ์แจ่มใส เชื่อฟังพ่อแม่มากขึ้นเมื่อต้องทำกิจกรรมที่ยาก เด็กก็จะทำตามมากขึ้นเด็กที่กินยากหลายคนก็ยอมกินอาหารมากขึ้นนอกจากนั้น ในขณะเล่น เราจะพบว่าเด็กอยากพูดคุยอยากโตต้อบมากขึ้น เด็กจะได้มีโอกาสฝึกพัฒนาการด้านภาษา ผ่านการพูดคุยการเล่นสนุก เล่นสมมุติ จินตนาการ นอกจากนั้นการเล่นยังอาจสอดแแทรกการส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ไปด้วยเล่นขี่หลังพ่อ(ฝึกการทรงตัว) เล่นวิ่งไล่จับซ่อนแอบ (ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกาย)การให้เวลาเล่นสนุกกับลูกโดยเลือกเล่นตามที่ลูกสนใจ
จึงเป็นกระบวนการสำคัญในการในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการโดยรวมทุกๆ ด้าน โดยแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ให้เวลาเล่นสนุกกับลูก ประมาณ 30 นาที/วัน
การฝึกทักษะในชีวิตประจำวัน
การฝึกทักษะในชีวิตประจำวัน
หมายถึงการใช้กิจกรรมที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน เป็นโอกาสในการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของลูก เช่น เวลาทานข้าวการกินอาหารร่วมกัน การใส่เสื้อผ้า การแปรงฟัน หรือการช่วยทำงานบ้านง่ายๆกิจกรรมเหล่านี้พ่อแม่ชวนลูกลงมือทำ ชวนลูกพูดคุย ช่วยกันทำ ช่วยเชียร์ ช่วยให้กำลังใจลูก กิจกรรมง่ายๆ ภายในบ้านก็จะเป็ นการฝึกพัฒนาการได้ครบทุกดา้น ทั้งด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านภาษา สติปัญญา ด้านสังคม อารมณ์โดยรวมทั้งหมด
การฝึกร่างกาย
การฝึกร่างกาย
หมายถึง การใช้ร่างกาย ออกกำลังกาย เคลื่อนไหว เล่นกลางแจ้ง เล่นสนามเด็กเล่น หรือฝึกทักษะด้านกีฬาที่ซับซ้อนขึ้นตามวัย การฝึกร่างกายให้คล่องแคล่ว เป็นรากฐานสำคัญ ในการฝึกพื้นฐานสมอง เด็กที่ออกกำลังกายเป็นประจำเราจะพบว่าเด็กคล่องแคล่วขึ้นกระฉับกระเฉงมากจึ้น มั่นใจในตัวเองมากขึ้น เด็กก็จะพูดได้คล่องขึ้น แก้ไขปัญหาได้เร็วขึ้นเรียนหนังสือได้เก่งขึ้น มีสมาธิมากขึ้น ตัวอย่างกิจกรรมฝึกร่างกายเช่น การวิ่งการกระโดด การขี่จักรยาน การเล่นปีนป่ายเล่นสนามเด็กเล่นเล่นกีฬาว่ายน้ำ เตะฟุตบอลการเลือกกิจกรรมการฝึกร่างกายควรเลือกให้เหมาะสมตามพัฒนาการของเด็กและควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอร่วมไปกับฝึกทักษาะในชีวิตประจำวัน
การเล่นกับเพื่อน
การเล่นกับเพื่อน
การเล่นกับ เพื่อนเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นฝึกทักษะทางสังคม อารมณ์ผ่านการเล่นกับเพือน ได้ตั้งแต่เล็กๆโดยพบว่า
• เด็กเล็กๆ อายุ ๑ ปี จะสนใจมองเด็กคนอื่นๆ เวลาพาลูกไปสนามเด็กเล่น เด็กอาจหลบหลังแม่แล้วมองเด็กทุกคนในสนาม แล้วจึงค่อยๆ เข้าไปเล่น
• เด็กอายุประมาณ ๒ ปี จะสนใจเข้าไปเล่นของเล่นที่สนใจ โดยสามารถอยู่ร่วมในกลุ่มกับเด็กด้วยกันไม่แยกตัวออกไปอยู่คนเดียว
• เด็กอายุประมาณ ๓ ปีเราจะพบว่าเด็กเริ่มเล่นด้วยกันกับเพื่อนมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้นเริ่มใช้ภาษาพูดคุยโต้ตอบกันมากขึ้น เด็กอาจเล่นวิ่งไล่จับ เล่นของเล่น เล่นสมมุติง่ายๆ ด้วยกันเล่นปีนป่ายสนุกด้วยกัน
• เด็กอายุ ๔-๕ ปีเด็กจะเล่นเกมส์ที่เป็นกฏ กติกา เริ่มเขา้ใจการเล่นร่วมกัน สามารถเล่นเป็นทีมแข่งกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผนการเล่นได้