Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม - Coggle Diagram
บทที่ 2
การพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม
การเตรียมผู้ป่วยในวันก่อนผ่าตัด และวันที่จะผ่าตัด
อาหารและน้ำดื่ม โดยทั่วไปวิธีการผ่าตัดโดยทำให้หมดความรู้สึกโดยการดมยาสลบกระเพาะอาหารจะต้องว่าง เพื่อป้องกันการอาเจียนแล้วสำลักเศษอาหารเข้าในปอดขณะดมยาดังนั้นจึงต้องงดอาหารก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
ก่อนผ่าตัดสำหรับอาหารเหลวใสอนุญาตให้ได้
6 ชั่วโมง ก่อนการผ่าตัด
การขับถ่าย ถ้าเป็นการผ่าตัดเล็ก หรือการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่องท้อง แพทย์อาจสั่งหรือไม่สั่งให้สวนอุจจาระก็ได้การผ่าตัดในช่องท้อง
ลำไส้ และทวารหนักแพทย์จะสั่งให้สวนอุจจาระ เพื่อให้ลำไส้สะอาด เพื่อป้องกัน
ไม่ให้อุจจาระไหลออกมาขณะผ่าตัดเนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดคลายตัวในขณะดมยาสลบ
สำหรับกระเพาะปัสสาวะ ควรว่างเมื่อจะเข้าห้องผ่าตัด เพื่อป้องกันการปัสสาวะราดขณะผ่าตัด
หากผ่าตัดในช่องท้องน้อยกระเพาะปัสสาวะที่มีปัสสาวะจะบดบังการมองเห็นของแพทย์
การเตรียมเฉพาะที่ เนื่องจากผิวหนังเป็นแหล่งที่มีเชื้อจุลินทรีย์มาก ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมผิวหนัง
บริเวณที่จะทำผ่าตัดให้สะอาดและลดจำนวนจุลินทรีย์
แนวทางการเตรียมความสะอาดผิวหนังเพื่อเตรียมผ่าตัด
ควรประเมินผิวหนัง ตำแหน่งผ่าตัด หูด ผื่น หรือสภาพผิวอื่นๆ บริเวณตำแหน่งผ่าตัดและบันทึกลงในแบบบันทึก
การกำจัดขนหรือผม จะทำเฉพาะในรายที่จำเป็น โดยปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์
บริเวณผิวหนังที่จะผ่าตัดต้องสะอาดปราศจากสิ่งสกปรก ควรทำความสะอาดล้างสิ่งสกปรกออกด้วย
น้ำยาที่สามารถทำให้ปราศจากเชื้อเพื่อลดการปนเปื้อน
เลือกน้ำยาที่ทำให้ปราศจากเชื้อชนิดที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้กว้าง เหมาะสมกับสภาพผิวของผู้ปุวย
เตรียมของใช้ เช่น ถาดสี่เหลี่ยมบรรจุ มีดโกน กรรไกร ผ้าก๊อส กระดาษรองขน ผ้ายางกันเปื้อน สบู่
การเตรียมผ่าตัดในรายฉุกเฉิน
ในรายที่จะต้องผ่าตัดฉุกเฉินพยาบาลจะมีเวลาจำกัดในการเตรียมผู้ปุวย หากผู้ปุวยตกเลือดอย่างรุนแรง หรือช็อคจะต้องเจาะเลือดตรวจดูความสมบูรณ์ ความเข้มข้นของเลือด หมู่เลือด
และต้องให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ การใส่สายยางจมูกถึงกระเพาะอาหารใส่สายสวนคาปัสสาวะ ทำความสะอาดผิวหนังอย่างรวดเร็ว ให้ยานำก่อนการผ่าตัด การเซ็นชื่อในใบยินยอมผ่าตัด รวมทั้งติดตามญาติอย่างเร่งด่วน
การเตรียมบนหอผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยไปห้องผ่าตัดแล้ว
พยาบาลจะต้องเตรียมสถานที่ เตียง สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ
เตรียมตำแหน่งเตียงให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม เตรียมบริเวณสำหรับวางเครื่องมือแพทย์ ที่คาดว่าจะใชหลังการผ่าตัดเช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องนับหยดสารละลาย
เตรียมเตียง ปูเตียงแบบอีเธอร์ เปลี่ยนผ้าปู ปลอกหมอน ปูผ้าขวางเตียงตรงตำแหน่งที่ทำผ่าตัด
เตรียมเครื่องใช้ต่างๆที่จำเป็นเครื่องช่วยหายใจ เสาแขวนน้ำเกลือ เครื่องดูดเสมหะ อุปกรณ์ให้ออกซิเจน
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น
ยาฉุกเฉิน
การพยาบาลระยะผ่าตัด
ยาระงับความรู้สึก
การให้ยาก่อนระงับความรู้สึก ยานี้แพทย์ทำผ่าตัดหรือแพทย์วิสัญญีเป็นผู้พิจารณาให้ ขึ้นกับผู้ปุวย คือ
เพศ อายุ สภาพร่างกายและจิตใจ มักจะให้ล่วงหน้าในคืนก่อนผ่าตัด
ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
ทำให้ผู้ปุวยหมดสติไม่รู้สึกตัว สามารถให้ได้
กับผู้ปุวยทุกประเภท และการผ่าตัดทุกชนิดแพทย์ดมยาสามารถควบคุมการทำงานของระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือดได้ดีกว่าแต่มีข้อเสีย คือ กดการหายใจและการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด
ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่
ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความรู้สึกเฉพาะส่วน
ของร่างกายที่จะทำผ่าตัด ผู้ปุวยไม่รู้สึกเจ็บแต่รู้สึกตัวดีตลอดเวลา พยาบาลจะต้องระวัง คำพูด กิริยา ท่าทาง ยาที่นิยมใช้ คือ
lidocaine (xylocaine ,lignocaine)
การพยาบาลผู้ป่วยหลังได้รับยาชาทางไขสันหลัง
ถ้าได้รับยาทางช่องเหนือดูรา ให้ผู้ปุวยนอนราบ 4-6 ชั่วโมง
ถ้าได้รับยาทางช่องน้ำไขสันหลัง ให้ผู้ปุวยนอนราบ 12-24 ชั่วโมง หนุนหมอนได้ แต่ห้ามลุกนั่ง เพราะฤทธิ์ของยาชาจะทำให้ความดันโลหิตต่ำได้
ผู้ป่วยควรได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตลอดเวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
ปูองกันอันตรายจากกระเป๋าน้ำร้อน การประคบร้อน เย็นบริเวณส่วนล่างของร่างกาย เพราะการตอบสนองความรู้สึกไม่ดี
ผู้ปุวยอาจมีคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากการมีความดันโลหิตต่ำลงจากฤทธิ์ยาที่ใช้
การพยาบาลระยะหลังผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัดในระยะ 24 ชั่วโมง ผู้ปุวยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด พยาบาลจะต้องประเมินอาการได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทราบอาการต่างๆ หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น
การพยาบาลผู้ปุวยหลังผ่าตัดระยะแรก พยาบาลจะต้องปฏิบัติดังนี้
1 เวลาที่รับผู้ปุวยไว้ 2 ทางเดินหายใจโล่งสะดวกหรือไม่ มีท่อช่วยหายใจชนิดใดอยู่ เช่น Endotracheal tube,Tracheostomy tube 3 ระดับความรู้สึกตัว 4 สัญญาณชีพ 5 ผิวหนัง สีเล็บ ริมฝีปาก 6 ลักษณะของผิวหนัง เช่น ชื้น แห้ง อุ่นหรือเย็น 7 ปฏิกิริยาโต้ตอบ การกระพริบตา เมื่อเขี่ยที่ขนตา การไอ การกลืน การกระตุ้นที่หลอดคอ โดยใช้
สายยางเขี่ยปาก 8 สารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำ ชนิด จำนวน อัตราการหยด ผิวหนังบริเวณที่ให้สารน้ำ
สิ่งที่ต้องค านึงในการดูแลผู้ปุวยหลังผ่าตัดระยะแรก
ระบบทางเดินหายใจของผู้ปุวยต้องโล่ง ปูองกันการส าลัก อาเจียน หรือ น าลายเข้าไปในปอด
หมั่นวัดสัญญาณชีพซึ่งจะบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ปุวยได้ เช่น การตกเลือด การหยุดหายใจ
ระวังการได้รับบาดเจ็บโดยไม่จำเป็น เช่น ตกเตียง ขาฟาดเหล็กกั้นเตียง
การดูแลหลังผ่าตัดระยะหลังโดยทั่วไป ในที่นี้จะกล่าวถึงภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาทางการพยาบาล และรวมถึงการดูแล
อาการแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยคือ หลอดลมอักเสบ ปอดแฟบ