Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เด็กวัยรุ่น/นักศึกษา (15-21 ปี) ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ - Coggle Diagram
เด็กวัยรุ่น/นักศึกษา (15-21 ปี) ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
สาเหตุ
ความอยากลอง
ผู้ใหญ่ใช้ให้ไปซื้อเหล้า ซื่อบุหรี่ แล้วคะยั้นคะยอให้ลองดื่มให้สูบเป็นรางวัล และคึกคะนองกับเพื่อน เห็นเพื่อนดื่ม เห็นเพื่อนสูบก็อยากลองดื่ม ลองสูบบ้าง
สังสรรค์ในงานต่างๆ
เพื่อนชวนไปกินเหล้างานต่างๆ และไปสังสรรค์ประสาวัยรุ่น
สังคมเพื่อน
ผู้ชายที่เข้ารวมกลุ่มสังคมส่วนใหญ่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “เพื่อน” เป็นแรงจูงใจสำคัญทำให้ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เป็นครั้งแรก
ความเครียดจากปัญหาต่างๆ
ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ เมื่อตอนอายุ 16 อยากดื่ม อยากสูบเอง เครียดเรื่องครอบครัวมีปัญหา ไม่อยากอยู่บ้าน เพราะพ่อแม่ทะเลาะกัน
เชื่อว่าเหล้าให้ความสนุกสนาน
ผู้ชายหลายคนบอกว่าต้องดื่มให้เมา ไม่เมา ไม่สะใจ ไม่สนุก
กระแสของสื่อโฆษณา
สื่อโฆษณาต่างๆ ทั้งทางตรง และทางอ้อม ล้วนมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนอย่างมาก สามารถก่อให้เกิดแรงจูงใจ ที่จะเชื่อและนิยมชมชอบ ในผลิตภัณฑ์ที่โฆษณา
ทำให้ดูเท่
สาวมองผู้ชายที่กินเหล้าว่าเท่ ดูภูมิฐาน หากกินเหล้าสีและสูบบุหรี่ ยิ่งคิดว่าตนเองดูเท่
ใช้เหล้ากระตุ้นความกล้า หรืออยากแสดงออก
เวลาเมาใจกล้า หน้าด้าน ไม่กลัว ไม่อายใครเลย จะหัวซุกหัวซุนไปที่ไหนไปได้หมดตามประสาคนเมา ถ้าไม่เมาไม่ค่อยมีความกล้า
ต้องการการยอมรับ
ได้รับการชมเชยจากเพื่อนๆ ว่ากินเหล้าเก่ง ตัวเองเก่ง คอแข็ง คอทองแดง
เลียนแบบคนในครอบครัว และรุ่นพี่
ที่บ้านเป็นร้านขายเหล้า/บุหรี่
แนวทางการช่วยเหลือและแก้ไขของครอบครัว
ให้ความรัก ความอบอุ่น ดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน และสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาเมื่อบุตรหลานมีปัญหา
ศึกษาให้เข้าใจถึงพัฒนาการและปัญหาของบุตรหลาน มีจิตวิทยาในการดูแลช่วยเหลือบุตรหลาน รวมทั้งอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน
ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการพัฒนาส่งเสริมบุตรหลานทั้งในด้านการเรียน การอาชีพ และชีวิตสังคม
ควรประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุตรหลาน
อบรมเลี้ยงดูให้บุตรหลานสามารถที่จะเผชิญความจริงในชีวิตได้
สังเกตและติดตามพฤติกรรมของบุตรหลานอยู่เสมอ เกี่ยวกับการคบเพื่อนที่ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ และรีบให้การดูแลช่วยเหลือ
สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุตรหลานที่ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีมีระเบียบวินัยมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
เปิดโอกาสให้บุตรหลานได้เลือกทำกิจกรรมที่เขาสนใจด้วยตนเอง
ส่งเสริมสนับสนุนให้บุตรหลานได้เรียนตามที่สนใจ ตามความถนัดไม่บังคับเคี่ยวเข็ญในเรื่องเรียนจนมากเกินไป
ยอมรับในสิ่งที่บุตรหลานได้ทำผิดพลาดและให้โอกาสได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การป้องกัน
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่งท่ีควรแนะนำเก่ียวกับโทษของบุหรี่ จัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติด รณรงค์จัดอบรมในกลุ่มเยาวชนที่สูบบุหรี่ ให้คำแนะนำเพื่อลดความอยากสูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่
รู้จักปฏิเสธอย่างนุ่มนวล เช่น ถ้ามีคนชวนให้ดื่มสุราเรา ก็ปฏิเสธว่า เรากลัวจะป่วยเป็นโรคตับแข็ง
เมื่อมีปัญหาควรศึกษาพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครูอาจารย์ ไม่เก็บปัญหาเอาไว้ เพราะแก้ไขปัญหาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้น อาจนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ผิดพลาดได้ และไม่ควรว่าการเสพสารเสพติดจะช่วยให้ลืมปัญหาเหล่านั้นได้
ไม่ชักชวนเพื่อนฝูงทดลองการดื่มเหล้า สุบบุหรี่ เมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนควรจับกลุ่มกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา อ่านหนังสือ เป็นต้น
อย่าคิดว่าการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ หรือการเสพสารเสพติด เป็นเรื่องโก้
รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี และนำแบบอย่างที่ดีของเพื่อนมาประยุกต์ใช้กับชีวิตของตนเอง
5.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส รักษาสุขภาพอนามัยอยู่เสมอ หากบุคคลมีสุขภาพจิตไม่ดี ร่างกายไม่แข็งแรง อาจนำไปสู่การใช้สารเสพติดได้
แนวทางการช่วยเหลือและแก้ไขด้วยตนเอง
หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยง หรือตัวกระตุ้นเร้าให้อยากดื่ม เช่น ร้านขายสุรา เพื่อนที่ดื่ม หรือชวนไปปาร์ตี้ เป็นต้น
บอกกับบุคคลในครอบครัวและคนใกล้ชิดว่าตนเองกำลังเลิกสุรา ช่วยเป็นกำลังให้ด้วย
ปฏิเสธเพื่อนที่มาชวนดื่มว่า ตนเองกำลังมีปัญหาสุขภาพ อยากจะลด ละ เลิกการดื่มสุราลง
หากผู้ดื่มเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ด้วย ควรควบคุมปริมาณบุหรี่ที่สูบไม่ให้เพิ่มมากขึ้น หรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ไปเลยก็จะยิ่งดี
ผ่อนคลาย ทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสุขและผ่อนคลายแก่ตนเอง เช่น ดนตรี เล่นกีฬาเบาๆ ทำงานศิลปะ เป็นต้น