Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม - Coggle Diagram
บทที่ 2 การพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม
ความหมายการพยาบาลศัลยกรรม
การพยาบาลศัลยกรรม หมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด
การพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด
ระยะเวลาก่อนผ่าตัดรวมถึงระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติได้รับการวินิจฉัยและต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดก่อนแพทย์ลงมือทาผ่าตดัอาจใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือเป็นสัปดาห์ผู้ป่วยควรได้ร้บการเตรียมพร้อมท้ังด้านร่างกาย และจิตใจเพื่อให้ผู้ปุวยเข้าห้องผ่าตัดด้วยอาการที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ
ผู้ป่วยจะเกิดความรู้สึกวิตกกังวลเมื่อต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ความวิตกกังวลของแต่ละคนจะเเตกต่าง กันตามความสามารถในการรับรู้และการเผชิญปัญหาเริ่มต้นตั้งแต่การวิเคราะห์โรคการตรวจหลายๆวิธีอาจ กังวลเพราะยังไม่ทราบว่าเป็นโรคอะไรจะต้องรักษาอย่างไร
ดังนั้นพยาบาลควรได้มีโอกาสในการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดนานพอจึงจะทราบความคิด ทัศนคติ ความกังวลใจผู้ป่วยบางคนอาจวิตกกังวลเกินความเป็นจริง พยาบาลมีบทบาทหน้าที่ในการอธิบาย ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความคุ้นเคยกับพยาบาล อบอุ่นใจ ไว้วางใจ และเชื่อมั่นในทีมที่จะให้การรักษา
การเตรียมด้านร่างกาย
ภาวะสมดุลของร่างกายก่อนการผ่าตัดมีความสำคัญเท่าๆกับความสมดุลด้านจิตใจ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ต้องประเมินการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด เพื่อดูว่าร่างกายสามารถทนต่อการผ่าตัดได้หรือไม่ ดูความสามารถในการส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ประเมินปริมาณและคุณภาพของเลือดดังนั้นจึงควรตรวจดูว่าผู้ปุวยซีดหรือไม่ วัดความดันเลือด ชีพจร ส่งตรวจเลือด
ระบบทางเดินหายใจ
ผู้ปุวยที่เข้ารับรับการผ่าตัดต้องได้รับการการตรวจเอกซเรย์ทรวงอกทุกราย เพื่อประเมินสภาพของปอดและหลอดลม
ระบบทางเดินปัสสาวะ
การคำนึงถึงหน้าที่ของไตในการผ่าตัดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะหน้าที่ของไตจะบ่งบอกถึงความสามารถของผู้ป่วยในการที่จะทนต่อการได้รับสารน้ำการประเมินสภาพของไตโดยการส่งเลือดตรวจเพื่อหาระดับของครีตินีนยูเรีย และ nonprotein uria
ความสมบูรณ์ของร่างกายในการได้รับน้ำและอาหารที่พอเหมาะ
การได้รับอาหารที่เพียงพอและถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ปุวย เพื่อให้ผู้ปุวยทนต่อการผ่าตัดได้ดีและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
ภาวะสารน้ำและอิเลคโตรลัยด์
สารน้ำและอิเลคโตรลัยด์เป็นตัวควบคุมภาวะความสมดุลภายในร่างกายหากร่างกายขาดสมดุลจะเป็นอันตรายต่อการผ่าตัดได้
การพักผ่อนและการออกกำลังกาย
ผู้ป่วยที่กำลังรอรับการผ่าตัดการพักผ่อนนอนหลับอาจเป็นไปได้ยากควรรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาคลายเครียด
การเตรียมผู้ป่วยในวันก่อนผ่าตัด และวันที่จะผ่าตัด
การขับถ่าย
ถ้าเป็นการผ่าตัดเล็ก หรือการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่องท้อง แพทย์อาจสั่งหรือไม่สั่งให้สวนอุจจาระก็ได้ การผ่าตัดในช่องท้อง ลำไส้ และทวารหนักแพทย์จะสั่งให้สวนอุจจาระ เพื่อให้ลำไส้สะอาด
อาหารและน้ำดื่ม
โดยทั่วไปวิธีการผ่าตัดโดยทำให้หมดความรู้สึกโดยการดมยาสลบกระเพาะอาหารจะต้องว่างเพื่อป้องกันการอาเจียนแล้วสำลักเศษอาหารเข้าในปอดขณะดมยาดังนั้นจึงต้องงดอาหารก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อน
การเตรียมเฉพาะที่
เนื่องจากผิวหนังเป็นแหล่งที่มีเชื้อจุลินทรีย์มาก ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมผิวหนัง บริเวณที่จะทำผ่าตัดให้สะอาดและลดจำนวนจุลินทรีย์ การเตรียมผิวหนังควรเตรียมใกล้เวลาผ่าตัดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดการเจริญเติบโตใหม่ของเชื้อโรค
การดูแลสภาพร่างกายทั่วไป
ในเช้าวันที่ทำผ่าตัด ให้ผู้ป่วยอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายตามปกติ สวม เสื้อผ้าชุดใหม่ และให้นอนรออยู่ที่เตียงตลอดเวลาจนกว่าจะไปห้องผ่าตัด
การให้ยาแก่ผู้ป่วยก่อนผ่าตัดพยาบาลต้องตรวจสอบประวัติการได้รับยาอาจเป็นยารักษาโรคประจำตัวของ ผู้ป่วยว่าเช้าวันก่อนผ่าตัดผู้ปุวยจะต้องได้รับยานั้นๆ ด้วยหรือไม่จากแผนการรักษาของแพทย์ เพราะการงดยาที่สำคัญกับโรคที่ เป็นอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ยาที่แพทย์อาจจะให้ก่อน
การส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด โดยทั่วไปให้ผู้ป่วยนอนรถเข็นนอน (Stretcher) ถ้าจ าเป็นไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่าง ปลอดภัยก็ให้นอนบนเตียง ห่มผ้าให้เรียบร้อย เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายและปลอดภัย ดึงเหล็กกั้นเตียงขึ้น เข็นรถด้วยความ นุ่มนวล ระมัดระวัง
การพยาบาลระยะผ่าตัด
ยาระงับความรู้สึก
การให้ยาก่อนระงับความรู้สึก
ยานี้แพทย์ทำผ่าตัดหรือแพทย์วิสัญญีเป็นผู้พิจารณาให้ ขึ้นกับผู้ปุวย คือ เพศ อายุ สภาพร่างกายและจิตใจ มักจะให้ล่วงหน้าในคืนก่อนผ่าตัด มีทั้งยาฉีดและยารับประทาน ให้เพื่อ ลดความกลัว ความ วิตกกังวลก่อนผ่าตัด
การให้ยาระงับความรู้สึก
ประเภทของยาระงับความรู้สึก
ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย (General anesthesia) ทำให้ผู้ปุวยหมดสติไม่รู้สึกตัว สามารถให้ได้ กับผู้ปุวยทุกประเภท และการผ่าตัดทุกชนิด
โดยการสูดดมเอาแก๊ส หรือของเหลวระเหยเร็ว (Inhalation anesthesia) เป็นการสูดดมเอาไอ ระเหยของยาสลบ
โดยการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ (Intravenous anesthesia)
ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ (Regional or Local anesthesia ) ท าให้ผู้ปุวยสูญเสียความรู้สึกเฉพาะส่วน ของร่างกายที่จะท าผ่าตัด ผู้ปุวยไม่รู้สึกเจ็บ แต่รู้สึกตัวดีตลอดเวลา
การฉีดพ่นบนผิวหนัง (Local anesthesia) เป็นการฉีดยาชาลงบริเวณที่จะท าผ่าตัด ใช้ในการ ผ่าตัดเล็กๆเช่น ฉีดยาชาเพื่อถอนฟัน
การ หยอด ทา พ่น ยาชาลงเฉพาะที่ (Topical anesthesia) บริเวณเยื่อเมือก ใช้ในการตรวจตา ทวารหนัก ช่องคลอด ยาที่พ่นจะมีความเย็นจัดสามารถลดความเจ็บปวดได้
การฉีดบริเวณรอบๆ กลุ่มประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณที่จะท าผ่าตัด (Nerve block) เช่นการผ่าตัด บริเวณล าคอ ต่อมไทรอยด์ ใช้วิธี Cervical plexus block การผ่าตัดบริเวณแขนและมือ ใช้วิธี Brachial plexus block
การฉีดเข้าไปที่ไขสันหลัง (Spinal anesthesia) ฉีดเข้าน้ าไขสันหลัง (subarachnoid space)
การจัดท่านอน
หลักในการจัดท่านอนผ่าตัด การจัดท่านอนพยาบาลต้องบอกอธิบายให้ผู้ปุวยเข้าใจถึงท่าสำหรับการผ่าตัด และเหตุผลในการจัดท่านั้นๆ ควรจัดท่าด้วยความนุ่มนวล ระวังการเคลื่อนไหวร่างกายในท่าที่ผิดธรรมชาติมากเกินไป
ท่าที่ใช้ในการผ่าตัด
ท่านอนหงาย (supine Position) เ
ป็นท่าสำหรับให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ใช้ในการผ่าตัด ด้านหน้าของลำตัว เช่น ผ่าตัดไส้ติ่ง ผ่าตัดมือ แขน เต้านม
ภาวะแทรกซ้อน
คือ มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ และการไหลเวียนเลือดน้อยจากการกดทับด้านหลัง ของร่างกาย
ท่าศีรษะต่ำปลายเท้าสูง (trendelenburg position)
จัดท่าศีรษะต่ำ 15 องศา ปรับเข่าให้งอ เล็กน้อย เป็นท่าสำหรับการผ่าตัดช่องท้องส่วนล่างและอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่นการผ่าตัด มดลูก ปีกมดลูก
ท่าศีรษะสูงปลายเท้าต่ำ (reverse trendelenburg position)
จัดท่านอนหงาย ปรับปลายเท้าต่ำ กว่าศีรษะ ใช้ส าหรับผ่าตัดช่องท้องส่วนบน ใบหน้า และลำคอ ภาวะแทรกซ้อน คือ อาจมีการกดทับบริเวณปุมกระดูกด้านหลัง ข้อมือ ข้อศอก
ท่านอนกึ่งนั่ง (semi-fowler’s position)
จัดท่านอนหงายราบหมุนเตียงส่วนลำตัวให้งอกึ่งนั่ง บริเวณกระดูกเชิงกรานและเข่างอ ใช้หมอนทรายรองใต้ไหล่ เพื่อให้คอยืดตรง และสอดหมอนเล็กรองรับคอไว้ใช้ส าหรับการ ผ่าตัดลำคอ เช่น ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ใบหน้า
ภาวะแทรกซ้อน
อาจพบอาการปวดต้นคอ เนื่องจากต้องนอนแหงนเป็นเวลานาน
ท่านั่ง (sitting position) จัดท่านอนหงายราบ
หมุนเตียงให้ศีรษะสูงขึ้น ขางอต่ำลงเพื่อปรับเป็นท่า นั่ง ใช้หมอนรองก้นกบ กระดูกเชิงกราน ใต้เข่า ส้นเท้า ใช้ผ้าพันตลอดแนวขาเพื่อส่งเสริมการไหลเวียนกลับเข้าสู่ระบบ ไหลเวียนได้ดี ใช้สำหรับการผ่าตัดสมอง ผ่าตัดตกแต่งเต้านม
ภาวะแทรกซ้อน
ท่านี้อาจทำให้เกิดการหายใจเร็ว หรือหยุดหายใจ เกิดความดันโลหิตต่ำ ความดัน ในหลอดเลือดดำที่คอ
ท่าขึ้นขาหยั่ง (lithotomy position)
การจัดท่าให้ผู้ปุวยนอนหงายราบเพื่อรับยาระงับความรู้สึก ก่อน แล้วจึงเลื่อนตัวผู้ปุวยลงมาด้านปลายเตียงชิดท่อนล่างของเตียงแล้วใส่ขาหยั่งให้สูงพอประมาณและกางออกเท่าๆกัน การนอนท่านี้จะทำให้เลือดมาคั่งที่อุ้งเชิงกรานประมาณ 800 ml. เมื่อยกขาลงในแนวราบการไหลเวียนจะกลับสู่บริเวณขา อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้
ท่านอนคว่ำ (Prone position)
ให้จัดท่านอนหงายก่อน เพื่อรับยาระงับความรู้สึก จากนั้นจัดท่า นอนคว่ า ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ใช้อุปกรณ์รองไหล่ ป้องกันการกดทับและและให้กระบังลมขยายตัวได้เต็มที่ทั้ง 2 ข้าง
Jack-Knife position (Krase)
การจัดท่าเมื่อได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายแล้วจัดท่านอนคว่ำ คือ ศีรษะและปลายเท้าอยู่ต่ำ บริเวณก้นสูง ใช้สำหรับการผ่าตัด ทวารหนัก ริดสีดวงทวาร
ท่านอนโก้งโค้ง (Knee-chest position ) จั
ดท่านอนให้เข่าชิดอกมากที่สุด ใช้หมอนรองบริเวณ หน้าอก ไหล่ ให้แขนทั้ง 2 ข้างวางข้างศีรษะ ใช้ตรวจทางเดินปัสสาวะและทวารหนัก เช่น การส่องกล้องทางทวารหนัก ภาวะแทรกซ้อน มีผลต่อการหายใจ
ท่านอนตะแคงเข่าชิดอก (sim’s position)
การจัดท่าให้ผู้ปุวยนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง งอเข่า ทั้ง 2 ข้าง และก้มศีรษะให้คางชิดอกมากที่สุด โดยกอดเข่าไว้เพื่อให้กระดูกสันหลัง แยกจากกันและสะดวกในการแทงเข็มให้ ยาชาเป็นท่าส าหรับให้ยาชาผ่านช่องไขสันหลัง และช่องเหนือดูรา ภาวะแทรกซ้อน มีผลต่อการหายใจ
การพยาบาลระยะหลังผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัดในระยะ 24 ชั่วโมง
ผู้ปุวยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด พยาบาลจะต้องประเมินอาการได้ อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทราบอาการต่างๆ หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น ผู้ป่วยจะถูกนำมายังห้องพักฟื้น (Recovery Room ) เพื่อประเมินอาการหลังผ่าตัด
เวลาที่รับผู้ปุวยไว้
ทางเดินหายใจโล่งสะดวกหรือไม่ มีท่อช่วยหายใจชนิดใดอยู่ เช่น Endotracheal tube,Tracheostomy tube
ระดับความรู้สึกตัว
สัญญาณชีพ
ผิวหนัง สีเล็บ ริมฝีปาก
ปฏิกิริยาโต้ตอบ การกระพริบตา เมื่อเขี่ยที่ขนตา การไอ การกลืน การกระตุ้นที่หลอดคอ
สารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำ ชนิด จำนวน อัตราการหยด
สภาพของแผลผ่าตัด ผ้าปิดแผล ท่อระบายต่างๆ ตำแหน่ง การทำหน้าที่ของท่อระบาย
การดูแลหลังผ่าตัดระยะหลังโดยทั่วไป
ในที่นี้จะกล่าวถึงภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดซึ่งจะทำให้เกิดปัญหา ทางการพยาบาล และรวมถึงการดูแล
อาการแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยคือ หลอดลมอักเสบ ปอดแฟบ (Atelectasis) ที่ เกิดจากการอุดตันของหลอดลม ในบางส่วนของปอดทำให้ปอดขยายไม่ได้ ปอดบวม (Pneumonia) การดูแล ป้องกันการสาลักน้ำ น้ำลาย อาเจียน เข้าไปในปอด พลิกตัวผู้ป่วยบ่อยๆ
อาการแทรกซ้อนในระบบไหลเวียนเลือด อาจพบได้ เช่น หลอดเลือดดำอักเสบ หลอดเลือดดำอุดตัน ทั้งหลอดเลือดดำที่อยู่ตื้นและอยู่ลึกลงไป หากเกิดกับหลอดเลือดดำที่อยู่ตื้นมักมีอาการแดงและแข็งการดูแล ให้ผู้ปุวยเคลื่อนไหวหลังผ่าตัดโดยเร็ว กระตุ้นการออกกำลังแขนขา กระตุ้นการทำกิจวัตรประจำวัน
อาการสะอึก มักพบในผู้ปุวยที่ทำผ่าตัดช่องท้อง ที่มีอาการท้องอืด การอาเจียนต่อเนื่อง จะทำให้ระคาย เคืองถึงเส้นประสาทเฟร็นนิค เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ฝีที่กระบังลมการดูแล โดยให้ผู้ปุวยหายใจเข้า –ออก ในถุงกระดาษเป็นพักๆ เพื่อสูดเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป หรือแพทย์อาจให้ยากล่อมประสาท ประเภท Tranquilizers
แผลติดเชื้อ มักจะมีการอักเสบให้เห็นก่อนภายใน 36-48 ชั่วโมง แรกหลังการผ่าตัด มีอาการ แดง ร้อน รอบๆแผลผ่าตัด อาการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดจะปรากฏในวันที่ 5 หลังการผ่าตัดการดูแล ดูแลเครื่องมือให้สะอาดปราศจากเชื้อ หรือปลอดเชื้อ ตามการใช้สอย ทำความสะอาดแผล ด้วยเทคนิคปลอดเชื้ออย่างเคร่งครัด แยกผู้ป่วยแผลติดเชื้อออกจากแผลสะอาด
การฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังผ่าตัด ผู้ปุวยที่ต้องผ่าตัดต้องได้รับคำอธิบายเพื่อปูองกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด โดยการให้ความรู้ ในการฟื้นฟูสภาพร่างกายในเรื่องต่อไปนี้
สอนให้ผู้ปุวยหายใจลึกๆ และไอเป็นครั้งคราว ซึ่งจะช่วยให้ปอดขยายได้เต็มที่ พยาบาลต้อง อธิบายวัตถุประสงค์ในการท าให้ผู้ปุวยทราบและเข้าใจ ตระหนักถึงความส าคัญและให้ความร่วมมือเพื่อดูแลตนเอง