Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเบาหวาน (Diabetes melitus : DM) - Coggle Diagram
โรคเบาหวาน (Diabetes melitus : DM)
ความหมาย
โรคเบาหวานเป็นกลุ่มโรคของความผิดปกติของการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องของการหลั่ง insulin หรือการออกฤทธิ์ของ insulin หรือทั้งสองสาเหตุทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะระดับน้ำตาลสูงเรื้อรังมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสียหายในระยะยาว การสูญเสียหน้าที่และความล้มเหลวของอวัยวะต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งของตา ไต ระบบประสาท หัวใจแลละหลอดเลือด
ชนิดของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวนที่มีสาเหตุจำเพาะ
มีได้หลายสาเหตุเช่นโรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ หรือยาสเตียรอยด์
โรคเบาหวนชนิดที่2
เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเกิดจากภาวะดื้อinsulinมักพบในผู้ใหญ่ผรือผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
โรคเบาหวนชนิดที่1
เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายโดยภูมิค้มกันของร่างกายทำให้ขาดอินซูลินมักพบในเด็ก
โรคเบาหวนขณะตั้งครรภ์
เป็นเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์มักเกิดเมื่อไตรมาส 2-3ของการตั้งครรภ์
การวินิจฉัย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1.มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ร่วมกับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ถ้ามีค่ามากกว่าเท่ากับ200mg/dl
2.ระดับน้ำตาลในเลือด หลังอดอาหาร (อดอย่างน้อย8ชั่วโมง)มากกว่าเท่ากับ126mg/dl
3.การตรวจความทนต่อกลูโคส โดยให้รับประทานกลูโคส 75 g แล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่2ชั่วโมง
4.การตรวจระดับน้ำตาลสะสม(A1C)มากกว่าเท่ากับ6.5%โดยวิธีการตรวจและห้องปฏิบัติการต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานที่กำหนดซึ่งมีน้องในประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้วิธ๊นี้
การตรวจร่างกาย
ตา
พบมีต้อกระจก ต้อหิน เส้นเลือดในจอรับภาพแตก มองเห็นภาพซ้อน(Diplopia)
หัวใจและหลอดเลือด
อาจพบความดันโลหิตสูง เจ็ฐหน้าอก เส้นเลือดสมองอุดตัน เวลาเดินปวดน่องมากพอหยุดเดินแล้วอาการจะหายไปหรือเป็นอัมพาต
ลักษณะทั่วไป
รูปร่างอาจอ้วนหรือผอมแล้วแต่ระยะเวลาที่เป็น ท่าทางอ่อนเพลีย ปากแห้ง หน้าแดง ผิวหนังร้อน เท้าอุ่น มีไข้ต่ำๆถึงไข้สูงและถ้ามีภาวะเป็นกรดร่วมด้วย อาจพบหายใจหอบเร็ว ลึก (Kusssmual respiration) อาจซึม หรือไม่รู้สึกตัวก็ได้
ช่องท้อง
มีไขมันพอกบริเวณหน้าท้อง หน้าอก คอและหน้า อาจคลำพบตับโต ขอบเรียบ กดไม่เจ็ฐ เมื่อได้รับการรักษาที่ดีตับจะเล็กลงมีอาการทางลำไส้ ท้องผูกหรือท้องเดินในเวลากลางคืน
กล้ามเนื้อและระบบประสาท
ปวด ชา ปลายมือปลายเท้า มึนงง เวียนศีรษะ กล้ามเนื้อลีบและอาจตรวจพบเชื้อราตามข้อพับ แขนขาไม่มีปฏิกิริยาสะท้อน(Reflex)ตามข้อเข้าและข้อเท้า
ระบบขับถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ความรู้สึกทางเพศลดลงหรือไม่มีถ้าตั้งครรภ์ครบกำหนดบุตรมีน้ำหนักมากกว่าปกติ
ปัจจัยเสี่ยง
มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือมีลูกที่น้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4000 กรัม
มีอายุตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไป
กิจวัตรประจำวันไม่มีกิจกรรมการทำงานที่ต้องใช้แรงงานหรือเคลื่อนไหวร่างกายที่เหมาะสม
มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
มีภาวะดื้ออินซูลิน
ภาวะ Metabolic syndrome
HDLต่ำ
ความดันโลหิตสูง
ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
น้ำหนักตัวมาตรฐานหรืออ้วน
มีความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg
พยาธิสภาพและกลไก
อินสุรินทร์จะมีหน่วยที่ควบคุมอัตราการเผาผ่านคาร์โบไฮเดรตไขมันและโปรตีนการพ่องอินสุรินทร์พบสาเหตุใหญ่ใหญ่อย่างน้อย 4 ปัจจัย ได้แก่
กรรมพันธุ์
กระบวนการเผาผลาญ
ภาวะติดเชื้อ
ปัจจัยทางภาวะภูมิต้านทาน
เป็นผลให้ไอสเลทบีต้าเซลล์ถูกลำลาย หรือสร้างอินซูลินไม่ได้
ทำให้กูโคตในกระแสเลือดผ่านเข้าสู่เซลล์ได้ช้าในขณะเดียวกันจะมีการสร้างกลูโคส จากไกลโคเจนที่ตับและมีการดูดซึมเพิ่มจากอาหารที่รับประทานเข้าไป
จึงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(hypoglycemia)
ระดับกูโคตที่สูงขึ้นวันนี้ถ้าเกิดกว่าที่ความสามารถของใจจะดูดซึมกลับ(Renal threshold) ก็จะถูกขับออกพร้อมกับน้ำมากับปัสสาวะจึงตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ(Glucosuria)น้ำตาลที่เข้มข้นสูงจะพาเอาน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก
โรคเบาหวานเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในการเผาผลาญสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตไขมันและโปรตีนเนื่องจากไม่สามารถควบคุมการใช้กับการสร้างอินซูลินในร่างกาย
ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อย (Polyuria)พร้อมกับสูญเสียเหล่อแร่บางชนิดโดยเฉพาะโซเดียมร่างกายจึงค่าทางอาหารน้ำและเกลือแร่จึงมีจึงมีอาการ หิวบ่อย กินจุ กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อยและน้ำหนักลดผอมลง บางรายอ่อนเพลียอาการมากน้อยแล้วแต่การสูญเสียน้ำตาลน้ำและเกลือแร่ไปเป็นแบบเรื้อรัง
สาเหตุ
การตั้งครรภ์
เนื่องจากขณะตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนจากรกซึ่งมีผลต่อต้านการทำงานของอินซูลิน
พฤติกรรม
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
การไม่รับประทานผักและผลไม้
การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายซึ่งมีส่วนประกอบของแป้งง น้ำ ตาล และไขมันทรานส์
การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
การไม่ออกกําลังกายในชวีติประจําวัน
พฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา
ความผิดปกติของตับอ่อน
เนื่องจากตับอ่อนจะทําหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน ดังนั้น หากตับอ่อนมีการเสื่อมสภาพหรือเกิดความผิดปกติก็ย่อ มส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ด้วย
ผู้สูงอายุ
เมื่ออายุมากขึ้น ตับอ่อนจะเสื่อมการทํางานทําให้การสังเคราะห์และการหลั่งอินซูลินลดลง
โรคอ้วน
ผู้ที่มีน้ำหนักมาก ไขมันส่วนเกินจะสร้างสารที่ทําให้กรตอบสนองของเนื้อเยื่อ ร่างกายต่ออินซูลินไม่ดีหรือนัยหนึ่งเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินขึ้น
Genetic(พันธุกรรม)
เบาหวานมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ส่วนหนึ่ง แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง อาทิเช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวานก็ไม่จําเป็นต้องป่วยเป็นโรคเบาหวานทุกราย ทั้งนี้ขึ้ึนกับการควบคุมดูแลปัจจัยเสียงอย่างอื่น
อาการและอาการแสดง
หิวบ่อย กิจุ
น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
เนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ทำให้ร่างกายเหมือนอยู่ในสภาวะขาดอาหารและเริ่มดึงโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานแทน นอกจากนี้การที่ไตทำงานอย่างหนักยังส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่มากเกินไป
ปัสสาวะบ่อยขึ้น
การขยับปัสสาวะบ่อยเกิดจากกลไกการทำงานของไตที่พยายามจะกรองแยกสารอาหารที่มีประโยชน์(น้ำตาล)กลับคืนสู่ร่างกายและคัดกรองของเสียออกจากเลือดแล้วขับออกทางร่างกายไปโดยส่งไปพร้อมกับปัสสาวะจึงเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเบาหวานจ้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
การกระหายน้ำบ่อยขึ้น
เพราะร่างกายต้องการน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่เสียไปจากการขับปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะรู้สึกคอแห้งและกระหายน้ำมากกว่าปกติที่เคย ไม่ว่าช่วงนั้นจะมีอากาศร้อนหรืออากาศเย็นก็ตามนอกจากอาการกระหายน้ำแล้วยังสามารถดื่มน้ำได้มากในแต่ล่ะครั้งที่ดื่มอีกด้วย
ตาพร่ามัว
เนื่องจากระดับน้ำตาลในร่างกายมากกว่าปกติเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายขับน้ำตาออกทางเลนส์ตาเมื่อรับน้ำที่ผ่านเข้าเลนส์ตาก็จะทำการซับน้ำตาไว้ให้ได้มากที่สุดจึงเกิดการทำงานที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการตาพร่ามัว มองภาพไม่ชัด หรือถ้าเป็นมากจะเห็นน้ำไหลออกมาจากดวงตาแต่ไม่ใช้น้ำตา น้ำที่ไหลออกมาจะมีลักษณะเหนียวข้น
ผิวหนังมีปัญหา
เช่น คัน ทำให้เกิดการติดเชื้อ แผลหายช้า
อ่อนเพลีย
คลื่นไส้อาเจียน
การรักษา
1.การประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วย ผู้ป่ยที่มีการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี และคงที่แนะนำให้ทำการตรวจวัดระดับ HbA1c อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง แต่ในรายที่ควบคุมได้ไม่คงที่แนะนำให้มีการตรวจอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
2.การปรับปรุงเปลี่ยนโภชนาการเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับ Hba1c ระดับไขมัน LDL HDL Triglyceride ความดันโลหิตและน้ำหนักตัว
3.การออกกำลังกายช่วยให้ผู้ป่วยควาบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ลดปัจจัยเสียงในการเกิดโรคหัวใจเเละหลอดเลือด ลดน้ำหนัก ควรจะมีการปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
4.การใช้ยารักษาโรคเบาหวาน
4.1.ยาฉีดอินซูลิน
-ชนิดออกฤทธิ์เร็ว (Rapid acting insulin analog) เริ่มออกฤทธิ์ 5-15 นาที ออกฤทธิ์สูงสุด 2-3 ชั่วโมง ออกฤทธิ์นาน 3-4 ชั่วโมง Lispro
-อินซูลินออกฤทธิ์สั้น (short acting human insulin) เริ่มออกฤทธิ์ 30-45 นาที ออกฤทธิ์สูงสุด 2-3 ชั่วโมง ออกฤทธิ์นาน 4-8 ชั่วโมง Regular insulin
-อินซูลินออกฤทธิ์นานปานกลาง (intermediate acting human insulin)เริ่มออกฤทธิ์ 2-4 ชั่วโมง ออกฤทธิ์สูงสุด 4-8 ชั่วโมง ออกฤทธิ์นาน 10-16 ชั่วโมง Humulin Insulatard monotrad
-อินซูลินออกฤทธิ์ยาว (long acting human insulin)เริ่มออกฤทธิ์ 2 ชั่วโมง ออกฤทธิ์นาน 18-24 ชั่วโมง Lantus Levemir
-อินซูลินผสมสำเร็จรูป (Pre-mixed 30%RI +70%NPH:mixtard 30HM) ออกฤทธิ์ 30-60 นาที ออกฤทธิ์สูงสุด 2-8 ชั่วมง ออกฤทธิ์นาน 12-20 ชั่วโมง Humulin 70/30 Mixtard30 Humalog mix 25 Novomix 30
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
อาการ
รู้สึกหิว
รู้สึกร้อน เหงื่อออก
รู้สึกกังวล
มือสั่น
กระสับกระส่าย
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
ความดันโลหิต systolic สูง
ชารอบปากหรือส่วนอื่นๆ
วิธีแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
รักษาด้วยตนเองในเบื้องต้นเช่น อมลูกอม ดื่มน้ำผลไม้ น้ำหวาน กลูโคสแบบเม็ด กลูโคสแบบเจล เป็นต้น หลังจากนั้น15นาที ให้ตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อระบน้ำตาลกลับมาสู่ภาวะปกติควรรับประทานอาหารเพื่อช่วยคงระดับน้ำตาลในเลือดต่อไป
กรณีผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและไม่สามารถรับประทานอาหารและน้ำตาลได้จำเป็นต้องฉีดกลูคากอนหรือหากไม่มีกลูคากอนแบบฉีดให้รีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้รับกลูโคสผ่านทางหลอดเลือดดำ
ภาวะน้ำตาลในเลือสูง
อาการ
มองเห็นไม่ชัด
ปัสสาวะบ่อย
กระหายน้ำมาก
ปวดศีรษะ
เหนื่อยง่าย
วิธีแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและดื่มน้ำให้มากขึ้น เช่นลดอาหารประเภทคาโบไฮเดรตและดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
ออกกำลังกายเป็นประจำ
ภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง
สูญเสียเท้าจากบาดแผล ซึ่งเป็นผลจากเบาหวาน
เบาหวานขึ้นจอประสาทตา
เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคไตจากเบาหวาน