Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต - Coggle Diagram
การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต
รูปแบบบริการการดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้าย
1. การดูแลผู้ป่วยใน (In-Patient Unit)
เป็นการบรรเทาอาการเจ็บป่วยมากกว่าการรักษาพยาบาล และบริการนี้จะให้การดูแลในระยะสั้นๆ
2. การดูแลที่บ้าน/การดูแลโดยชุมชน (Home-based/Community-based Care)
เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การดูแลอย่างมีคุณภาพและเหมาะสม
3. รูปแบบสถานพยาบาลกึ่งบ้าน (Hospice Care)
เป็นสถานที่ให้บริบาลผู้ที่เจ็บป่วยอยู่ในระยะท้าย ผู้มีชีวิตอยู่ได้ในเวลาจำกัด เป็นที่สำหรับส่งต่อเพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพและอาสาสมัคร
4. การควบคุมอาการเจ็บป่วยด้วยทีมสุขภาพ (Symptom Control Team)
ควบคุมโดยทีมแพทย์ทั้งภายในโรงพยาบาลและภายในชุมชน
5. บริการให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ครอบครัวของผู้ป่วยสูงอายุ
นักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยาจะเป็นผู้ทำหน้าที่นี้
6. การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
จุดเน้นในการดูแล คือ ผู้ป่วยและครอบครัวที่ถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของการดูแล
เป็นการดูแลแบบองค์รวม ที่เน้นการบรรเทาความทุกข์ทรมานในทุกด้าน
มีความต่อเนื่องในการดูแล
เป็นการดูแลแบบเป็นทีม
เน้นส่งเสริมระบบสนับสนุนการดูแล
เป้าหมายในการดูแลเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
7. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of life care)
เป็นบุคคลที่ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ
ระยะเวลาประมาณ 6 เดือนก่อนเสียชีวิต จะดูแลแบบองค์รวม โดยเน้นที่การดูแลรักษาอาการที่ทำให้ทุกข์ทรมาน ทั้งอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือผู้ที่หมดหวัง
เป็นโรคที่ไม่สามารถจะรักษาให้หายได้ ไม่มีโอกาสที่จะใช้เวลาที่เหลือในชีวิตของตนให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นได้อีก
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือผู้ป่วยใกล้ตาย
หมายถึง ผู้ป่วยที่หมดหวังจะหายจากโรค
8. การดูแลผู้ป่วยช่วงใกล้เสียชีวิต (Terminal care)
ประมาณ 1 สัปดาห์สุดท้าย
ความแตกต่างของ Hospice care กับ Palliative care
Hospice care
การดูแลโรครักษาไม่ได้ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายที่สุดเท่าที่จะทำได้
เน้นการรักษาคุณภาพชีวิตเป็นหลัก
พยากรณ์โรคแล้วน่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน
Palliative care
นั้นจะเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยมีภาวะหรือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตเหลืออยู่อีกนานเท่าไร
การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ
ระยะสุดท้ายใกล้ตาย
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ
ระยะสุดท้ายใกล้ตาย
บรรเทาอาการทุกข์ทรมาน
สนองความต้องการในด้านต่างๆ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้ตายอย่างสมศักดิ์ศรี
ประคับประคองให้ครอบครัวของผู้ป่วยสามารถปรับตัวรับสถานการณ์ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายใกล้ตาย
บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายใกล้ตาย 9 ประการ หรือ 9C
ความสามารถ (Competence)
ความเข้าใจ ความเห็นใจ (Concern)
ความรู้สึกสบาย (Comfort)
การติดต่อสื่อสาร (Communication)
การเยี่ยมของบุตรหลาน (Children)
ความสัมพันธ์ในครอบครัว (Cohesion)
ความร่าเริงแจ่มใส (Cheerfulness)
ความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง (Consistency)
การมีจิตใจที่สงบ (Calmness of mind, Equanimity)
การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะใกล้ตาย
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบหายใจ
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
ระบบทางเดินอาหาร
ระบบการทำงานของไต
ระบบประสาท
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
มีความเครียด ความกังวล
ในด้านบวก
จะมองว่าชีวิตมีค่าจะทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคงทางด้านจิตใจ
ในทางลบ
มองว่าชีวิตนี้ไม่มีความหมาย รู้สึกสิ้นหวัง ทำให้รู้สึกไม่มั่นคงทางด้านจิตใจ สิ่งที่ผู้ป่วยใกล้ตายกลัวมากคือ การอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย
ปฏิกิริยาด้านอารมณ์ ตามแนวคิดของ คูเบอร์ รอส (Kubler Ross)
ระยะปฏิเสธ
ระยะโกรธ
ระยะต่อรอง
ระยะซึมเศร้า
ระยะยอมรับ
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้บุคคลที่อยู่ในภาวะใกล้ตาย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนๆ หรือบุคคลในครอบครัว
ไม่พูดถึงเรื่องความตาย เพราะจะทำให้ไม่สบายใจ
มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งอื่นๆ ลดน้อยลง
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตวิญญาณ
มีความรู้สึกวิตกกังวล กลัวความไม่แน่นอนในเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต สงสารหรือโทษตนเอง
หาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
มีความเชื่อทางศาสนาและชีวิตหลังความตาย
ความต้องการด้านจิตวิญญาณ
ความต้องการความรักและความสัมพันธ์
ความต้องการค้นหาความหมายของชีวิตและความเจ็บป่วย
ต้องการขออโหสิกรรมหรือการให้อภัย
ต้องการการปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา
ต้องการมีความหวัง
การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายใกล้ตาย
การพยาบาลด้านร่างกาย
1. ปัญหาสุขภาพช่องปาก
การประเมินช่องปาก/ แผลในปาก/ เยื่อบุอักเสบ /ดูดเสมหะที่เหนียวข้น/ แปลงฟัน /ป้องกันภาวะปากแห้ง
5. ภาวะขาดน้ำ (dehydration)
ในกรณีที่ผู้ป่วยปฏิเสธอาหารอาจดูแลโดยการให้สารน้ำ
2. อาการอ่อนล้า (Fatigue)
หาปัจจัยที่ทำให้เหนื่อยล้า/ รักษาสมดุลการพักผ่อนอย่างเพียงพอ /นวดผ่อนคลาย
3. เบื่ออาหาร
รับประทานอาหารน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง /ปรับเปลี่ยนนรูปแบบหรือรสชาติของอาหาร /จัดสภาพแวดล้อม /ให้ยาตามสภาพ
4. คลื่นไส้ อาเจียน (Nausea and vomiting)
ประเมินอาการและสาเหตุของการเกิด/ปรับเปลี่ยนประเภทอาหาร/หลีกเลี่ยงอาหารมัน ของทอด อาหารหวานจัด/จัดท่าให้นั่งหรือนอนศีรษะสูงหลังรับประทานอาหาร
6. การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary incontinence)
ฝึกการขับถ่ายปัสสาวะให้เป็นเวลา/ทำความสะอาดและซับให้แห้ง/ บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยการฝึก Kegel exercise
7. การดูแลแผลกดทับ
ประเมินสีผิว อุณหภูมิ ความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของผิวหนัง/ดูแลผิวหนังให้แห้ง ไม่เปียกชื้น /ใช้โลชั่นหรือครีมทาผิว/เปลี่ยนท่าเองบ่อยๆ
9. ความปวด
ให้ยาระงับความปวด
10. อาการท้องผูก
11. การดูแลความสะอาดจมูกและตา
การพยาบาลด้านจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
การประเมินความต้องการและปัญหาของผู้ป่วย
2.ให้ข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ทุกคน
การติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายใกล้ตาย
เทคนิคการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายใกล้ตาย
ควรมีความจริงใจ
ใช้เทคนิคความเงียบ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกหรือความคับข้องใจ
คำนึงถึงความหวังของผู้ป่วย
รักษาความลับ เคารพและปกป้องสิทธิของผู้ป่วย
จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นสัดส่วน สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อความสงบ
ควรให้ผู้ป่วยตระหนักในคุณค่าชีวิตและศักดิ์ศรีของตนเอง
ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
ช่วยให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
กล่าวคำอำลา ในผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายใกล้ตาย
บทบาทพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายใกล้ตายตามความเชื่อทางศาสนา
ศาสนาพุทธ
มีประเพณี “การบอกหนทาง” ญาติจะบอกให้ระลึกถึงกรรมดี หรือนึก พุท-โธ ไปเรื่อยๆ จนสิ้นลม
ศาสนาคริสต์
บาทหลวงหรือญาติจะอ่านคัมภีร์ สวดมนต์ อภัยบาปในนามพระเจ้า และเจิมศีลสุดท้ายเพื่อส่งวิญญาณ
ศาสนาอิสลาม
ให้บุคคลที่ผู้ป่วยรักและไว้ใจมากที่สุด เตือนให้ผู้ป่วยสำนึกผิดและให้กล่าว “ลาอิลา ฮะอิลอัลลอฮ์” ไปเรื่อยๆ จนสิ้นลม
บทบาทหน้าที่ของผู้ดูแลผู้สูงอายุในระยะสุดท้าย
1. บุคลากรทางด้านการแพทย์
มีหน้าที่ ให้การรักษาระยะการเจ็บปวด/ให้การดูแลผู้สูงอายุ/ทำให้ผู้สูงอายุได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีคุณภาพมากที่สุด
2. นักสังคมสงเคราะห์และนักอาชีวบำบัด
ผู้สนับสนุนและช่วยให้มีสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว
3. จิตแพทย์และนักจิตวิทยา
ให้คำแนะนำ คำปรึกษาปัญหาด้านจิตใจ/พูดคุยปลอบใจให้ผู้สูงอายุที่ใกล้สิ้นชีวิต
4. บุคลากรด้านกฎหมาย
ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ทรัพย์สินและพินัยกรรม
5. ผู้สนับสนุนด้านการเงิน
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการเงินกรณีครอบครัวของผู้สูงอายุเกิดการขาดแคลนเงิน
ให้เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลและค่าพิธีการศพ
ประสานงานหรือเป็นผู้แทนติดต่อสมาคมฌาปนกิจที่ผู้สูงอายุ
6. บุคลากรทางด้านศาสนา
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านจิตใจและจิตวิญญาณ/ให้คำปรึกษาแนะนำด้านพิธีการศพ
7. สมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุ
ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในทุกๆ ด้าน ให้กำลังใจ
บุคลากรอื่นๆ ที่จำเป็น (เพื่อน/เครือญาติ) มีหน้าที่ ให้การดูแลผู้สูงอายุ/ช่วยเหลือเรื่องทรัพยากรอื่นๆ/ร่วมพิธีทางศาสนา และการจัดงานศพ
ความต้องการของญาติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ความต้องการด้านข้อมูล
ความต้องการด้านการดูแลผู้ป่วย
ความต้องการเข้าถึงบุคลากรสุขภาพได้ง่าย
ความต้องการด้านการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
ความต้องการสนับสนุนทางอารมณ์
ความต้องการด้านอื่นๆ
บทบาทของพยาบาลในการดูแลประคับประคองจิตใจญาติผู้ป่วย
ประชุมปรึกษาหารือกับแพทย์
อธิบายให้ญาติและครอบครัวผู้ป่วยได้รับรู้ข้อมูล
เปิดโอกาสให้ซักถาม
ประเมินสภาพจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วย
เปิดโอกาสให้ญาติได้มีส่วนร่วมในการประเมินอาการผู้ป่วย
อนุญาตให้ครอบครัวได้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยตามความต้องการ
ควรปล่อยให้ญาติได้อยู่กับผู้ป่วยด้วยความเงียบสงบ
แนะนำการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือญาติได้เลือกสถานที่ที่ต้องการอยู่เมื่อถึงเวลาสุดท้ายของชีวิต
อนุญาตให้ญาติแสดงความรู้สึกเศร้าโศก เสียใจ แสดงความรัก พยาบาลควรปลอบโยนแสดงความเข้าใจ เพื่อให้ญาติผู้ป่วยยอมรับ
แสดงความเห็นอกเห็นใจ
ภายหลังผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว พยาบาลควรสร้างการมีส่วนร่วมกับญาติในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างสมเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยสูงอายุเสียชีวิต
บันทึกสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง แจ้งให้ผู้ป่วยและญาติทราบทุกครั้ง
ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวลตามแผนการพยาบาล
แพทย์ พยาบาล และญาติผู้ป่วยร่วมปรึกษาหารือกัน และให้ญาติเป็นผู้ตัดสินใจในการให้แพทย์ช่วยฟื้นคืนชีพหรือไม่
จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยได้อยู่กับญาติตามลำนพัง และกั้นม่าน
5.ญาติจะบอกทางแก่ผู้ป่วย ตามความเชื่อทางศาสนา
เมื่อผู้ป่วยจากไปพยาบาลกล่าวแสดงความเสียใจกับญาติผู้ป่วย และให้เวลากับญาติในการแสดงความอาลัยกับผู้ป่วยประมาณ 15–30 นาที หรือเมื่อพร้อม
พยาบาลควรกระทำด้วยความนุ่มนวล สมศักดิ์ศรี
ดูแลจัดสภาพผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดีก่อนที่จะให้ญาติเข้าเยี่ยม
อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนตาย ควรถอดออกจากผู้ป่วย
จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สุขสบายคล้ายผู้ที่กำลังนอนหลับ
ทำความสะอาดร่างกาย
หลังดูแลผู้ป่วยเรียบร้อยแล้ว ให้ญาติเยี่ยมโดยจัดให้เป็นส่วนตัว และให้เวลาแก่ญาติเพื่อบอกลาผู้ป่วย
เขียนใบมรณะบัตร พร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนต่างๆ ตามกฎหมาย แนะนำญาติเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการในการรับศพออกจากโรงพยาบาล การแจ้งตาย (ซึ่งต้องแจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย