Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ใบความรู้ที่ 2 การแสวงหาข้อมูลและความรู้, GE362785 SEC31 …
ใบความรู้ที่ 2
การแสวงหาข้อมูลและความรู้
การแสวงหาข้อมูลและความรู้
วิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์
การสอบถามจากผู้รู้ คือ ต้องมั่นใจว่าผู้รู้นั้นเป็นผู้รู้ในเรื่องที่จะสอบถามอย่างแท้จริง
การศึกษาจากขนบธรรมเนียมประเพณี คือ แสวงหาความรู้โดยศึกษาจากขนบธรรมเนียมประเพณีหรือวัฒนธรรมต่างๆ
การใช้ประสบการณ์ คือ เป็นวิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยใช้ประสบการณ์ตรงของตนเอง
วิธีการอนุมาน คือ แสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการอนุมานเป็นกระบวนการคิด ค้นจากเรื่องทั่วไป ไปสู่เรื่องเฉพาะเจาะจง
วิธีการอุปมาน คือ จะเริ่มจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือ เป็นวิธีการแสวงหาความรู้โดยใช้หลักการของวิธีการอุปมานและวิธีการอนุมานมาผสมผสานกัน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการแสวงหาข้อมูลความรู้
การตั้งคำถามเพื่อการแสวงหาข้อมูล คือ การตั้งคำถามและการแสวงหาข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน
แหล่งข้อมูลความรู้ คือ ต้องมีแหล่งข้อมูล ผู้หาข้อมูลจะต้องพิจารณาว่าควรหาจากแหล่งข้อมูลใด และต้องเชื่อถือได้
การวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อสร้างความรู้
ความรู้
ความหมายของความรู้
ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถ
ความรู้ เป็นสิ่งที่รวมทั้งความสามารถเชิงปฎิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ จากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฎิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา
ประเภทของความรู้
ความรู้ที่ฝั่งอยู่ในสมอง หรือ ความรู้ในตัวตน คือความรู้ที่เป็นทักษะ ประสบการณ์ ความคิดริเริ่ม เรียกว่า ความรู้แบบนามธรรม
ความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือ ความรู้นอกตัวตน คือความรู้ที่สามารถรวบรวมถ่ายทอดโดยวิธีต่างๆ เรียกว่า ความรู้แบบรูปธรรม
การคิดวิเคราะห์
ความหมายของการคิดวิเคราะห์
เป็นความสามารถในการแยกแยะเพื่อหาส่วนย่อยของเหตุการณ์ เรื่องราวหรือเนื้อหาต่างๆ
การคิดอย่างใคร่ครวญ ไตร่ตรอง เป็นการคิดที่เริ่มต้นจากสถานการณ์ที่มีความยุ่งยากและสิ้นสุดลงด้วยความชัดเจน
การแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยการระบุ จำแนก แยกแยะ เป็นการจัดข้อมูลให้เป็นระบบเพื่อไปใช้เป็นพื้นฐานในการคิดระดับอื่นๆ
เป็นความสามารถในการจำแนกแจกแจงและแยกแยะองค์ประกอบต่างๆและหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบนั้น เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น
เป็นการระบุเรื่องหรือปัญหา จำแนกแยกแยะ เปรียบเทียบข้อมูลเพื่อจัดกลุ่มอย่างเป็นระบบ
ลักษณะของการคิดวิเคราห์
ทักษะในการจัดระบบข้อมูล ความเชื่อถือได้ของข้อมูล และการใช้ทักษะเหล่านั้นอย่างมีปัญญา
การจัดกิจกรรมต่างๆที่ประกอบเป็นการคิดวิเคราะห์ แตกต่างไปตามทฤษฎีการเรียนรู้
องค์ประกอบของการคิดวิเคราะห์
การตีความ ความเข้าใจ และให้เหตุผลแก่สิ่งที่ต้องการคิดวิเคราะห์
การมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์
การช่างสังเกต สงสัย ช่างถาม
การหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
กระบวนการคิดวิเคราะห์
มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการแก้ปัญหาต่างๆ เป็นวิธีการที่ช่วยให้มองเห็นปัญหา ทำความเข้าใจปัญหา รู้จักปัญหาอย่างแท้จริง และสามารถแก้ปัญหาทั้งหลายได้
การสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์
เน้นการคิดเชิงลึกจากเหตุไปสู่ผล เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผล เชิงเงื่อนไข การจัดลำดับความสำคัญ และเชิงเปรียบเทียบ
ศึกษาข้อมูลหรือสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ กำหนดวัตถุประสงค์ แยกแยะแจกแจงรายละเอียดที่ต้องการวิเคราะห์ ตรวจสอบโครงสร้าง นำเสนอการคิดวิเคราะห์ นำผลไปใช้ประโยชน์ตามเป้าหมาย
เปิดโอกาสให้ตั้งคำถาม เป็นคนช่างคิด ช่างถาม ช่างสงสัย แล้วพฤติกรรมวิเคราะห์ก็จะเกิดขึ้น
GE362785 SEC31
นางสาวนันทัชพร มหาวงค์ 623270605-8 เลขที่ 37