Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้สูงอายุระยะสุดท้ายของชีวิต - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้สูงอายุระยะสุดท้ายของชีวิต
รูปแบบบริการการดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้าย
การควบคุมอาการเจ็บป่วยด้วยทีมสุขภาพ (Symptom Control Team)
เป็นทีมที่มีแพทย์เป็นผู้ควบคุมดูแลและรับผิดชอบผู้ป่วยทั้งภายในโรงพยาบาลและภายในชุมชน
บริการให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ครอบครัวของผู้ป่วยสูงอายุ
นักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยาจะเป็น
ผู้ทำหน้าที่นี้
รูปแบบสถานพยาบาลกึ่งบ้าน (Hospice Care)
สถานที่พำนักและให้บริบาลผู้ที่เจ็บป่วยอยู่ในระยะท้าย ผู้มีชีวิตอยู่
ได้ในเวลาจำกัดอาจเป็นสถานที่ที่จัดขึ้นไว้โดยเฉพาะ
การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
การดูแลที่บ้าน/การดูแลโดยชุมชน (Home-based/Community-based Care)
การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นบริการที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนและสอดคล้องกับวิถีชุมชน เพื่อให้การดูแลอย่างมีคุณภาพและเหมาะสม ผ่านการช่วยเหลือสนับสนุนผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเอง
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of life care)
เป็นการดูแลผู้ป่วยที่รู้ว่ามีระยะเวลาเหลือจำกัด ส่วนใหญ่จะนับ
ระยะเวลาประมาณ 6 เดือนก่อนเสียชีวิต
การดูแลผู้ป่วยใน (In-Patient Unit)
การดูแลตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายภายใน
โรงพยาบาล เป็นการบรรเทาอาการเจ็บป่วยมากกว่าการรักษาพยาบาล
และบริการนี้จะให้การดูแลในระยะสั้นๆ เพราะผู้ป่วยสูงอายุส่วนใหญ่มีชีวิตอีกไม่นาน
การดูแลผู้ป่วยช่วงใกล้เสียชีวิต (Terminal care)
เป็นการดูแลผู้ป่วยช่วงใกล้เสียชีวิต คือประมาณ 1 สัปดาห์สุดท้ายหรือ
เรียกช่วงนี้ว่าระยะใกล้ตาย (Dying)
ความแตกต่างของ Hospice care กับ Palliative care
Hospice care คือการให้การดูแลประคับประคองอาการในช่วงสุดท้ายของโรคซึ่งรักษาไม่ได้ เพื่อให้สุขสบายเท่าที่จะทำได้ จะมุ่งเน้นการรักษาคุณภาพชีวิตเป็นหลัก ซึ่งไม่เร่งรัดหรือยืดความตายอออกไป จะทำในผู้ป่วยที่พยากรณ์โรคแล้วน่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน
Palliative care เหมือนกับ Hospice care ระยะเวลาในช่วงชีวิตที่เหลือ จะเริ่มนับตั้งแต่ผู้ป่วยมีภาวะหรือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตเหลืออยู่อีกนานเท่าไร องค์ประกอบที่สำคัญของ Palliative care ได้แก่
การควบคุมอาการไม่สุขสบาย (Symptom control)
การรักษาโรค (Disease management)
การดูแลด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณ (Psychological and spiritual care)
ความหมายของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือผู้ที่หมดหวัง แพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่ไม่สามารถจะรักษาให้หายได้ และไม่มีโอกาสที่จะใช้เวลาที่เหลือในชีวิตของตน
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือผู้ป่วยใกล้ตาย ผู้ป่วยที่หมดหวังจะหายจากโรค เป็นความเจ็บป่วยที่ไม่สามารถหายได้ด้วยวิธีการใดๆ อาการจะทรุดลงเรื่อยๆและเสียชีวิตในที่สุด
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่ได้รับการวินิจฉัยการเจ็บป่วยถึงขั้นสูญเสียชีวิตภายใต้การรักษาด้วยยา การดูแลอย่างใกล้ชิด และพยากรณ์โรคว่าสามารถมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน หรือน้อยกว่า
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของ WHO เน้น 6 ด้าน
1.จุดเน้นในการดูแล คือผู้ป่วยและครอบครัวที่ถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของการดูแล 2.เป็นการดูแลแบบองค์รวม ที่เน้นการบรรเทาควาทุกข์ทรมานในทุกด้าน 3.มีความต่อเนื่องในการดูแล 4.เป็นการดูแลแบบเป็นทีม 5.เน้นส่งเสริมระบบสนับสนุนการดูแล 6.เป้าหมายในการดูแลเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่ วยและครอบครัว
วัตถุประสงค์ของการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายใกล้ตาย
บรรเทาอาการทุกข์ทรมาน ช่วยให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขมากที่สุด
สนองความต้องการในด้านต่างๆของผู้ป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้ตายอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ประคับประคองให้ครอบครัวของผู้ป่วยสามารถปรับตัวรับสถานการณ์ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายใกล้ตาย และในขณะผู้ป่วยเสียชีวิต
บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายใกล้ตาย 9 ประการ หรือ 9C
ความสามารถ (Competence)
ความเข้าใจ ความเห็นใจ (Concern)
ความรู้สึกสบาย (Comfort)
การติดต่อสื่อสาร (Communication)
การเยี่ยมของบุตรหลาน (Children)
ความสัมพันธ์ในครอบครัว (Cohesion)
ความร่าเริงแจ่มใส (Cheerfulness)
ความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง (Consistency)
การมีจิตใจที่สงบ (Calmness of mind, Equanimity)
การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายใกล้ตาย
ด้านร่างกาย
การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สอนผู้ป่วยและครอบครัวให้มีความรู้ถึงความผิดปกติ การดูแลความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
การดูแลแผลกดทับ ประเมินและขจัดสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังถูกทำลาย ดูแลผิวหนังให้แห้ง ไม่เปียกชื้น ทำความสะอาดร่างกาย หลีกเลี่ยงสบู่ที่ทำให้เกิดการระคายเคือง ใช้โลชั่นเพื่อป้องกันผิวแห้งแตก หลีกเลี่ยงการนวดปุ่มกระดูก ที่นอนต้องสะอาด ระวังการสัมผัสร้อน วัสดุแข็งๆ ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ควรลาก แนะนำให้เปลี่ยนท่าเองบ่อยๆทุก 2 ชั่วโมง ดูแลภาวะโภชนาการและสารน้ำ ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ญาติ
ภาวะขาดน้ำ หากไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เองหรือความอยากอาหารลดลงพิจารณาใส่สายยางให้อาหาร หากทุกข์ทรมานจากการขาดน้ำ อาจให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
ภาวะหายใจลำบาก การจัดท่านอนศีรษะสูงและนอนตะแคง จัดสภาพแวดล้อมในห้องงให้มีการระบายอากาศที่ดี ดูแลดูดเสมหะให้เมื่อจำเป็น ดูแลให้ออกซิเจนเมื่อมีภาวะขาดออกซิเจน ดุแลความสะอาดช่องปาก ดูแลให้ยาลดสารคัดหลั่ง ให้การดูแลแบบผสมผสาน อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจสาเหตุที่เกิดขึ้น
คลื่นไส้ อาเจียน ประเมินอาการและสาเหตุของการเกิด การปรับเปลี่ยนประเภทอาหาร หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนและหลังอาหาร จัดท่านั่งหรือนอนศีรษะสูง จัดสภาพแวดล้อม ดูแลให้ได้รับยาเพื่อบรรเทาตามแผนการรักษา
ความปวด ต้องคำนึงว่าจะลดความปวดโดยผู้ป่วยมีผลไม่พึงประสงค์หรือภาวะแทรกซ้อนจากวิธีต่างๆน้อยที่สุด การให้ยาระงับปวด วิธีการทางจิตบำบัด การดูแลด้านจิตใจ
เบื่ออาหาร รับประทานอาหารน้อยๆแต่บ่อยครั้ง ปรับเปลี่ยนรสชาติอาหาร ชนิดรูปแบบตามความพอใจผู้ป่วย จัดสภาพแวดล้อม ไม่ควรทำการตรวจขณะกำลังรับประทานอาหาร การให้ยารักษาตามสาเหตุที่สามารถแก้ไขได้ก่อน
อาการท้องผูก กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย หากไม่ถ่ายอุจจาระ ควรสวนหรือควักอุจจาระให้อย่างสม่ำเสมอ
อาการอ่อนล้า ค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และการรักษาที่ได้รับ รักษาสมดุลการทำกิจกรรมและการพักผ่อนอย่างเพียงพอ การนวด การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฝึกสมาธิ
การดูแลความสะอาดจมูกและตา
ปัญหาสุขภาพช่องปาก การประเมินสุขภาพช่องปาก ติดตามประเมินความผิดปกติ ทำความสะอาดปากฟันบ่อยๆ ป้องกันภาวะปากแห้ง ลดอาการปวด
ด้านจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
การประเมินความต้องการและปัญหาของผู้ป่วย โดยการพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อค้นปัญหาให้ผู้ป่วยและญาติได้ระบายความรู้สึกต่างๆ
ให้ข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ทุกคน
จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นสัดส่วน สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อความสงบ
การติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายใกล้ตาย
ควรให้ผู้ป่วยตระหนักในคุณค่าชีวิตและศักดิ์ศรีของตนเอง
ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
ช่วยให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
กล่าวคำอำลา โดยชื่นชมและขอบคุณความดีที่มีต่อเขา พร้อมทั้งขอขมาในกรรมใดๆที่ล่วงเกิน ควรจัดให้ได้พูดคุยกับบุคคลที่มีความหมาย เพื่อกล่าวคำขอโทษอโหสิกรรม ได้กล่าวคำลาต่อกัน
ผู้ป่วยบางรายต้องการวางแผนชีวิตบั้นปลายเกี่ยวกับธุรกิจส่วนตัว ควรช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาของผู้ป่วยและญาติ
บทบาทหน้าที่ของผู้ดูแลผู้สูงอายุในระยะสุดท้าย
บุคลากรด้านกฎหมาย มีบทบาทและหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ทรัพย์สินและพินัยกรรม
ผู้สนับสนุนด้านการเงิน ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการเงินกรณีครอบครัวของผู้สูงอายุเกิดการขาดแคลนเงิน ให้เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลและค่าพิธีการศพ ประสานงานหรือเป็นผู้แทนติดต่อสมาคมฌาปนกิจที่ผู้สูงอายุเป็นสมาชิก เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ให้กับครอบครัว
จิตแพทย์และนักจิตวิทยา ให้คำแนะนำ คำปรึกษาปัญหาด้านจิตใจของผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว ให้การดูแลพูดคุยปลอบใจให้ผู้สูงอายุที่ใกล้สิ้นชีวิตลดความกระวนกระวาย ปรับสภาพจิตใจเข้าสู่ระยะความสงบ
บุคลากรทางด้านศาสนา เป็นผู้ที่มีความสำคัญกับผู้สูงอายุ ครอบครัว และทีมสหวิชาชีพด้านจิตใจ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านจิตใจและ
จิตวิญญาณ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านพิธีการศพ
นักสังคมสงเคราะห์และนักอาชีวบำบัด เป็นผู้สนับสนุนและช่วยให้มีสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาที่จะเป็นปัญหาสังคมต่อไป ทำงานกับครอบครัวผู้สูงอายุในด้านการปลอบใจและให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
สมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุ ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในทุกๆด้านให้กำลังใจ
บุคลากรทางด้านการแพทย์ให้การรักษาระยะการเจ็บปวดและบรรเทาอาการเจ็บปวด ให้การดูแลผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีคุณภาพมากที่สุดด้วยการทำกายภาพ
บุคลากรอื่นๆที่จำเป็น ได้แก่ เพื่อนของผู้สูงอายุ เครือญาติ ให้การดูแลผู้สูงอายุ สนับสนุนด้านกำลังใจและให้คำแนะนำแก่ผู้สูงอายุและครอบครัว ช่วยเหลือกรณีที่ผู้สูงอายุและครอบครัวต้องการทรัพยากรอื่นๆ เท่าที่จะช่วยได้ ร่วมพิธีทางศาสนาและการจัดงานศพ
ความต้องการของญาติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ความต้องการด้านข้อมูล
ความต้องการด้านการดูแลผู้ป่วย
ความต้องการเข้าถึงบุคลากรสุขภาพได้ง่าย
ความต้องการด้านการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
ความต้องการสนับสนุนทางอารมณ์
ความต้องการด้านอื่นๆ ได้แก่ ความต้องการการดูแลสุขภาพของญาติผู้ดูแล ความต้องการการช่วยเหลือด้านการเงินและการจัดการงานบ้าน ความต้องการในการมีเวลาพักชั่วคราวก่อนการกลับมาให้การดูอีกครั้ง
บทบาทของพยาบาลในการดูแลประคับประคองจิตใจญาติผู้ป่วย
-ประชุมปรึกษาหารือกับแพทย์ในการบอกความจริงเกี่ยวกับการพยากรณ์โรคของผู้ป่วย
-อธิบายให้ญาติและครอบครัวผู้ป่วยได้รับรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย
-เปิดโอกาสให้ซักถาม ให้เวลาญาติเพื่อพูดคุย ซักถาม และระบายความสงสัยที่มีต่อการรักษาพยาบาล
ขประเมินสภาพจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วยว่ามีความผิดปกติหรือไม่
-เปิดโอกาสให้ญาติได้มีส่วนร่วมในการประเมินอาการผู้ป่วย และมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยตามความต้องการ
-อนุญาตให้ครอบครัวได้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยตามความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว ตามความเหมาะสม
-ควรปล่อยให้ญาติได้อยู่กับผู้ป่วยด้วยความเงียบสงบ เพื่อบอกลาผู้ป่วย และอำนวยความสะดวกในการจัดบริการทางศาสนา ความเชื่อและบริการด้านสังคม
-แนะนำการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และให้คำปรึกษาในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น
-เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือญาติได้เลือกสถานที่ที่ต้องการอยู่เมื่อถึงเวลาสุดท้ายของชีวิต
-อนุญาตให้ญาติแสดงความรู้สึกเศร้าโศก เสียใจ แสดงความรัก พยาบาลควรปลอบโยนแสดงความเข้าใจ เพื่อให้ญาติผู้ป่วยยอมรับ
-. แสดงความเห็นอกเห็นใจแก่ครอบครัวในกรณีผู้ป่วยถึงแก่กรรม อธิบายการดำเนินของโรค ผลของการรักษาพยาบาล ตลอดจนการแสดงให้เห็นว่าได้ช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้ว
-ภายหลังผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว พยาบาลควรสร้างการมีส่วนร่วมกับญาติใน การปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างสมเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยสูงอายุเสียชีวิต
ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวลตามแผนการพยาบาลและแผนการรักษา
แพทย์ พยาบาล และญาติผู้ป่วยร่วมปรึกษาหารือกัน และให้ญาติเป็นผู้ตัดสินใจในการให้แพทย์ช่วยฟื้นคืนชีพหรือไม
บันทึกสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง แจ้งให้ผู้ป่วยและญาติทราบทุกครั้ง และใช้โอกาสนี้พูดคุยและให้กำลังใจญาติ
จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยได้อยู่กับญาติตามลำพัง
เมื่อความดันโลหิตเริ่มต่ำมาก พยาบาลจะแนะนำให้ญาติผู้ป่วยบอกทางให้ผู้ป่วย ไม่ให้วิตกกังวลเกี่ยวกับลูกๆหรือผู้ที่อยู่ข้างหลัง ตามความเชื่องทางศาสนาของผู้ป่วยและครอบครัว
เมื่อผู้ป่วยจากไปพยาบาลกล่าวแสดงความเสียใจกับญาติผู้ป่วยและให้เวลากับญาติในการแสดงความอาลัยกับผู้ป่วย
พยาบาลควรกระทำด้วยความนุ่มนวล สมศักดิ์ศรี ควรดูแลทันทีก่อนที่เนื้อเยื่อจะถูกทำลายหรือผิดรูป
ดูแลจัดสภาพผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดีก่อนที่จะให้ญาติเข้าเยี่ยม
อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนตาย ควรถอดออกจากผู้ป่วย
จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สุขสบายคล้ายผู้ที่กำลังนอนหลับ ติดป้ายชื่อผู้ป่วยที่ข้อมือ ปิดตาโดยการดึงหนังตาลง ถ้าปากปิดไม่สนิทให้ใช้ผ้าขนหนูม้วนดันไว้ใต้คาง
ทำความสะอาดร่างกาย แต่งตัว แต่งหน้าให้เรียบร้อย ถอดของมีค่าคืนให้ญาติยกเว้นบางอย่างที่ผู้ป่วยขอร้องไว้
หลังดูแลผู้ป่วยเรียบร้อยแล้ว ควรอนุญาตให้ญาติเยี่ยมโดยจัดให้เป็นส่วนตัวและให้เวลาแก่ญาติเพื่อบอกลาผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ญาติได้ประกอบพิธีตามความเชื่อในแต่ละศาสนา
เขียนใบมรณะบัตร พร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนต่างๆ ตามกฎหมาย แนะนำญาติเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการในการรับศพออกจากโรงพยาบาล การแจ้งตาย
วิธีการจัดการวาระสุดท้ายของชีวิต
รูปแบบการจัดการเผชิญความตายหรือการเตรียมตัวก่อนตาย
การเตรียมตัวด้านจิตใจ (Psychological preparation)
-การตระหนักว่าความตายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะ การประเมินความรู้สึกของตนเอง
-การเลือกผู้ให้การดูแลตนเองในภาวะใกล้ตาย
-การพร้อมที่จะรับทราบความจริงจากแพทย์ถ้าตนเองอยู่ในภาวะใกล้ตาย
-การไปเยี่ยมเยียนและปลอบโยนผู้ที่อยู่ในภาวะใกล้ตายและสนทนาถึงปรัชญาและความพร้อมในการเผชิญความตาย
-การพูดคุยกับญาติหรือเพื่อนของผู้ที่อยู่ในภาวะใกล้ตาย
-การเข้าร่วมพิธีศพของผู้อื่นด้วยตระหนักรู้ อยู่เสมอว่าความตายเป็น
ธรรมชาติของชีวิตที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
-การปลอบโยนและให้กำลังใจ
-การใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ด้วยการเสริมสร้างคุณค่าและประโยชน์แก่ผู้อื่น
และการทำในสิ่งที่ตนเองตั้งใจไว้ว่าจะทำ
การเตรียมตัวด้านจิตวิญญาณ (Spiritual preparation)
-การขออโหสิกรรมและการให้อภัย โดยมีสิ่งยึดเหนี่ยวของจิตใจ
-การเดินทางไปยังสถานที่ที่มีความสำคัญต่อตน
-การตั้งความหวังไว้ว่าตนจะพบกับความตายที่ปราศจากความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน
-การปฏิบัติตามความเชื่อความศรัทธาของแต่ละบุคคล
-การเล่าเรื่องราวในอดีตให้คนอื่นฟัง
-การสนทนากับสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับพิธีศพที่ตนเองต้องการ
-การมอบสิ่งของที่เป็นของรักของตนให้ผู้อื่น
-มีการระลึกถึงความหลังและทบทวนชีวิตที่ผ่านมา
การเตรียมตัวด้านร่างกาย (Physical preparation)
-การเลือกวิธีการรักษาทางการแพทย์
-การเลือกสถานที่สำหรับพักรักษาตัวเมื่ออยู่ในภาวะใกล้ตาย
-การเลือกสถานที่ตาย
-การบริจาคอวัยวะของร่างกาย
-การวางแผนเกี่ยวกับการจัดงานศพของตน
การเตรียมตัวด้านสังคม (Social preparation)
-การสนทนาเรื่องสุขภาพของตนและความตายของตนที่ต้องเกิดขึ้นในอนาคตกับสมาชิกในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิดอย่างเปิดเผย
-การปรึกษาหารือกับสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบค่า
รักษาพยาบาลในภาวะใกล้ตาย
-ควรมีการสนับสนุนให้เกิดสัมพันธภาพในสังคมกับบุคคลอื่นและสิ่งอื่น
-มีการเสริมสร้างสัมพันธภาพของตนและครอบครัวหรือบุคคลอันเป็นที่รักให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
-การสนทนากับสมาชิกในครอบครัวเรื่องชีวิตและความหมายของความตาย
-การพบปะสังสรรค์กับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อน
-การจัดการธุรกิจที่คั่งค้างให้เสร็จเรียบร้อยและการมอบหมายงานให้
ผู้อื่นเป็นผู้รับผิดชอบ
-การทำพินัยกรรม การทำประกันชีวิต การจัดการเรื่องการเงิน
-การวางแผนร่วมกับสมาชิกในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิดเรื่องค่าใช้จ่าย
ในงานศพ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวเกี่ยวกับความตาย
-ทัศนคติเกี่ยวกับความตาย
-ค่านิยมเกี่ยวกับความตายในแต่ละวัฒนธรรม
-ความเชื่อทางศาสนาเกี่ยวกับความตายและชีวิตหลังความตาย
-การยึดมั่นศรัทธาในหลักคำสอนทางศาสนา
-เพศ
-อายุ
-สถานภาพสมรส
-ระดับการศึกษา
-ประสบการณ์ในอดีตเกี่ยวกับภาวะใกล้ตายและการตายของสมาชิกใน
ครอบครัวหรือผู้อื่น
-ประสบการณ์ในการดูแลผู้ที่เจ็บป่ วยในวาระสุดท้ายของชีวิต
-ภาวะสุขภาพ