Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 6 การบริหารงานหอผู้ป่วย - Coggle Diagram
หน่วยที่ 6
การบริหารงานหอผู้ป่วย
การจัดรูปแบบหอผู้ป่วย
หลักการจัดหอผู้ป่วย
1.ความเป็นสัดส่วน
(privacy) เช่น มีม่านกั้นเตียงเมื่อจะต้องปฏิบัติการพยาบาล
2.ความปลอดภัย
(safety) เช่น เตียงผู้ป่วยทุกเตียงต้องมีเหล็กกั้นเตียง พื้นห้องน้ําไม่ลื่น ต้องมีแรงเสียดทานเพียงพอ มีราวจับที่แข็งแรง
เพื่อ ป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ
3.การควบคุมเชื้อโรค
(infection control) เนื่องจากหอผู้ป่วยเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรค ดังนั้นการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรคจึงเป็นเรื่องสําคัญ
4.การควบคุมเสียง
(noise control) เป็นการดูแลเพื่อไม่ไห้เกิดเสียงดังรบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วย
การจัดสถานที่
1.ลักษณะของหอผู้ป่วยที่ดี
1.1 เอื้อต่อการรักษาและการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 มีเนื้อที่เพียงพอและสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
1.3 มีความเป็นสัดส่วนของผู้ป่วยแต่ละราย
1.4 ให้ความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยในด้านการดูแลความเร่งด่วน
1.5 สะดวกต่อการทําความสะอาดและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค
1.6 ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ
2. ประเภทหอผู้ป่วย
2.1 จําแนกตามโรคของผู้ป่วย
หอผู้ป่วยจะมีชื่อเรียกตามบริการ ได้แก่ หอผู้ป่วยศัลยกรรม หอผู้ป่วยอายุรกรรม หอผู้ป่วยสูติกรรม
2.2 จําแนกตามโรคและการบําบัด
หอผู้ป่วยจะมีชื่อเรียกตามโรคหรือการดูแลรักษาเฉพาะทาง เช่นหอผู้ป่วย ตา หู คอ จมูก หอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท และหอผู้ป่วยศัลยกรรมหัวใจ
2.3 จําแนกตามเพศของผู้ป่วย
ได้แก่ หอผู้ป่วยชาย หอผู้ป่วยหญิง แต่ไม่แยกโรคซึ่งพบบ่อยในโรงพยาบาลขนาดเล็กที่มีจํานวนผู้ป่วยน้อย
2.4 จําแนกตามสมรรถภาพหรือระยะการเจ็บป่วย
เช่น หอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยเรื้อรัง และหอผู้ป่วยพักฟื้น
2.5 จําแนกตามวัย
ได้แก่ หอผู้ป่วยผู้ใหญ่ หอผู้ป่วยเด็ก
3. วิธีจัดหอผู้ป่วยที่นิยมกันทั่วไปมี
3.1 ระบบเปิด
คือ ระบบที่จัดเตียงผู้ป่วยไว้รวมกัน ห้องทํางานพยาบาลอยู่ในตําแหน่งที่สามารถมองเห็นผู้ป่วยได้ทั่วถึง การจัดหอผู้ป่วยระบบนี้มักนิยมจัดในโรงพยาบาลชุมชน
3.2 ระบบปิด
เป็นระบบการจัดหอผู้ป่วยที่เน้นความสะดวกสบายและความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยเป็นสําคัญโดยมากเป็นระบบที่ใช้ในโรงพยาบาลเอกชน หรือถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐจะเป็นการจัดที่แผนกผู้ป่วยพิเศษ
การจัดพัสดุในหอผู้ป่วย
ประเภทความต้องการของพัสดุ
ความต้องการขั้นต้น หมายถึง ความต้องการพัสดุเป็นครั้งแรกซึ่งยังไม่เคยได้รับมาก่อนเพื่อให้สามารถปฏิบัติราชการได้
ความต้องการการทดแทน หมายถึง ความต้องการเพื่อทดแทนพัสดุที่เคยได้รับมาแล้ว
ความต้องการสํารอง หมายถึง ความต้องการพัสดุเพื่อสํารองไว้ให้มีพัสดุจ่ายได้
ความต้องการพิเศษ หมายถึง ความต้องการที่ไม่ได้ระบุไว้ในอัตรา แต่บางครั้งหน่วยงานอาจมีความจําเป็นต้องใช้
ความต้องการเพื่อชดเชยเวลาในการจัดหาหรือเวลาในการเบิกหมายถึงความต้องการ เผื่อไว้เพื่อให้มีพัสดุใช้ระหว่างที่ดําเนินการจัดหาหรือระหว่างเวลาที่คอยพัสดุจากการเบิก
มาตรฐานวัสดุครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ในหอผู้ป่วย
1) มาตรฐานการใช้วัสดุเปิดหมุนเวียนและเบิกเป็นครั้งคราวต่อเดือน ได้แก่ วัสดุงานบ้าน วัสดุสํานักงาน และแบบฟอร์มต่าง ๆ
2) มาตรฐานการใช้วัสดุถาวร ได้แก่ วัสดุงานบ้าน วัสดุสํานักงาน วัสดุเสื้อผ้า คุรุภัณฑ์ทั่วไป และคุรุภัณฑ์การแพทย์ถาวร
3) มาตรฐานการใช้เวชภัณฑ์ได้แก่ ยาน้ํารับประทาน ยาใช้ภายนอก
สารน้ํายาฉีด และยาเม็ด
การจัดเก็บรักษาและควบคุมเวชภัณฑ์
รูปแบบที่เป็นของเหลว ได้แก่ ยาน้ําเชื่อม ยาทาถูนวด Liniment และ Elixer เป็นต้น
รูปแบบที่เป็นของแข็ง ได้แก่ ยาอม (Lozenge) ยาเม็ดอมใต้ลิ้น (Sublingual) และยาเม็ด (Tablet) เป็นต้น
รูปแบบอื่นๆ ได้แก่ ขี้ผึ้ง (Ointment) ครีม และยาพ่น เป็นต้น
การจัดเก็บรักษาและควบคุมเวชภัณฑ์
ให้ยามีไว้ใช้อย่างครบถ้วนและมีคุณภาพในการใช้งานได้อย่างเต็มที่
มีปริมาณยาพอสมควรที่จะเบิกจ่ายได้โดยไม่มียาค้างหรืออยู่เกินความจําเป็น
มีการจัดเก็บรักษาและควบคุมอย่างถูกต้อง
สามารถหยิบยาได้อย่างสะดวกตรวจสอบได้อย่างง่าย
บทบาทพยาบาลในการบริหารพัสดุ
ต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพัสดุต้องรู้วิธีการใช้พัสดุเป็นอย่างดีใช้พัสดุถูกต้องและแนะนําผู้ร่วมงานได้
สามารถวางแผนความต้องการใช้พัสดุรวมทั้งแผนงบประมาณในการจัดหาพัสดุได้
มีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการพัสดุเบิกใช้เท่าที่จําเป็น
ใช้พัสดุอย่างประหยัดและระมัดระวังป้องกันมิให้พัสดุเสียหาย
ตรวจรับพิจารณาคุณภาพและประเมินผลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของพัสดุ
ควบคุมเก็บรักษาและจําหน่ายพัสดุมิให้มีของคลังพัสดุมากเก่าเก็บและใช้แต่ของใหม่
เก็บหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารพัสดุ
ให้ความร่วมมือในการทําวิจัยเกี่ยวกับพัสดุ
การจัดระบบงานในหอผู้ป่วย
กําหนดวัตถุประสงค์การบริการผู้ป่วย
กําหนดขอบเขตความรับผิดชอบและแผนภูมิการทํางานของเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ
กําหนดอัตรากําลังและประเภทของเจ้าหน้าที่แต่ละระดับ
กําหนดหน้าที่รับผิดชอบและลักษณะงานที่ทําของเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลทุกระดับโดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
กําหนดการติดต่อสื่อสารและขั้นตอนการรายงานต่าง ๆอย่างละเอียด
คู่มือปฏิบัติการพยาบาลประจําหอผู้ป่วยทุกหน่วยงาน
การวางแผนการพยาบาล
นโยบายบริหารบุคคล
จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้
การบันทึกและการรายงาน
11 การเสริมความรู้ทางวิชาการ
มีการติดต่อประสานงานกับพยาบาลวิชาชีพหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถาบัน
มีเกณฑ์การประเมินผล
การบริหารกิจกรรมการให้บริการในหอผู้ป่วย
จัดโครงสร้างของหน่วยงานให้มีความเหมาะสมต่อการรองรับผู้รับบริการ
จัดระบบการบริหารหน่วยงานตามหลักการบริหารงานทั่วไปและหลักการบริหารการพยาบาล
จัดสรรทรัพยากรประเภทต่างๆ ให้เอื้อต่อการปฏิบัติงานได้อย่างสะดวก
จัดระบบการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพ
จัดบุคลากรทางการพยาบาลให้สามารถปฏิบัติงานได้คล่องตัวตลอด 24 ชั่วโมง
จัดระบบการบันทึกและการรายงานที่ชัดเจน
จัดให้มีระบบการประเมินผลการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
กําหนดมาตรฐานบริการพยาบาลเพื่อบ่งชี้ระดับของคุณภาพ
การควบคุมคุณภาพการบริการ
พยาบาลหอผู้ป่วย
การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล
1) การตรวจสอบการปฏิบัติขณะผู้ใช้บริการอยู่ในโรงพยาบาล
2) การตรวจสอบย้อนหลังเมื่อผู้ใช้บริการกับบ้านแล้ว
3) การวิเคราะห์การให้การพยาบาลทั้งหมด
4) การตรวจสอบโดยการสังเกตในกลุ่มเดียวกัน
การประเมินตนเองและแผนพัฒนา
คุณภาพบริการพยาบาล
1.การประเมินคุณภาพของการพยาบาล
(nursing audit) การประเมินคุณภาพการให้การพยาบาลเป็นวิธีการประเมินผลการพยาบาลอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยตรวจสอบผู้รับบริการได้จากการบริการที่ให้
2.การประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
(evaluation of personal) การประเมินผลการทํางานของเจ้าหน้าที่นอกจากจะเป็นการประเมินเพื่อรักษาคุณภาพและปรับปรุงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่แล้วการประเมินผลยังช่วยทําให้ผู้รับบริการได้รักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การประเมินตนเอง
(self-evaluation) การประเมินตนเองเป็นเรื่องที่มีความสําคัญพยาบาลควรจะมีการประเมินผลการปฏิบัติของตนเองอยู่สม่ําเสมอทั้งนี้เพื่อเป็นการประเมินความสามารถของตนเองนอกจากนี้ยังช่วยทําให้เกิดการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น