Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ชาวต่างประเทศที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ประวัติศาสตร์
วัฒนธรรมและความก้าวหน้…
ชาวต่างประเทศที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ประวัติศาสตร์
วัฒนธรรมและความก้าวหน้าของสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์
-
ศิลปกรรม
นายคาร์ล ดอริง (Karl Dohring) สถาปนิกชาวเยอรมันนายจ้างประจำกรมรถไฟซึ่งเป็นผู้ออกแบบวังวรดิศตำหนักบางขุนพรหมและพระรามราชนิเวศน์
ศาสตราจารย์ พีระศรี เป็นศิลปินชาวอิตาลีชื่อคอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) เป็นผู้รอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์การวิจารณ์ศิลปะและปรัชญาโดยเฉพาะความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรมผลงานที่สำคัญคือเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรและบุกเบิกการสอนศิลปะในประเทศไทยนอกจากนี้ยังได้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระราชานุสาวรีย์และอนุสาวรีย์สำคัญของประเทศไทยเช่นการปั้นต้นแบบสำหรับพระปฐมบรมราชานุสรณ์พระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีและการออกแบบพระศรีศากยะทศพลญาณพระพุทธรูปปางลีลาซึ่งเป็นพระประธานที่พุทธมณฑล
นายริโกลี (Riguli) จิตรกรชาวอิตาลีผู้วาดภาพจิตรกรรมเพดานพระที่นั่งอนันตสมาคมและภาพกิจกรรมพระอุโบสถวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
การแพทย์
หมอเฮ้าส์ (Dr.Samuel R. House) เป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่ได้ช่วยเหลือรักษาคนไข้จำนวนมากโดยเฉพาะเมื่อเกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพฯในพ.ศที่ได้ช่วยเหลือรักษาคนไข้จำนวนมากโดยเฉพาะเมื่อเกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพฯในพ.ศ 2392 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคนหมอเฮาส์ต้องดูแลรักษาผู้ป่วยจำนวนมากพร้อมกับฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้แก่ราษฎรนอกจากนี้หมอเฮาส์ยังเป็นแพทย์คนแรกที่นำวิธีการผ่าตัดโดยใช้ยาสลบมารักษาผู้ป่วยในประเทศไทยด้วย
หมอบรัดเลย์ (Dan Bleach Bradley) เป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันรุ่นแรกๆที่เดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวหมอบรัดเลย์จบวิชาแพทยศาสตร์จากสหรัฐอเมริกาจึงนำความรู้ทางการแพทย์ตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยโดยเฉพาะได้เริ่มการรักษาด้วยวิธีการทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรกนอกจากนี้ยังเผยแพร่เรื่องการปลูกฝีและฉีดวัคซีนด้วย
ชอร์ช บี. แมคฟาร์แลนด์ (George B. McFarland) เป็นบุตรของมิชชันนารีชาวอเมริกันซึ่งเกิดในประเทศไทยจบการศึกษาด้านแพทยศาสตร์และฝึกหัดทำฟันจากสหรัฐอเมริกา จากนั้นได้กลับมาสอนนักเรียนแพทย์ฝึกหัดชาวไทยที่โรงเรียนแพทยาลัย ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลศิริราชพร้อมกับเปิดคลินิกรักษาโรคฟันในปีพ.ศ.2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระอาจวิทยาคม
การศึกษา
นางแฮร์เรียต เฮาส์ (Harriet House) ภรรยาของ ดร.เฮาส์ ได้เปิดโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงแห่งแรกในประเทศไทยชื่อโรงเรียนกุลสตรีวังหลังมาเมื่อนางเฮาส์เดินทางกลับสหรัฐอเมริกาแล้วนางสาวเอดนา ซารสห์โคล (Miss Edna Sarah Cole) ได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาให้โรงเรียนเจริญก้าวหน้าต่อมาโรงเรียนได้ย้ายสถานที่ไปอยู่ที่ย่านบางกะปิ(ถนนสุขุมวิท)ก็เปลี่ยนชื่อไปโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยกรมศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยก็ได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับเยาวชนชายและหญิงทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดด้วย
บาทหลวงเอมิล ออกุสต์ กอลมเบิร์ต (Emile Agust Golmbert) ชาวฝรั่งเศส เจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญ ได้ก่อตั้งโรงเรียนประจำวัด(อัสสัมชัญ) ซึ่งปัจจุบัน คือ โรงเรียนอัสสัมชัญ
ดร.ซามูเอล อาร์. เฮาส์ (Samuel R. House) และ ศาสนาจารย์สตีเวน แมตตูน (Steven Mattoon) ได้เปิดโรงเรียนสำหรับเด็กชายที่สำเหร่ต่อมาได้พัฒนาเป็นโรงเรียนชายแห่งแรกของไทยหรือโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนในปัจจุบัน
เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ และ ฟรังซัว ตูเวอเนต์ (Francois Touvenet) ภราดาชาวฝรั่งเศสในคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในประเทศไทยและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กไทยทำให้มีการสร้างโรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยคณะภราดาเซนต์คาเบรียลหลายแห่งทั้งในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด