Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบเศรษฐกิจ - Coggle Diagram
ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ
แบบเสรีนิยม
เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากกว่าระบบเศรษฐกิจอื่นๆ โดยรัฐบาลจะไม่เข้ามา
แทรกแซงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยอาศัยกลไกราคาที่ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดเป็นหลัก
สังคมนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมรัฐบาลจะเข้ามาด าเนินการด้านการเงิน การธนาคาร ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งสะสมทุน อุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานและอุตสาหกรรมหนัก ตลอดจนกิจการสาธารณูปโภคต่างๆ ส่วนเสรีภาพในการเลือกซื้อสินค้าและบริการมาบริโภคและที่อยู่อาศัยนั ้นรัฐบาลยังคงปล่อยให้เลือกอย่างอิสระ
คอมมิวนิสต์
ระบบนี ้เกิดขึ ้นเพื่อต้องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยการปฏิวัติยึดอำนาจ เพราะช่องว่างระหว่างรายได้ของประชาชนมีมากและรุนแรงเกินกว่าจะรอเวลาได้ ลักษณะเด่น คือ ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ เพราะรัฐบาลเป็นผู้ก าหนดสินค้าและบริการเพื่อให้ประชาชนบริโภคตามความเหมาะสมและจำเป็นเท่านั้น ประชาชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการถือครองและเป็นเจ้าของทรัพท์สิน ประชาชนไม่มีเสรีในการทำงาน เป็นลูกจ้างของรัฐบาลทุกคนการผลิตสินค้าและบริการนั้นรัฐจะเป็นผู้กำหนดว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ปริมาณเท่าใด เอกชนไม่มีสิทธิ์เสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ
ผสม
เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐจะเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมเศรษฐกิจของประเทศหลายด้านเพื่อให้เกิดเสถียรภาพ แต่กิจกรรมส่วนใหญ่เอกชนยังคงมีเสรีภาพในการด าเนินการอยู่และมีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการวางแผนเศรษฐกิจชองประเทศ อิสรภาพในการเลือกอาชีพ การถือครองทรัพย์สินเป็นไปโดยเสรี กลไกราคารัฐยังมีอำนาจเข้าไปแทรกแซงเพื่อกำหนดราคาสินค้าให้มีเสถียรภาพและเป็น
ธรรม
ระบบเศรษฐกิจไทย
ระบบเศรษฐกิจไทย นั้นเป็นแบบผสมเข้าทางทุนนิยม เรียกว่าระบบเศรษฐกิจทนุ นิยมใหม่ คือเอกชนยังมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ รัฐบาลจะเป็นผู้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ประสานนโยบายต่างๆ ของภาครัฐรวมทั้งกำหนดวิธีการให้ดำเนินกิจกรรมทางแศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลและเอกชนให้สอดคล้องกัน
เศรษฐศาสตร์จุลภาค
เป็นสาขาของเศรษฐศาสตร์ซึ่งศึกษาการตัดสินใจในระดับบุคคลหรือองค์กรธุรกิจ และความสัมพันธ์ของการตัดสินใจของแต่ละฝ่าย เศรษฐศาสตร์จุลภาคแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์มหภาค ที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจในระดับมวลรวม เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวม อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน เป็นต้น
เศรษฐศาสตร์มหภาค
เป็นสาขาของเศรษฐศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถ โครงสร้าง พฤติกรรม และการตัดสินใจในระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งประกอบไปด้วยเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ประเทศ และระดับโลก นักเศรษฐศาสตร์มหภาค ศึกษาดัชนีรวม อาทิ จีดีพี อัตราการว่างงาน รายได้ประชาชาติ ดัชนีราคา และความสัมพันธ์ระหว่างกันของแต่ละภาคในระบบเศรษฐกิจเพื่อทำความเข้าใจถึงการทำงานของเศรษฐกิจ พวกเขายังพัฒนาแบบจำลองที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ อาทิ รายได้ประชาชาติ ผลผลิต การบริโภค การว่างงาน เงินเฟ้อ การออม การลงทุน การค้าระหว่างประเทศ และการเงินระหว่างประเทศ
ระบบสังคมนิยม
รัฐจะเป็นเจ้าของทรัพยากรต่าง ๆ ปัจจัยในการผลิต รวมทั้งแรงงานของตนในการเลือกประกอบอาชีพ รัฐเป็นทั้งเจ้าของและผู้ประกอบการ กลไกในการตัดสินใจปัญหาขั้นพื้นฐาน ราคาสินค้าและบริการ ค่าตอบแทนปัจจัยการผลิต และการจำหน่ายจ่ายแจกผลผลิตจะถูกกำหนดโดยรัฐบาล
ระบบทุนนิยม
ระบบนี้จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยในการผลิต ตลอดจนการจัดทรัพย์สินของตนเองอย่างอิสระ รัฐบาลจะไม่เข้ามาแข่งขันกับเอกชนแต่จะคอบให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ ระบบนี้เกิดขึ้นตามแนวความติดที่ว่า การแข่งขันจะทำให้เกิดคุณภาพในการผลิต
ความหมาย
ระบบเศรษฐกิจ (Economics System) หมายถึงกลุ่มบุคคลของสังคมที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มของสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งยึดถือการปฏิบัติแนวทางเดียวกันในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออ านวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาพื ้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถบ าบัดความต้องการแก่บุคคลที่อยู่รวมกันในสังคมได้รับประโยชน์ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
-