Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มี ปัญหาจิตสังคม - Coggle Diagram
บทที่ 3
การพยาบาลบุคคลที่มี
ปัญหาจิตสังคม
1. บุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
ความวิตกกังวล
หมายถึง ความรู้สึกไม่สบาย สับสน กระวนกระวายกระสับกระส่าย หรือตื่น
ตระหนกต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ของบุคคลที่มีความวิตกกังวล
4) การเปลี่ยนแปลงด้านสติปัญญา
ความคิด ความจำลดลง
3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
2) การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
การตอบสนองของบุคคลต่อความวิตกกังวล
1) พฤติกรรมที่แสดงออกถึงการต่อสู้
(acting out behavior)
2) พฤติกรรมชะงักงันหรือถดถอย
(paralysis and retreating behavior)
3) มีการเจ็บป่วยทางกาย (somatizing)
4) มีพฤติกรรมเผชิญความวิตกกังวลในเชิงสร้างสรรค์
(constructive behavior)
ชนิดของความวิตกกังวล
ความวิตกกังวลปกติ (normal anxiety)
ความวิตกกังวลเฉียบพลัน (acute anxiety)
ความวิตกกังวลเรื้อรัง (chronic anxiety)
ระดับของความวิตกกังวล
ความวิตกกังวลต่ำ (mild anxiety) +1
เล็กน้อย ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในบุคคลทั่วไป
ความวิตกกังวลปานกลาง (moderate anxiety) +2
บุคคลจะมีความตื่นตัวมากขึ้น พยายาม
ควบคุมตนเองมากขึ้น
ความวิตกกังวลรุนแรง (severe anxiety) +3
บสติสัมปชัญญะลดลง หมกมุ่นครุ่นคิดในรายละเอียดปลีกย่อย
ความวิตกกังวลท่วมท้น (panic anxiety) +4
ไม่ได้รับการระบายออกหรือแก้ไขให้ลดลง
สาเหตุของบุคคลที่มีความวิตกกังวล
ด้านชีวภาพ
ด้านกายภาพของระบบประสาท
ด้านชีวเคมี
ด้านการเจ็บป่วย
ด้านจิตสังคม
จิตวิเคราะห
พฤติกรรมและการรู้คิด
ด้านสังคม
จากภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ภายในตัวบุคคล ได้แก่ ภาวะสุขภาพของตนเอง
การพยาบาลบุคคลที่มีความวิตกกังวล
1) การประเมินสภาวะความวิตกกังวล
ประเมินความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
ประเมินระดับความรุนแรง
ประเมินสาเหตุของความวิตกกังวลและวิธีการผชิญกับภาวะวิตกกังวล
ประเมินสมรรถภาพและองค์ประกอบในด้านอื่น ๆของผู้ป่วย
2) การวินิจฉัยการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยให้กลับปกติ
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจถึงเหตุและผลของความวิตกกังวล
เพื่อปรับบุคลิกภาพและการใช้กลไทางจิตให้เหมาะสม
เพื่อขจัดความขัดแย้งและบรรเทาประสบการณ์ที่เจ็บปวดให้กับผู้ป่วย
ตัวอย่างการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีความวิตกังวลระดับรุนแรงเนื่องจากคิดว่าตนเอง
ไม่สามารถควบคุมหรือแก้ไขปัญหาได้
การเผชิญปัญหาไม่เหมาะสมเป็นผลมาจากมีความวิตกกังวลระดับรุนแรง
มีความผิดปกติด้านเนื่องจากวิตกกังวลในระดับรุนแรง
มีความวิตกังวลระดับปานกลางเนื่องจากรู้สึกว่าชีวิต
ถูกคุกคามและถูกบีบคั้นทางจิตวิญญาณ
3) กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยเพื่อปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบาย
ความไม่สบายใจความทุกข์ใจและปัญหาต่าง ๆ ออกมา
ใช้คำพูดง่าย ๆ ข้อความสั้น ๆ กะทัดรัดได้ใจความตรงไปตรงมา
ให้กำลังใจโดยอาจสัมผัสผู้ป่วยเบา ๆ
นำผู้ป่วยออกจากสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบลดสิ่งกระตุ้นผู้ป่วย
แลเอาใจใส่ผู้ป่วยที่มีอาการทางกาย เช่น ชีพจรเร็ว หายใจขัด
ดูแลป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและบุคคลอื่น
ให้ความช่วยเหลือดูแลและกระตุ้นให้ผู้ป่วยสนใจ
เรื่องสุขภาพอนามัยของตนเอง
ผู้ป่วยที่ไม่มีสมาธิ ลังเล ตัดสินใจไม่ได้
ควรพยายามให้ผู้ป่วยใช้ความคิด และการตัดสินใจง่าย ๆ
ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งบันทึกรายงานอาการ
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
ผ่อนคลายได้มากขึ้น
สามารถแยกแยะและประเมินระดับ
ความวิตกกังวลของตนเองได้
สามารถบอกถึงความรู้สึกวิตกกังวลที่มี
ต่อตนเองและผู้อื่นได้
สามารถอธิบายเชื่อมโยงผลของความวิตกังวล
ที่มีต่อตนเองและผู้อื่นได้
สามารถบอกวิธีการที่เหมาะสมใน
การแก้ไขความวิตกกังวลได้
สามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมเพื่อ
ลดความวิตกให้กับตนเองได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น
ความเครียด
หมายถึง ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายและจิตใจที่มีต่อสิ่งกระตุ้น (stressor)และ
บุคคลนั้นได้ประเมินแล้วว่าสิ่งกระตุ้นนั้นคุกคามหรือทำให้ตนเองรู้สึกไม่มั่นคง
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ของบุคคลที่มีความเครียด
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
2) การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ สังคม
3) การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรม
การตอบสนองของบุคคลต่อความเครียด
การตอบสนองด้านร่างกาย เมื่อมีเหตุการณ์มากระตุ้น
ร่างกายจะมีการปรับตัวเพื่อตอบสนอง
ปฏิกิริยาการตอบสนองของ
ร่างกายต่อความเครียด
ระยะเตือน (alarm reaction)
ระยะช็อก (shock phase)
ระยะตอบสนองการช็อก (counter shock phase shock phase)
ระยะการต่อต้าน (stage of resistance)
ระยะหมดกำลัง (stage of exhaustion)
การตอบสนองด้านจิตใจ เมื่อมีเหตุกรณ์ที่มากระตุ้น
หนี หรือเลี่ยง (flight)
ยอมรับและเผชิญกับความครียด (fight)
ชนิดของความเครียด
ความเครียดฉับพลัน (acute stress)
ความเครียดเรื้อรัง (chronic stress)
ระดับของความเครียด แบ่งเป็น 4 ระดับ
ความเครียดระดับต่ำ (mild stress)
ระดับน้อยและหายไปได้ในระยะเวลาสั้น
ความเครียดระดับปานกลาง (moderate stress)
เครียดในระดับปกติเกิดขี้นได้ในชีวิตประจำวัน
ความเครียดระดับสูง (high stress)
เกิดจากเหตุการณ์รุนแรงสิ่งต่าง ๆ สถานการณ์หรือเหตุการณ์รอบตัวที่แก้ใขจัดการปัญหานั้นไม่ได้
ความเครียดระดับรุนแรง (severe stress)
เรื้อรังต่อเนื่องหรือกำลังเผชิญกับวิกฤตของชีวิต
การพยาบาลบุคคลที่มีความเครียด
1) การประเมินสภาวะความเครียด
ประเมินอาการแสดงทางร่างกายที่เป็นผลมาจาก
ความเครียดหรืออาการทางกาย
ประเมินอาการแสดงทางจิตใจ เช่น ด้านอารมณ์บุคคลอาจ
มีความวิตกกังวล มีความโกรธ ก้าวร้าว หรือความกลัว
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดความเครียดของผู้ป่วยให้กลับสู่ภาวะปกติ
เพื่อให้การบำบัดรักษาอาการทางกายที่มีอยู่ในตอนนั้น
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจกลวิธีในการปรับตัวต่อเหตุการณ์
ที่ก่อให้เกิดความเครียดของตนเอง
เพื่อให้ผู้ป่วยได้จัดการความเครียดที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
และไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา
เพื่อลดความถี่ของการเกิดความเครียด
เพื่อปรับบุคลิภาพและการใช้กลไกทางจิตให้เหมาะสมมากขึ้น
ตัวอย่างการเขียนข้อวินิฉัย
ความดันโลหิตสูงกว่าปกติเนื่องจากมีการปรับตัวต่อภาวะเครียด
มีภาวะเครียดในระดับสูงเนื่องจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
แบบแผนการนอนหลับพักผ่อนเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมีภาวะเครียด
3) กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ส่งเสริมและให้กำลังในการฝึกและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้
สอนและแนะนำให้ประเมินระดับความเครียตด้วยตนเอง
กระตุ้นและให้กำลังใจผู้ป่วยวางแผนการเปลี่ยนแปลงตนเอง
ฝึกทักษะการคิดเชิงบวก
ให้ความช่วยเหลือดูแลให้ผู้ป่วยได้รับวิตามินและ
เกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ
ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำตารางเวลาของชีวิต(body clock)
ในการออกกำลังกายหรือกิจกรรมผ่อนคลายอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
อาการทางกายทุเลาหรือกลับสู่ภาวะปกติ
ผ่อนคลายมากขึ้น ระดับความเครียดลดลง
สามารถเชื่อมโยงอาการ และอาการแสดงที่สัมพันธ์
กับความเครียดของตนเองได้
สามารถประเมินระดับความเครียดด้วยตนเองได้
สามารถบอกวิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเองได้
สามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม
เพื่อลดความเครียดให้กับตนเองได้มากขึ้น
2. บุคคลที่มีความโกรธและความก้าวร้าว
ความโกรธ (anger)
เป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคล เป็นประสบการณ์
ของความรู้สึกทางอารมณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ของความความโกรธ
ด้านร่างกาย
ระบบประสาทซิมพาทิติก (sympathetic)
จะได้รับการกระตุ้นทำให้อัตราการเต้นหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น
ด้านจิตใจและอารมณ์
เกิดความขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ สูญเสียคุณค่า
และศักดิ์ศรีในตนเอง
ความไม่เป็นมิตร (hostility)
ความก้าวร้าว (aggression)
การกระทำที่รุนแรง (violence)
แยกตัว (withdrawal)
ซึมเศร้า (depression)
สาเหตุการเกิดของความความโกรธ
ปัจจัยด้านชีวภาพ
สารสื่อประสารในสมอง
การได้รับบาดเจ็บหรือความกระทบกระเทือนที่สมอง
การเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ
ปัจจัยด้านจิตใจ
ด้านจิตวิเคราะห์
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด
ปัจจัยด้านสังคม
แนวคิดทางด้านสังคมวิทยา
เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีพฤติกรรมรุนแรง ก็มักจะเลียนแบบพฤติกรรมของบิดา มารดา ผู้เลี้ยงดู หรือบุคคลใกล้ชิดได้
การพยาบาลบุคคลที่มีความโกรธ
1)การประเมินบุคคลที่มีภาวะโกรธ
ประเมินความเสี่ยงในการทำร้ายตนเองและผู้อื่นเมื่อบุคคล
มีอารมณ์โกรธ โดยการสังเกตจากลักษณะคำพูด และพฤติกรรม
ประเมินบุคคลดังกล่าวว่ามีความขัดแย้งในจิตใจว่ามีสูงมาก
หรือน้อยเพียงใด
ประเมินอาการทางร่างกาย ที่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความโกรธ
ประเมินการใช้กลไกทางจิต ที่อาจจะเป็นผลเสียต่อการดำเนินชีวิต
ประเมินพื้นฐานอารมณ์ดั้งเดิมของผู้ป่วยและระดับความอดทน
ของผู้ป่วยแต่ละคน
ประเมินความเข้าใจตนเองของผู้ป่วย
ประเมินระดับความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
ประเมินสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ หรือมีความเชื่อ
หรือปรัชญาของชีวิตที่ยึดถืออย่างไร
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดภาวะเสี่ยงในการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
เพื่อให้ระบายอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์
เพื่อป้องกันอันตรายจากโรคทางร่างกายที่มีความเชื่อมโยง
จากอารมณ์โกรธ
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพและรูปแบบการเผชิญปัญหา
ที่สร้างสรรค์เมื่อมีความโกรธ
เพื่อพัฒนาทักษะในการปรับตัวและสร้างสัมพันธภาพ
กับผู้อื่นเมื่อมีความโกรธ
ตัวอย่างการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่นเนื่องมาจากมีอารมณ์โกรธและไม่สามารถระบายอารมณ์โกรธได้อย่างสร้างสรรค์
การแสดงอารมณ์โกรธไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดทักษะในการเผชิญปัญหาอย่างสร้างสรรค์
เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายเนื่องจากมีภาววะความดันโลหิตสูง
ที่มีความสัมพันธ์กับอารมณ์โกรธ
ขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพเนื่องจากอารมณ์โกรธ
รู้สึกผิดและคิดว่าตนเองด้อยค่าเมื่อมีอารมณ์โกรธ
3) กิจกรรมทางการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดตามแบบแผนการสร้างสัมพันธภาพ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก เรื่องราวต่างๆ
หรือพฤติกรรมและการสื่อสารต่อบุคคลอื่น
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเรียนรู้และเข้าใจบุคลิกภาพและ
อารมณ์โกรธของตนเมื่อความโกรธของผู้ป่วยลดลง
ประเมินรูปแบบการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยว่ามุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา
หรือมุ่งเน้นการการตอบสนองทางอารมณ์เพียงอย่างเดียว
จัดให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรมนันทนาการบำบัด ดนตรีบำบัด กลุ่มวาดภาพ
ส่งเสริมและฝึกให้ผู้ป่วยใช้ทักษะการเผชิญอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดร่วมกับเพื่อนผู้ป่วย
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารเมื่อมีอารมณ์โกรธ
แสดงการยอมรับ ชื่นชม และให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ
ประเมินอาการและอาการแสดงทางกายที่เป็นผลมาจากอารมณ์โกรธ
ที่เพิ่มมากขึ้น และสัมพันธ์กับอารมณ์โกรธ
หากผู้ป่วยที่มีอารมณ์โกรธที่รุนแรง และแสดงพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยสามารถอธิบายวิธีการเผชิญความโกรธที่สร้างสรรค์ได้มากกว่าเดิม
มีวิธีการระบายความรู้สึกโกรธที่สร้างสรรค์มากขึ้น
โดยไม่ใช้วิธีการที่รุนแรงในการเผชิญความโกรธ
ผู้ป่วยและผู้อื่นปลอดภัยจากพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วย
ผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงทางร่างกาย
ที่เป็นผลจากอารมณ์โกรธลดลง
ผู้ป่วยมีวิธีการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์มากขึ้น
สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นได้มากขึ้น หรือสามารสื่อสารกับผู้อื่นได้ตามความต้องการของตนได้อย่างเหมาะสม
สามารถแสวงหาแหล่งประโยชน์ที่สนับสนุน ช่วยเหลือ
3. บุคคลที่มีภาวะสูญเสียและเศร้าโศก
การสูญเสีย (loss)
เป็นการที่บุคคลพลัดพรากจากบุคคล สัตว์เลี้ยง สิ่งของ อวัยวะ หรือความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง
ภาวะสูญเสียสามารถ
แบ่งเป็น 4 ประเภท
การสูญเสียสิ่งของภายนอก
(loss of external object)
การสูญเสียตามช่วงวัย
(maturational loss)
การสูญเสียภาพลักษณ์หรือ อัตมโนทัศน์
(loss of body image or some aspect of self)
การสูญเสียความรักหรือบุคคลสำคัญในชีวิต
(loss of a love or a significant other)
ภาวะเศร้าโศก (grief)
เป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นภายหลังจากบุคคลเผชิญกับการสูญเสียหรือคาดว่าจะมีการสูญเสียเกิดขึ้น
ปฏิกิริยาต่อการสูญเสีย
แบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะช็อค
(shock and disbelief)
ระยะพัฒนาการตระหนักรู้ถึงการสูญเสีย
(developing awareness)
ระยะพักฟื้น (restitution)
ลักษณะอาการและอาการ
แสดงของภาวะเศร้าโศก (grief)
การเศร้าโศกแบบปกติ
(normal grief)
ระยะเฉียบพลัน
ระยะนี้เกิดขึ้นในช่วง 4 – 8 สัปดาห์แรก บุคคลจะช็อค
ไม่เชื่อและไม่ยอมรับการสูญเสียที่เกิดขึ้น
ระยะเผชิญกับการสูญเสีย
การเศร้าโศกแบบผิดปกติ
(maladaptive grief)
chronic grief reaction
delayed grief reaction
บุคคลที่มีการเศร้าโศกได้นานเกิน
กว่า 1 ปี
แยกตัว และขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ
ไม่สนใจตนเองและสิ่งแวดล้อม
ไม่อยากทำอะไร แม้แต่กิจกรรมที่เคยชอบ
ไม่มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต รู้สึกหมดหวัง และสิ้นหวังในชีวิต
มีภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตาย
การประเมินภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
1) การประเมินภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
ประเมินระดับความรุนแรงของอาการและอาการแสดงที่เป็นผลจากความสูญเสียแบบองค์
รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ประเมินระดับการให้คุณค่า และความหมายของ
สิ่งสูญเสียในมุมมองของผู้ป่วย
ประเมินลักษณะบุคลิกภาพของผู้ป่วย
ประสบการณ์การสูญเสียในอดีต รูปแบบที่ใช้จัดการ
การสูญเสียและภาวะเศร้าโศกของผู้ป่วย
ประเมินความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม
ผู้ป่วยเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์สูญเสีย
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดภาวะซึมเศร้าหรืออาการแสดงที่เป็นภาวะเศร้าโศรก
แบบผิดปกติให้กลับสู่ภาวะปกติ
เพื่อให้การรักษาพยาบาลเรื่องอาการและอาการแสดง
ทางกายให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวและแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือ
ทางสังคมของผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะการยอมรับความจริงของชีวิตโดยเฉพาะในเรื่องการสูญเสีย
เพื่อฝึกการใช้วิธีในการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์
ตัวอย่างการเขียนข้อวินิจฉัย
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้า
จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสีย
ขาดทักษะในการเผชิญปัญหา เมื่อต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
มีความรู้สึกผิดและโทษตนเองว่าเป็นสาเหตุของ
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
3) กิจกรรมการพยาบาล
การลดภาวะเศร้าโศก ควรให้การพยาบาล
การดูแลเรื่องอาการและอาการแสดงทางกาย
การส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวมีส่วนร่วม
ในการดูแลผู้ป่วย
ฝึกทักษะการเผชิญปัญหาชีวิตที่สร้างสรรค์
การช่วยให้ผู้ป่วยมีทักษะในการเผชิญปัญหาชีวิต
อย่างสร้างสรรค์สามารถทำได้
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยมีภาวะเศร้าโศกลดลง สามารถดูแลตนเองได้มากขึ้น
ผู้ป่วยมีการตระหนักรู้ตนเองถึงระดับความรุนแรง
ของภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสีย
ผู้ป่วยสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้มากขึ้น และแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือที่เหมาะสมได
ผู้ป่วยสามารถสร้างเป้าหมายในชีวิต และปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายนั้นได้
ผู้ป่วยมีวิธีการเผชิญหน้าปัญหาที่เหมาะสมมากขึ้น
4. บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย
ภาวะซึมเศร้า
หมายถึง การที่บุคคลมีพฤติกรรมที่เกิดจากภาวะจิตใจที่หม่นหมอง หดหู่ เศร้าสร้อย ท้อแท้ สิ้นหวัง และมองโลกในแง่ร้าย
ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสูญเสีย
ลักษณะอาการและอาการแสดง
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
นอนไม่หลับเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์
ผู้ป่วยร้อยละ 25 จะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โดยไม่ทราบสาเหตุ
เบื่ออาหาร การรับรสชาติเปลี่ยนแปลง ไม่อยากอาหาร
ร้อยละ 25 น้ำหนักตัวลดลง ดูซูบซีด แก่ดูแก่กว่าอายุจริง
ท้องผูก เนื่องจากการรับประทานอาหารน้อย
ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติ
ความต้องการทางเพศลดลง
2) ความสนใจในตนเองลดลง
มีอาการเศร้า มีความรู้สึกหดหู่ใจ ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส
ร้องไห้ง่าย
รู้สึกว่า ตนเองไร้คุณค่า ไม่มีประโยชน์ต่อสังคม อาจทำร้ายตนเอง
ผู้ป่วยร้อยละ 75 หงุดหงิดง่าย และมีความรู้สึกขี้กลัว
ความคิดเชื่องช้าลง ขาดสมาธิจำอะไรไม่ค่อยได้
มักคิดหมกหมุ่นเกี่ยวกับตนเอง
มีพฤติกรรมที่สื่อในการทำลายข้าวของ และทำร้ายตนเอง
3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อน
(mild depression/blue mood)
ไม่สดชื่น หม่นหมอง บุคคลทั่วไปมักมีประสบการณ์
กับภาวะซึมเศร้าระดับนี้เป็นครั้งคราว
ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง
(moderate depression/neurotic depression)
อารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรงขึ้นกว่าระดับอ่อน
สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ แม้จะขาดประสิทธิภาพไปบ้าง
ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง
(severe depression/Psychotic depression)
อารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรงอย่างมาก
มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมโดยทั่วๆไปอย่างเห็นได้ชัดเจน
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้า
1) แนวคิดด้านกลไกทางจิตใจ
ผู้ที่มีพฤติกรรมซึมเศร้า มีสาเหตุสำคัญมาจากความ
เจ็บปวดที่เกิดจากความสูญเสีย (loss) ในสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง
2) แนวคิดด้านการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในร่างกาย
การลดน้อยลงของสารจำพวกไบโอจินิก อะมีนส์ (biogenic amines) ในทางระบบประสาทส่วนกลาง
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า
1) การประเมินภาวะซึมเศร้า
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำ เนื่องจากเคยมีประวัติ
การทำร้ายร่างกายตนเองก่อนหน้า
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง
ขาดทักษะการเผชิญปัญหา เนื่องจากคิดว่าตนเองไร้ค่าและไร้ความหมาย
3) กิจกรรมการพยาบาล
การลดภาวะซึมเศร้า
การป้องกันการทำร้ายตนเองและผู้อื่น
การส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้แก่ผู้ป่วย
การส่งเสริมการดูแลตนเองด้านสุขอนามัย และกิจวัตรประจำวัน
การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม
การดูแลเรื่องการให้ได้รับสารน้ำสารอาหารเพียงพอต่อร่างกาย
การส่งเสริมการทำกิจกรรม และการพักผ่อนตาม
ความต้องการของร่างกายให้เกิดความสมดุล
การสอน และฝึกทักษะการเผชิญปัญหา
เพื่อปรับปรุงบุคลิกภาพให้ผู้ป่วยเข้มแข็งมากขึ้น
สอน และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของผู้ป่วยที่มีความสอดคล้องกับผู้ป่วย
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
การฆ่าตัวตาย (suicide)
หรือใช้คำว่า
อัตวินิบาตกรรม
หมายถึง การที่บุคคลมีความคิดอยากทำร้ายตนเอง และพยายามทำให้ชีวิตของตนเองสิ้นสุดลงด้วยวิธีการต่างๆ ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ
ลักษณะอาการและอาการแสดง
1) บุคคลจะพยายามทำร้ายตนเองด้วยวิธีการต่างๆ
แต่ไม่ได้หวังผลจะให้ตายจริงๆ และอาจพยายามทำบ่อยครั้ง
2) บุคคลกลุ่มนี้มีความคิดซ้ำๆ ที่จะทำร้ายตนเอง แต่ยังขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจของตนเองกล้าๆ กลัวๆ
3) บุคคลกลุ่มนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าชัดเจน
มีความมุ่งมั่นที่จะฆ่าตัวตายให้สำเร็จ
บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
บุคคลที่แต่งงานและมีบุตร มีอัตราการฆ่าตัวตายน้อยกว่า
บุคคลที่มีสถานะโสด
เพศหญิงมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าเพศชาย
เมื่อบุคคลอายุเพิ่มมากขึ้นจะมีภาวะเสี่ยงในการฆ่าตัวตายมากขึ้น
บุคคลที่พยายามฆ่าตัวตายมีประวัติว่า บุคคลในครอบครัวเคยมีบุคคลฆ่าตัวตายมาก่อน
บุคคลที่โรคเรื้อรัง หรือเป็นโรคที่มีความทุกข์ทรมานมาก
มักเป็นบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตประมาณ ร้อยละ 90
เคยมีประวัติการพยายามฆ่าตัวตายมาก่อนร้อยละ 50-80
บุคคลที่ต้องต่อสู้ชีวิตตามลำพัง
บุคคลที่ต้องทำงานในสภาวะกดดัน/สถานการณ์เคร่งเครียด
หรือต้องรับผิดชอบสูง
สาเหตุการฆ่าตัวตาย
ยังไม่มีการอธิบายไว้อย่างชัดเจนนัก
1) สาเหตุด้านชีวภาพ
ชีววิทยาของการฆ่าตัวตาย
5-Hydroxyindoleacetic acid (5-HIAA) ลดลง
การเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย
2) สาเหตุด้านจิตใจ
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)
ซิกมัน ฟรอยด์ การฆ่าตัวตายว่าเป็นการทำงานของจิตใต้สำนึก
ในการตอบสนองต่อแรงขับของความก้าวร้าวที่หันเข้าสู่ตนเอง
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory)
เป็นผลมาจากการเรียนรู้ต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตรายว่าไม่สามารถแก้ไข
หรือจัดการกับปัญหาเหล่านั้นได้
สาเหตุทางด้านสังคม
การฆ่าตัวตายเกิดจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ไม่ดี
ในระยะ 2 ปีแรกของช่วงชีวิต
สาเหตุด้านจิตวิญญาณ
บุคคลที่ขาดที่พึ่ง หรือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ที่ช่วยเชื่อมโยงความคิดความรู้สึกทุกข์ทรมานทางใจ
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาการฆ่าตัวตาย
1) การประเมินพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย
ข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
และเป็นสาเหตุชักจูงให้ฆ่าตัวตาย
อาการและอาการแสดง
มีความตั้งใจ/มีการวางแผนการฆ่าตัวตายอย่างชัดเจน
ความพร้อมในด้านอหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของผู้ป่วย
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้ารุนแรง
และเคยมีประวัติการทำร้ายตนเอง
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเนื่องจากรู้ว่าตนเองไม่มีคุณค่า
และใช้กลไกทางจิตในการแก้ไขปัญหาไม่เหมาะสม
3) กิจกรรมทางการพยาบาล
การเฝ้าระวัง หรือป้องกันการฆ่าตัวตาย
ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย
การส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
ฝึึกทักษะการเผชิญปัญหาในชีวิตอย่างสร้างสรรค์
4) การประเมินผลทางการพยาบาล