Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 9 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารการพยาบาล,…
หน่วยที่ 9
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารการพยาบาล
องค์การพยาบาล
(Nursing organization)
เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลที่ดำเนินพันธกิจด้านบริการพยาบาล จุดประสงค์คือ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้รอดพ้นจากอันตรายและดำรงชีวิตอย่างผาสุกตามอัตภาพ รวมทั้งส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารการพยาบาล
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อองค์การพยาบาลในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองนโยบาย และด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
9.1 ด้านเศรษฐกิจ
9.1.1 เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
นโยบายปิดเสรีทางการค้า (Free trade policy) และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจทั้งในระดับอวิภาคีและพหุภาคี รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจที่ใช้เทคโนโลยีและความรู้เป็นฐาน ทำให้การแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศทวีความเข้มข้นมากขึ้น ประเทศคู่แข่งทางการค้าต่างพยายามพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้มีคุณภาพและมาตรฐานสูงสุด รวมทั้งใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด เพื่อให้ผลผลิตสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งด้านราคาและคุณภาพผลผลิต
9.1.2 เศรษฐกิจภายในประเทศ
รัฐบาลพัฒนาประเทศตามทฤษฎีความทันสมัย (Modernization theory) เพื่อก้าวสู่ความเจริญเช่นเดียวกับประเทศแถบตะวันตก โดยพัฒนาจากประเทศเกษตรกรรมเป็นประเทศอุตสาหกรรม ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงถึงความพร้อมของปัจจัยการผลิตและศักยภาพพื้นฐานของประเทศสำหรับรองรับสังคมอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพิงปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ ได้แก่ เงิน น้ำมันเชื้อเพลิง วัตถุดิบ เครื่องจักรกล และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่
9.2 ด้านสังคม
9.2.1 ค่านิยมวัฒนธรรมตะวันตก
กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้โลกไร้พรมแดน และมีอิทธิพลต่อการกระจายวัฒนธรรมตะวันตกสู่ประเทศต่าง ๆ ประกอบกับกลยุทธ์ทางการตลาดที่ปลูกค่านิยมการบริโภคสินค้า บริโภคผลิตภัณฑ์ และบริโภคอาหารตามประเทศตะวันตก ค่านิยมบริโภคอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารประเภทโปรตีนจากเนื้อสัตว์ และดื่มน้ำอัดลม เป็นต้น ซึ่งอาหารและเครื่องดื่ม ดังกล่าวมีผลเสียต่อสุขภาพคือ ทำให้เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด
9.2.2 โครงสร้างประชากร
ผลจากการพัฒนาประเทศโดยส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม ทำให้ชุมชนในชนบทมีสภาพเป็นสังคมเมืองมากขึ้น มีการอพยพแรงงานวัยหนุ่มสาวจากชุมชนชนบทเข้าสู่ชุมชนเมือง โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้แหล่งชุมชนแออัดในเขตเมืองและเขตกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นจำนวนมาก มีผลทำให้ประชาชนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ความเป็นสังคมเมืองทำให้ค่าใช้จ่ายของครอบครัวเพิ่มขึ้น บางครอบครัวมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย ความยากจนหรือสภาพการเงินที่อัตคัด ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวและตามมาด้วยการอย่าร้าง
9.2.3 ปัญหาสุขภาพของประชาชน (Health Problems)
1) การเจ็บป่วยจากมลภาวะและสิ่งแวดล้อม
พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม ทำให้จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในเขตเมืองและเขตปริมณฑล ประกอบกับการขาดจิตสำนึกและขาดความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งไม่มีระบบการกำจัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำและลำคลอง ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อม
2) การเจ็บป่วยจากอุบัติเหต
ความเจริญด้านคมนาคม เทคโนโลยี และเครื่องจักรต่าง ๆ ทำให้จำนวนยานพาหนะเพิ่มขึ้น ประกอบกับสภาพการจราจรที่ติดขัดและไม่มีระบบ รวมทั้งสภาะถนนที่ชำรุดทรุดโทรม ตลอดจนความประมาทของผู้ขับขี่ ทำให้เกิดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการคมนาคมเพิ่มขึ้
3) การเจ็บป่วยจากความเครียด
การประกอบธุรกิจในยุคนโยบายการค้าเสรี ซึ่งมีการแข่งขันทางการค้าเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ค่าเงินบาทที่ผันผวน ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและมีความผันผวน ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจเผชิญกับภาวะกดดันมาก เพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอด จึงต้องพยายามคิดค้นยุทธวิธีที่สามารถชนะคู่แข่งทางการค้า รวมทั้งคิดวิธีการจัดการกับภาระหนี้สินเนื่องจากการดำเนินธุรกิจที่ขาดทุน ทำให้มีความเครียด
4) การเจ็บป่วยจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม
จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ค่าครองชีพที่สูงขึ้น เพื่อความอยู่รอดในการดำรงชีพ ทำให้ประชาชนต้องพยายามหารายได้ให้มากขึ้น ประกอบกับสภาพการทำงานที่มีการแข่งขันสูง ทำให้ประชาชนไม่มีเวลาออกกำลังกาย ซึ่งมีผลทำให้ประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง มีจำนวนมากขึ้น
5) การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุ
โครงสร้างประชากรในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และอายุขัยของประชากรที่ยืนยาวขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคกระดูกพรุนและกระดูกหักจากพยาธิสภาพกระดูกพรุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
9.3 ด้านการเมืองนโยบาย
1. การปฏิรูประบบการบริหารราชการ
การปฏิรูประบบราชการ หมายถึง การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การระบบการบริหารงาน ระบบการบริหารงบประมาณ ระบบการบริหารบุคคล กฎหมาย กฎระเบียบ วัฒนธรรม และค่านิยม ปรับลดขนาดองค์การ (downsizing) ยุบรวมหน่วยงาน (merge) ส่งเสริมวัฒนธรรมและค่านิยมการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
จุดเน้นการปฏิรูประบบราชการ 5 ประการ
ขจัดภารกิจที่ไม่จำเป็นและให้ความสำคัญกับการกำหนดภารกิจหลักที่
ชัดเจน โดยปรับระบบการจัดโครงสร้างองค์การให้มีความชัดเจนมีเอกภาพมี
ขนาดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ปรับปรุงระบบการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐโดยปรับเปลี่ยนจากรูป
แบบการบริหารราชการเป็นรูปแบบการบริหารในกำกับของรัฐ
ปรับปรุงวิธีการบริหารงบประมาณที่สนองนโยบายและยุทธศาสตร์
การพัฒนาประเทศโดยใช้ระบบการจัดทำแผน งบประมาณแบบเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์
ปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยรัฐสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพและมีความก้าวหน้า
ในงานการบำรุงขวัญ และเสริมสร้างกำลังใจให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่
ปรับปรุงระบบการให้บริการที่สนองความต้องการของประชาชนมีจิตใจให้
บริการ (Service Mind) สร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมและค่านิยมการทำงานเพื่อประชาชน
2. การปฏิรูปการศึกษา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพโดยกำหนดบทบัญญัติว่าด้วยการจัดการศึกษาหลายมาตราสำหรับหนึ่งในมาตราเหล่านี้คือมาตรา 81 บัญญัติไว้ว่า “รัฐต้องจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแห่งชาติ”
ผลจากนโยบายปฏิรูปการศึกษา
ทำให้ประชาชนมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น มีความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้องขึ้น ทำให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจสิทธิบริการรักษาพยาบาลที่ตนเอง
พึงจะได้รับประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่มีผลกระทบต่อรายได้ของประชาชนทำให้ประชาชนคำนึงถึงความคุ้มค่าของเงินที่ต้องจ่ายในการรักษาพยาบาล จึงใส่ใจกับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพมากกว่าในอดีต
3. การปฏิรูประบบสาธารณสุข
การปฏิรูประบบการดูแลสุขภาพ (Health care reform)
นโยบายเมืองไทยสุขภาพดี (Healthy Thailand) การส่งเสริมสุขภาพในศตวรรษที่ 21
ตามกฎบัตรออตตาวา 5 ประการได้แก่
1.1. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
1.2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
1.3. การสร้างความเข้มแข็งด้านกิจกรรมชุมชนเพื่อสุขภาพ
1.4. การพัฒนาทักษะและส่งเสริมสุขภาพส่วนบุคคล
1.5.การปรับเปลี่ยนการจัดบริการสาธารณสุขส่งผลให้กระทรวง
สาธารณสุขกำหนดนโยบายเมืองไทยสุขภาพดี
นโยบายส่งเสริมประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพแห่งเอเชีย
9.4 ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมสื่อสาร (Information and Communication Technology = ICT)
ความก้าวหน้าของวิทยาการด้านเทคโนโลยีสุขภาพ ทำให้โรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชนได้นำอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยมาใชในการตรวจรักษาโรคและให้บริการพยาบาล เช่น การนำเครื่อง MRI มาใช้ในการเอกซเรย์ การผ่าตัดและรักษาโดยใช้แสงเลเซอร์
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ
กระตุ้นพยาบาลให้ตระหนักถึงความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และใส่ใจกับการเพิ่มพูนความรู้ให้ก้าวทันกับวิทยาการ ดังนั้นในศตวรรษที่ 21
พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ
เทคโนโลยีสุขภาพมาใช้ในการพยาบาล การประเมินสภาพผู้ป่วยและวินิจฉัยโรคเบื้องต้นด้วยเหตุนี้พยาบาลจึงจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะการใช้นวัตกรรมสุขภาพรวมทั้งพัฒนาตนเองให้มีความรู้ที่ก้าวทันกับวิทยาการสมัยใหม่เพื่อร่วมกันพัฒนาองค์การพยาบาลให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ (Organizational Effectiveness )
นางสาวรัชดาวรรณ ภารแสวง 60440101046
นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4