Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มี ภาวะวิกฤต - Coggle Diagram
บทที่ 2
การพยาบาลบุคคลที่มี
ภาวะวิกฤต
1. ความหมายของภาวะวิกฤต
ภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้น
เมื่อบุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตน นประเมินและรับรู้ว่า
มีความคุกคาม ที่อาจทำให้เกิดความสูญเสียหรือความ
เปลี่ยนแปลงต่อตนเอง ภาพพจน์ หรือเป้าหมายในชีวิต
ภาวะวิกฤตทางอารมณ์สามารถ
แบ่งได้เป็น 3 ชนิด
1) สถานการณ์วิกฤต (situational crisis)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดไม่สามารถ
คาดการณ์ล่วงหน้าได้แล้วส่งผลให้ภาวะทาง
อารมณ์ทางจิตใจเสียภาวะสมดุล
2) พัฒนาการวิกฤตหรือวัยวิกฤต (maturation Crisis)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามช่วงวัยต่างๆ ตามกระบวนการเจริญเติบโต
3) ภาวะวิกฤตที่เกิดจากภัยพิบัติ(disaster crisis)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด อาจ
เกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมาเอง
ส่งผลให้เกิดความเสียหาย สูญเสีย
2. ลักษณะอาการและอาการแสดง
ของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่บุคคลที่อยู่ในระยะวิกฤต (crisis stage)
สับสน สมาธิลดลง การตัดสินใจเสีย
มีอาการทางกาย เช่น เจ็บหน้าอก
ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว
รู้สึกผิดและละอาย (guilt and shame)
รู้สึกโกรธ (anger)
ระยะที่ 2 ระยะฉุกเฉิน
รู้สึกขาดที่พึ่งและหนดหนทาง (helplessness)
รู้สึกลังเล (ambivalence)
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่บุคคลซึ่งอยู่ในภาวะที่อ่อนไหว (vulnerable state)
การกระตุ้นจาก
ปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งมักเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์
ที่มาคุกคามหรือปัญหาที่เกิดขึ้น
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่บุคคลไม่สามารถรับความตึงเครียดวิตกกังวล (stress and anxiety)
เป็นจุดแตกหัก (breaking point) ทำให้บุคคลนั้นสูญเสียความสามารถในการกำหนดตัวปัญหา ประเมิน และแยกแยะปัญหาบนพื้นฐานของความเป็นจริงในการแก้ไขปัญหาไป
3. สาเหตุการเกิดภาวะวิกฤตของบุคคล
1) เหตุการณ์วิกฤต
(Negative Events)
เป็นเหตุการณ์หรือราวที่เป็นปัญหาสาเหตุที่ก่อให้เกิด
ภาวะวิกฤตสำหรับบุคคล ซึ่งเหตุการณ์วิกฤตในบุคคลหนึ่งอาจไม่เป็นปัญหาสำหรับอีกบุคคลหนึ่ง
2) การรับรู้ต่อเหตุการณ์วิกฤต
หากบุคคลเห็นว่าเหตุการณ์วิกฤตนั้นเป็น สิ่งคุกคาม (threat) ทำให้เกิดความสูญเสีย ความปวดร้าว หรือความสิ้นหวังจะทำให้บุคคลนั้นเกิดความกังวลและความตึงเครียดตอบสนองต่อเหตุการณ์วิกฤตอย่างไม่ถูกวิธีไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้นได
3) การแก้ไขปัญหา
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา
วิธีการที่บุคคลพยายามแก้ไขปัญหาให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
โดยพยายามแก้ไขที่ตัวปัญหา มีการวางแผนตั้งเป้าหมาย
กระทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วยการมุ่งแก้ไขที่ตนเอง
หรือปรับสิ่งแวดล้อม
เช่น การหาข้อมูลเพิ่มเติม นำประสบการณ์ในอดีต
ที่ใช้ได้ผลมาร่วมแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาแบบมุ่งเน้นอารมณ์
วิธีการที่บุคคลพยายามจัดการอารมณ์และความรู้สึก
ที่เกิดขึ้นจากปัญหา โดยใช้กระบวนการทางความคิด
เช่น การใช้กลไกป้องกันทางจิต แบบปฏิเสธ
หลีกหนีหรือพยายามไม่คิดลืมสิ่งที่เกิดขึ้น
4. การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
1) การประเมินภาวะสุขภาพ
ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่มาคุกคาม
หรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ระดับความรุนแรงของอาการทางกาย
กลวิธีหรือกลไกทางจิตที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤต
บุคลิกภาพเดิม ระดับความอดทน และ
ความเข้มแข็งของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
-แหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม
ของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ ปรัชญาของชีวิต
หรือหลักศาสนาที่ยึดถือในการเผชิญปัญหา
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การเผชิญปัญหาไร้ประสิทธิภาพ
เสี่ยงต่อการกระทำรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น
แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับเปลี่ยนแปลง
บกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
3) การวางแผนการพยาบาล
การพยาบาลระยะสั้น
เพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวลที่มีต่อภาวะวิกฤต
เพื่อลดอาการและอาการแสดงทางกายที่เกิดขึ้น
ในขณะนั้น ๆให้กลับสู่ภาวะปกติ
การพยาบาลระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์
เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
เพื่อส่งเสริมการแสวงหาและเตรียมความพร้อมแหล่ง
สนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมเพียงพอ
เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
4) การปฏิบัติการพยาบาล
การลดความเครียดหรือความวิตกกังวล
ที่มีต่อภาวะวิกฤต
สร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตได้ระบาย
เรื่องราวความทุกข์ใจต่าง ๆ
ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเข้าใจและยอมรับสถานการณ์
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ดูแลช่วยเหลือเรื่องทั่ว ๆไป เช่น กิจวัตรประจำวันหรือเรื่องอื่น ๆ
ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤต
การลดหรือป้องกันอาการและอาการแสดง
ทางกายที่เป็นผลมาภาวะวิกฤต
ประเมินอาการและอาการแสดง
รายงานแพทย์อาการและอาการแสดงทางกาย
ที่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิกฤติ
ดูแลให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตได้รับการรักษาพยาบาล
การฝึกทักษะการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์
เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตพูดถึงกล
วิธีการเผชิญปัญหาที่เคยใช้มาก่อน
ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตเรียนรู้การปรับเปลี่ยน
วิธีการใช้กลไกการเผชิญปัญหาและฝึก
การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้กลไกการเผชิญ
ปัญหาแบบเดิมให้เป็นในทางที่สร้างสรรค์แทน
แสดงการยอมรับ ชื่นชม และให้กำลังใจ
การส่งเสริมการแสวงหาและเตรียมความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสม
เพียงพอเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติของชีวิต
เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตพูดถึงศักยภาพ
ของตนเองในการเผชิญกับปัญหาชีวิตที่ผ่านมา
ส่งเสริมสนับสนุนและวางแผนร่วมกันกับบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ประเมินความพร้อมและติดต่อประสานกับครอบครัว ญาติบุคคลสำคัญที่บุคคลที่มีภาวะวิกฤตไว้วางใจและ
สามารถพึ่งพิงได้หรือแหล่งสนับสนุนทางสังคมอื่น ๆ
5) การประเมินผลการพยาบาล
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีความเครียด
หรือความวิตกกังวลลดลง
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีอาการและอาการแสตงทางกาย
ที่เป็นผลมาจากสถานการณ์วิกฤติของชีวิตลดลง
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติมีวิธีการเผชิญปัญหา
ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติสามารถบอกถึงขั้นตอนหรือวิธีการในการไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตในอนาคต
บุคคลที่มีภาวะวิกฤติสามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสมกับบริบทชีวิตของตนเองได้