Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนโค้งไผ่…
การพัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนโค้งไผ่วิทยา
ความเป็นมาและความสำคัญ
การพัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียน โรงเรียนโค้งไผ่วิทยาจังหวัดกำแพงเพชร พัฒนาขึ้นเพื่อติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียน การเช็คชื่อที่ล่าช้าและข้อมูลการเข้าเรียนสูญหายเมื่อทำการศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ พบว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการพัฒนาระบบนี้ ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียนแต่ละคน
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อพัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียน โรงเรียนโค้งไผ่วิทยา จังหวัดกำแพงเพชร
เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนนี้
ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตของงานที่พัฒนาขึ้นแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามลักษณะของการใช้งานระบบ
อาจารย์ผู้สอน สามารถตรวจสอบตารางสอนของตนเองได้ ออกรายงานผลการเข้าเรียนตามรายวิชา
ที่ตนเองสอนได้ ออกรายงานผลการเข้าเรียนตามห้องเรียนได้ออกรายงานผลการเรียนรายบุคคล ออกรายงานผลการหมดสิทธิ์สอบและพิมพ์ใบรายชื่อของนักเรียนได้
อาจารย์ฝ่ายกิจการนักเรียน สามารถออกรายงานผลการหมดสิทธิ์สอบได้ สามารถออกรายงานผล
การเข้าเรียนตามห้องเรียนได้ และสามารถออกรายงานผลการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคลได้
อาจารย์ฝ่ายวิชาการสามารถตรวจสอบตารางสอนของอาจารย์แต่ละท่านได้ และสามารถออก
รายงานผลการหมดสิทธิ์สอบของนักเรียนได้
นักเรียนสามารถดูตารางเรียนได้ และสามารถดูรายละเอียดการเข้าเรียนและขาดเรียนในแต่ละ
รายวิชาได้
วิธีดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้บริหาร อาจารย์ และนักเรียน โรงเรียนโค้งไผ่วิทยา จังหวัดกำแพงเพชร โดยแบ่งออกเป็น
ผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน 31 คน
นักเรียน จำนวน 300 คน
อภิปรายผลการวิจัย
ระบบนี้สามารถให้บริการลูกค้าได้ตลอดเวลา ทั้งยังสามารถแสดงภาพและรายการชุดและเครื่องประดับทั้งหมดที่มีให้ลูกค้าได้เลือกชมและสามารถเลือกชมตามประเภทของชุดได้ โดยได้ระบุราคาที่ชัดเจนอีกทั้งระบบยังอำนวยความสะดวกแก่เจ้าของร้านในตรวจสอบข้อมูลการจองชุดล่วงหน้า การกำหนดวันรับชุดและเครื่องประดับ การตรวจสอบชุดและเครื่องประดับที่เกินกำหนดระยะเวลาในการคืน รวมทั้งรายงานต่างๆ ผลให้เจ้าของร้านสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
ระบบได้มีการประเมินประสิทธิภาพทั้ง 4 ด้าน โดยด้านการทำงานตามความต้องการของผู้ใช้งาน ด้านการทำงานได้ตามหน้าที่ และด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลนั้นระบบสามารถตอบสนองความต้องการในแต่ละด้านได้อย่างครบถ้วน สำหรับด้านความง่ายต่อการใช้งานนั้น ผู้ใช้งานเห็นว่าระบบสามารถใช้งานได้ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.5 ส่วนประเด็นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ ความสามารถในการค้นหาหรือเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายและความเหมาะสมของปริมาณข้อมูลที่แสดงผล ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.8 ในขณะที่ประเด็นรูปแบบการแสดงผลบนจอภาพที่เหมาะสมและสวยงาม มีค่าเฉลี่ยต่ าที่สุด คือ 4.2 ซึ่งแสดงว่า ผู้วิจัยควรปรับปรุงรูปแบบให้สวยงามเหมาะสมยิ่งขึ้น
จากผลลัพธ์ดังกล่าว สรุปได้ว่า ระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียน โรงเรียนโค้งไผ่วิทยานี้สามารถทำงานได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน และมีประสิทธิภาพ ในการทำงานอย่างเพียงพอ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แผนภาพบริบท แผนภาพกระแสข้อมูล และแผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนการพัฒนาระบบสารสนเทศออนไลน์ได้ใช้เครื่องมือ
คือ ภาษา PHP ระบบการจัดการฐานข้อมูล MySQL และโปรแกรมจำลองเซิร์ฟเวอร์ XAMPP
ขั้นตอนการวิจัย
หลักการของวงจรพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) ของ Dennise, Wixom
and Roth (2010) ได้ถูกนำมาใช้ในการดำเนินการวิจัย โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก
1) ขั้นตอนการวางแผน (Planning Phase) ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับการทำงานในปัจจุบัน รวมทั้งรวบรวมเอกสารต่างๆ เพื่อศึกษาการทำงานของระบบเดิมซึ่งจากนั้นประเมินแล้วพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานสามารถแก้ไขด้วยการพัฒนาระบบสารสนเทศออนไลน์โดยมีการแยกกลุ่มผู้ใช้งานออกเป็น 4 กลุ่ม ตามความจำเป็นในการใช้งาน
2) ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis Phase) ผู้วิจัยได้ศึกษารายละเอียดความต้องการใช้งานระบบ
สารสนเทศเพื่อติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียนโรงเรียนโค้งไผ่วิทยาา จากนั้นวิเคราะห์ระบบได้ผลลัพธ์เป็นแผนภาพบริบท (Context Diagram) และแผนภาพกระแสข้อมูล (Dataflow Diagram: DFD) รวมทั้งแผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Entity-Relationship Diagram: ER diagram)
3) ขั้นตอนการออกแบบ (Design Phase) ผู้วิจัยได้นำผลจากขั้นตอนที่ 2 มาออกแบบฐานข้อมูลโดยใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล MySQL พร้อมทั้งออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้
4) ขั้นตอนการพัฒนา (Implementation Phase) ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบสารสนเทศออนไลน์เพื่อ
ติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียนโรงเรียนโค้งไผ่วิทยาโดยใช้ภาษา PHP ร่วมกับฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นในขั้นตอนที่ 3
การวิเคราะห์ระบบ
ระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียนโรงเรียนโค้งไผ่วิทยา นี้มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบจำนวน 4 กลุ่มและมีความสัมพันธ์กับระบบดังนี้คือ
1) อาจารย์ผู้สอน ระบบจะได้รับข้อมูลของอาจารย์ผู้สอนจากอาจารย์ผู้สอน และระบบจะให้ข้อมูลใบรายชื่อ ตารางสอน รายงานผลการเข้าเรียนตามรายวิชารายงานผลการเข้าเรียนตามห้องเรียน รายงานผลการเข้าเรียนเป็นรายบุคคล และรายงานผลการหมดสิทธิ์สอบของนักเรียนกลับมายังอาจารย์ผู้สอน
2) อาจารย์ฝ่ายกิจการนักเรียน ระบบจะให้ข้อมูลรายงานผลการหมดสิทธิ์สอบของนักเรียน รายงานผล การเข้าเรียนตามห้องเรียนและรายงานผลการเข้าเรียนเป็นรายบุคคลแก่อาจารย์ฝ่ายกิจการนักเรียน
3) อาจารย์ฝ่ายวิชาการ ระบบจะได้รับข้อมูลตารางสอน ข้อมูลวิชาเรียนและข้อมูลห้องเรียนจากอาจารย์ฝ่ายวิชาการและระบบจะให้ข้อมูลตารางสอน และรายงานผลการหมดสิทธิ์สอบของนักเรียนกลับมายังอาจารย์ฝ่ายวิชาการ
4) นักเรียน ระบบจะได้รับข้อมูลของนักเรียนและข้อมูลการเข้าเรียนจากนักเรียน และระบบจะให้ข้อมูลตารางเรียนและรายงานการเข้าเรียนกลับมายังนักเรียน
ระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียโรงเรียนโค้งไผ่วิทยา มีความสัมพันธ์กันดังนี
1) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอาจารย์ผู้สอนและข้อมูลรายวิชา เป็นความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม(many to many) เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านรับผิดชอบรายวิชาที่สอนมากกว่า 1 รายวิชาและรายวิชาแต่ละรายวิชามีอาจารย์ผู้สอนที่รับผิดชอบมากกว่า 1 ท่านเช่นกัน
2) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลรายวิชา ข้อมูลนักเรียนและข้อมูลห้องเรียนเป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (one to one) เนื่องจากในช่วงเวลาของตารางสอนในแต่ละช่วงเวลา อาจารย์ผู้สอน นักเรียน จะไม่สามารถทำการเรียนการสอนในเวลาเดียวกันได้ในรายวิชาเดียวกันนและไม่สามารถทำการเรียนการสอนได้ในห้องเรียนเดียวกันได้เช่นกัน
สำหรับการประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศนั้น ได้ใช้เกณฑ์ในการตรวจสอบ 4 ด้าน คือมีความถูกต้องแม่นยำ มีความทันต่อเวลาสะดวกต่อการใช้งาน มีความสมบูรณ์ของข้อมูลครอบถ้วน และมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
สรุปผลการวิจัย
จากการประเมินประสิทธิภาพ ทั้ง 4 ด้าน ได้ผลสรุป ดังนี้
ด้านการทำงานตามความต้องการของผู้ใช้งาน
ผู้วิจัยได้แบ่งการทดสอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สำหรับเจ้าของร้าน และสำหรับสมาชิก โดยได้ทดลองใช้งานกับข้อมูลทดสอบ จำนวน 10 ชุด พบว่าระบบสามารถทำงานได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานทั้ง 2กลุ่ม ได้อย่างครบถ้วน
ด้านการทำงานได้ตามหน้าที่
ผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลทดสอบจำนวน 10 ชุดในการทดสอบการทำงาน ระบบติดตามพฤติกรรมการเข้า
เรียนของนักเรียน โรงเรียนโค้งไผ่วิทยาจากการทดสอบพบว่า ระบบสามารถท างานดังกล่าวได้อย่างถูกต้องทุกครั้ง
ด้านความง่ายต่อการใช้งาน
ความคิดเห็นที่ผู้ทดลองใช้งาน มีต่อการใช้งานระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียนโรงเรียนโค้งไผ่วิทยา อยู่ในระดับมากที่สุด
ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
ระบบได้มีการออกแบบให้ใช้ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านสำหรับสมาชิกแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีการกำหนดชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านแยกตามกลุ่มผู้ใช้งาน