Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภูมิปัญญาภาคเหนือ โคมล้านนา, นนทภร ศิรบรรจงกราน ม.4/1 เลขที่ 30 - Coggle…
ภูมิปัญญาภาคเหนือ
โคมล้านนา
ลักษณะ
ในช่วงก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือนยี่ ชาวล้านนาที่มีฝีมือเชิงช่างจะประดิษฐ์โคมรูปลักษณะต่างๆ เพื่อเตรียมใช้ในการจุดผางประทีสบูชาที่วัดในวันเพ็ญเดือนยี่
การแขวนใส่ค้างโคมบูชาตามพระธาตุเจดีย์ แขวนไว้หน้าวิหาร กลางวิหาร หรือในปัจจุบันนิยมแขวนประดับตกแต่งตามอาคารบ้านเรือน
โคมรูปแบบโบราณที่พบทั่วไปในล้านนา เช่น โคมรังมดส้ม (โคมธรรมจักร) โคมดาว โคมไห โคมเงี้ยว(โคมเพชร) โคมกระบอก โคมหูกระต่าย โคมดอกบัวโคมญี่ปุ่น โคมผัด ฯลฯ
โคมต่างๆเหล่านี้ ส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่เฮียะ นำมาหักขึ้นเป็นโครง ติดกระดาษสาหรือกระดาษแก้ว ผ้าดิบ ตัดลายกระดาษสีเงิน สีทอง ประดับตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม
ขั้นตอน/วิธีการ
(วิธีทำโคมลอย)
อุปกรณ์การทำโคมลอย
กระดาษว่าว กาวลาเท็กซ์ วงไม้ไผ่
ลวดอ่อน กระดาษทิชชู่ เทียนไข
1 เหลาไม้ไผ่ทำเป็นวงๆ เตรียมไว้สำหรับทำปากโคมลอย
2 นำกระดาษว่าวสีขาวแผ่นบางๆ มาทากาวต่อกัน
3 นำกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัสแผ่นเล็กๆ มาเชื่อมต่อตรงที่หัวของโคมลอย
4 ส่วนตรงปลายนำวงไม้ไผ่มาติดเป็นวงกลมทำเป็นปากโคม นำไปตากแดดให้กาวแห้ง
5 หากจะปล่อยต้องมีอุปกรณ์เสริม โดยนำม้วนกระดาษทิชชูมาตัดเป็นท่อนเล็กๆ ชุบกับเทียนขี้ผึ้งและผึ่งไว้ให้แห้งสนิท
6 นำมาผูกติดที่ปากโคมลอย เมื่อเราจะปล่อยก็จุดไฟให้ควันเป็นตัวดันให้โคมลอยขึ้น
สาระและข้อคิด
ได้อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ
ได้เรียนรู้วิธีการทำโคมลอย
แนวทางการเผยแผ่
จัดงานนิทรรศการแสดงโคมล้านนาแบบต่างๆ
มีการนำโคมมาประดับในงานเทศกาลต่างๆมากขึ้น
จัดให้มีการฝึกสอนการทำโคมแบบต่างๆ
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
เปลี่ยนรูปแบบการถ่ายทอด ไม่ควรใช้โคมลอยมากเกินไป เพราะเป็นการสร้างขยะ
นำโคมที่เคยใช้แล้วในเทศกาลครั้งก่อน มาใช้ใหม่
นนทภร ศิรบรรจงกราน ม.4/1 เลขที่ 30