Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Amniotic fluid embolism ; AFE ภาวะน้ำคร่ำอุดตันหลอดเลือด, แป้งหน้าหมา…
Amniotic fluid embolism ; AFE ภาวะน้ำคร่ำอุดตันหลอดเลือด
ระบาดวิทยา (Incidence)
พบน้อยประมาณ 1/8000 ถึง 1/80,000 ของการคลอด
อาจเนื่องด้วยในปัจจุบันเกณฑ์การวินิจฉัยโรคน้ำคร่ำอุดกั้นปอดยังไม่ชัดเจน
ปัจจัยเสี่ยง (Risk factor)
การคลอดไวเกิน (Precipitated labour)
อายุมารดา
การฉีกขาดของปากมดลูก
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ภาวะรกเกาะต่ำ
ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
การตั้งครรภ์มากกว่า 5 ครั้ง
การชักนำการคลอดด้วยยา
ทารกเกิดภาวะเครียดในครรภ์ (fetal distress)
ภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ
พยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology)
น้ำคร่ำ จะพลัดเข้าสู่กระแสเลือดมารดาได้จำเป็นต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ
2) มีทางเปิดติดต่อกันของน้ำคร่ำกับเส้นเลือดดำมารดา
1) ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว
3) มดลูกมีการหดรัดตัว ทำให้เกิดความแตกต่างของแรงดันภายในมดลูกสูงพอที่จะดันให้น้ำคร่ำผ่านเข้าสู่กระแสเลือดดำของมารดาได้
การเกิดภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอดอยู่ 2 ประการ คือ
1) เกิดจากส่วนประกอบของน้ำคร่ำไปอุดกั้นหลอดเลือดดำเล็ก ๆ ในปอด เมื่อน้ำคร่ำเข้าไปในหลอดเลือดดำของมารดา เลือดที่มีน้ำคร่ำอยู่จะไหลเวียนกลับไปยังหัวใจเพื่อไป ฟอกที่ปอดน้ำคร่ำดั่งกล่าวก็จะไปอุดตันในหลอดเลือดดำเล็ก ๆ ในปอดทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดทำไม่ได้และน้ำคร่ำที่ไปอุดกั้นใน หลอดเลือดที่ปอดทำให้เลือดไหลเวียนกลับมายังหัวใจซีกซ้ายน้อยลง หัวใจจึงสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อย
2) เกิดจากการตอบสนอง ของระบบภูมิคุ้มกันของมารดาต่อสารหรือส่วนประกอบ (complements) บางอยางที่ผิดปกติในน้ำคร่ำ เป็นสารหรือตัวกระตุ้นให้หลอดเลือดในปอดหดเกร็ง ระบบภูมิคุ้มกันของมารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารหรือ ส่วนประกอบเหล่านั้นเกิดกระบวนการอักเสบและ คล้ายปฏิกิริยาของการแพ้อย่างรุนแรง
อาการและอาการแสดง (Clinical presentation)
อาการและอาการแสดงของภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว (hemodynamic collapse) ผู้คลอดจะเริ่มจากหายใจลําบาก แน่นหน้าอกเขียวตามปลายมือปลายเท้า ใบหน้าและลำตัวเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด หัวใจและปอดหยุดทำงานตรวจพบความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเร็ว อาจมีอาการชัก เกร็ง หมดสติหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีมารดามโอกาสเสียชีวิตถึง 50% และทารกในครรภ์อาจ เกิดภาวะขาดออกซิเจน
ระยะที่ 2 ภาวะเลือดไม่แข็งตัว (coagulopathy) อาจพบมดลกหดรูดตัวไม่ดีมี การตกเลือดหลังคลอด ตรวจพบเกร็ดเลือดตํ่า และ ระยะเวลาการแข็งตัวของเลือดยาวนาน เกิดภาวะ DIC และเสียชีวิตในที่สุด
การวินิจฉัย (diagnosis)
การวินิจฉัยด้วยอาการแสดง (Clinical diagnosis)
1.มีความดันโลหิตต่ำอย่างเฉียบพลันหรือหัวใจหยุดเต้น
2.มีภาวะขาดออกซิเจนอย่างเฉียบพลันโดยผู้ป่วยจะมีอาการหอบ เขียว หยุดหายใจอย่างรวดเร็ว
5.ไม่สามารถตรวจพบว่ามีโรคหรือภาวะอื่นที่ทำให้มีอาการเหล่านี้ได้
3.มีภาวะ coagulopathy อย่างรุนแรง
4.เกิดอาการขณะเจ็บครรภ์คลอด ทำคลอด ขูดมดลูก หรือภายใน 30นาทีหลังคลอด
การวินิจฉัยแยกโรค (Differential diagnosis)
สาเหตุทางสูติกรรม
ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
มดลูกแตก มดลูกไม่แข็ง
ชักจากครรภ์เป็นพิษ
หัวใจทำงานผิดปกติระหว่างการคลอด
สาเหตุที่ไม่ใช่ทางสูติกรรม
การมีก้อนอุดกั้นปอด
อากาศอุดกั้นปอด
อาการแพ้อย่างรุนแรง
ความดันตกจากการติดเชื้อ
การสำลัก
หัวใจขาดเลือด
สาเหตุด้านการดมยา
การฉีดยาชาเข้าไขสันหลังสูงเกิน
พิษจากยาชา
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนผ่านทาง Bag หรือ Mask หรือทาง Endotrachial tube
ดูแลให้ได้รับยาและเลือดตามแผนการรักษา
จัดท่าผู้คลอดนอนในท่า Fowler's position
ช่วยเหลือการคลอดโดยใข้ Forceps หรือผ่าคลอด
ดูแลและเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากภาวะกลไกการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
ช่วยแพทย์ทำการช่วยกู้ชีพทารกแรกเกิด
Neonatal Resuscitation ในกรณีที่ทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน และหยุดหายใจ
ประเมินสันญาณชีพ(Vital sign) ตามแผนการรักษา
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ประเมินและบันทึกสารน้ำเข้า- ออก
หากมีการเสียชีวิตเกิดขึ้นควรดูแลด้านจิตใจของครอบครัว และให้กำลังใจ
การคลอดทารก (Delivery of the fetus)
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด พบระหว่างเจ็บครรภ์คลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด หากภาวะนี้เจอช่วงระหว่างคลอด ควรประเมินความจำเป็นของการคลอดทันทีการตัดสินใจแล้วแต่ผู้ป่วยแต่ละคน แต่ปัจจัยที่พิจารณาว่าการคลอดควรจะฉุกเฉิน ประกอบด้วย หัวใจทารกเต้นผิดปกติ มารดามีภาวะแย่ลงอย่างรวดเร็ว หรือเป็นทางเลือกให้คลอดทารกเพื่อความสะดวกในการช่วยเหลือมารดา
วิธีการคลอด
ช่วยคลอดทางช่องคลอด ในกรณีปากมดลูกเปิดหมดและหัวเด็กลงต่ำถึงระดับ +2 หรือพิจารณาวิธีที่เหมาะสม
ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เป็นวิธีที่นิยมและส่วนใหญ่จะผ่าตัดคลอด ทางหน้าท้องทันทีในกรณีที่หัวใจมารดาหยุดเต้นและ ทารกมีอายุครรภ์มากพอที่จะเลี้ยงรอดได้
การรักษา
ภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอดยังไม่มี การรักษาโดยเฉพาะ แต่จะรักษาตามอาการและแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าเท่านั้น โดยมีแนวทาง ได้แก่
2) ป้องกัน ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจล้มเหลว ได้แก่ป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำ และการไหลเวียนเลือดของหัวใจซีกซ้ายล้มเหลว
3) ป้องกันและแก้ไขภาวะเลือด แข็งตัวผิดปกติและภาวะตกเลือดด้วยการให้เลือด และองค์ประกอบของเลือดต่าง ๆ รักษาภาวะ DIC ด้วยยา heparin
1) ป้องกันและแก้ไขภาวะขาดออกซิเจนด้วยการให้ออกซิเจน 100%
4) ช่วยคลอดให้ เร็วที่สุดเพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะขาดออกซิเจนของทารก
ความหมาย
ภาวะน้ำคร่ำอุดตันในหลอดเลือด (Amniotic fluid embolism) คือภาวะที่มีน้ำคร่ำรั่วเข้าสู่กระแสเลือดของผู้คลอด แล้วไปอุดกั้นบริเวณหลอดเลือดดำที่ปอด ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านส่วนประกอบในน้ำคร่ำ เช่น ขนอ่อน ไข ผม ขี้เทา เป็นต้น ส่งผลให้ระบบหายใจหรือหัวใจล้มเหลว มีอาการชัก มีหลอดเลือดหดรัดตัวทั่วร่างกาย และเกิดความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เช่น ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (Disseminated intravascular coagulation: DIC) เป็นต้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.ผู้คลอดมีภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากเกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลว
2.ทารกในครรภมีภาวะเครียด (Fetal distress) เนื่องจากได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอขณะมารดามีภาวะ น้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
3.ผู้คลอดเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย จากภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากพยาธิสภาพของภาวะน้ำคร่ำอุดกั้น หลอดเลือดในปอดได้แก่ปอดบวมน้ำการตกเลือดอย่างรุนแรง และ ภาวะช็อค
4.สามีครอบครัว และญาติมีภาวะวิตกกังวลเกี่ยวกับแผนการรักษาและความปลอดภัยของมารดาและ ทารก
แป้งหน้าหมา หีหมายังกว้างกว่าใจเธอ