Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันเเละช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุเเละสารพิษ, F3979D74-CBDA…
การป้องกันเเละช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุเเละสารพิษ
การจมน้ำ(drowning)
Drowning
ผู้ที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ
Near-Drowning
ผู้ที่จมน้ำแต่ไม่เสียชีวิตทันที
พยาธิสภาพ
เมื่อเด็กจมน้ำและหายใจในน้ำครั้งเเรก เด็กจะไอจะการระคายเคืองที่มีน้ำในจมูกและคอ อากาศและน้ำเข้าหลอดลมไม่ได้เกิดภาวะขาดออกซิเจน เมื่อน้ำเข้าปอดทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนได้
ประเภทของการจมน้ำ
การจมน้ำเค็ม(salt-water drowning)
น้ำเค็ม(hypertonic solution) ทำให้เกิดภาวะ pulmonary edema)
เมื่อน้ำในร่างกายไหลเวียนลดลง เกิดภาวะ hypovolemic
เมื่อเกลือเเร่ในร่างกายสูง
หัวใจเต้นผิดปกติ
หัวใจวาย
ช็อค
การจมน้ำจืด(freshwater-drowning)
น้ำจืด(hypotonic solution) เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของปอดอย่างรวดเร็ว เกิด hypervolemic
เมื่อระดับเกลือแร่ในร่างกายลดลง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
หัวใจวาย
อาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
วิธีช่วยเด็กจมน้ำ
กรณีที่เด็กรู้สึกตัว
ให้รีบเช็ดตัวเปลี่ยนเสื้อผ้า ใช้ผ้าคุมตัวเพื่อทำให้เกิดความอบอุ่น จัดให้นอนในท่าตะแคงกึ่งคว่ำ แล้วนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
กรณีที่เด็กหมดสติ
เช็คว่ายังมีลมหายใจอยู่ไหม หัวใจเต้นหรือไม่ ถ้าไม่ให้โทรเรียกรถพยาบาล จากนั้นให้ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยนวดหัวใจสลับกับการช่วยหายใจ
วิธีช่วยเด็กโดยการเป่าปาก
จัดศีรษะให้หงายมากที่สุด ใช้ฝ่ามือกดหน้าผากเด็กไว้
แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือและนิวชี้บีบจมูก จากนั้นจึงใช้ปากครอบ
ลงบนปากผู้ป่วยให้มิดเเล้วเป่าสุดลมหายใจ
ดูว่าหน้าอกผู้ป่วยขยายหรือไม่
ถ้าไม่ขยาย ให้ปล่อยมือพี่บีบจมูกไว้ จากนั้นเป่าลมเข้าไปใหม่
ทำสลับกับการนวดหัวใจ โดยนวดหัวใจ 30 ครั้ง
สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง
วิธีช่วยเด็กโดยการนวดหัวใจ
ให้เด็กนอนราบบนพื้นแข็ง
วัดตําแหน่งที่เหมาะกับการนวดหัวใจ ใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัดวาง
และเกี่ยวนิ้วมือทับแนบชิดในร่องนิ้วมือของมือข้างล่าง
ผู้ช่วยเหลือดึงไหล่และแขนเหยยีดตรง จากนั้นปล่อยน้ำหนักตัวผ่านไหล่ไปสู่ลําแขนทั้งสองลงสู่กระดูกหน้าอก กดประมาณ 2 นิ้ว กดลงแนวดิ่ง ทําสลับกับการเป่าปาก
การพยาบาล
มีภาวะขาดออกซิเจน เนื่องจากมีการขัดขวาง
การแลกเปลี่ยนก๊าซจากการสูดหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
2.ให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ
3.เพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกายเพราะขณะเด็กจมน้ำ
มักจะมีอุณหภูมิร่างกายที่ต่ำกว่าปกติ
4.สังเกตและประเมินอาการที่แสดงถึงภาวะการได้รับ
ออกซิเจนไม่เพียงพอจากสัญญาณชีพและสีผิว
2.เสี่ยงต่อภาวะไหลเวียนล้มเหลว
และเสียสมดุลอิเล็คโตไลท์
กิจกรรมการพยาบาล
1.จำกัดและควบคุมการให้สารน้ำและอิเล็คโตไลท์
ทางหลอดเลือดดำในรายที่จมน้ำจืด เพราะเด็กอยู่ในภาวะน้ำเกินอยู่
2.เพิ่มปริมาณของเหลวในหลอดเลือด
ในรายที่จมน้ำเค็มด้วยการให้สารน้ำทางหลอดเลือด
3.ติดตามผลอิเล็คโตไลท์และบันทึกปริมาณน้ำเข้าและออก
4.สังเกตและประเมินสัญญาณชีพ ความดันหลอดเลือดดำ
การปริมาณสารน้ำเข้า-ออก
3.เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากมีการ
สำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าทางเดินหายใจ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์
2.ประเมินอาการและอาการแสดงที่
บ่งบอกถึงลักษณะการติดเชื้อ
สัญญาณชีพ
สภาพปอด
ลักษณะการหายใจ
ลักษณะเสมหะ
ไฟไหม้เเละน้ำร้อนลวก
(burn and scald)
ภาวะที่เนื้อเยื่อได้รับอันตราย
จากการถูกความร้อนที่มากเกินไป
ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อและเกิดแผล
พยาธิสภาพ
เมื่อเนื้อเยื่อของร่างกายถูกสัมผัสกับความร้อนทำให้
มีการทำลายของหลอดเลือดส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้น
ตายทำให้มีเลือดไปเลี้ยงน้อยลงเกิดการรั่วไหลของพลาสม่า
ซึ่งมีส่วนของอัลบูมินทำให้เกิดการบวมของเนื้อเยื่อ
สาเหตุของแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ความร้อน
ไฟ(เตาไฟ ตะเกียง พลุ บุหรี่)
วัตถุที่ให้ความร้อน (เตารีด)
น้ำร้อน
น้ำมันร้อนๆ
กระแสไฟฟ้าจากไฟฟ้าช็อต
สารเคมี
กรด ด่าง
รังสี
แสงแดด(แสงอัลตราไวโอเลต)
อาการแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ขนาดความกว้างของบาดแผล
บริเวณพื้นที่ของบาดแผลที่มีขนาดใหญ่อาจทำให้
ร่างกายสูญเสียน้ำโปรตีนและเกลือแร่ถึงกลับ
เกิดภาวะช็อกได้และมีโอกาสติดเชื้อถึงขั้นเสียชีวิต
การคิดการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์
ของพื้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย
เทียบว่า ให้แผลขนาดหนึ่งฝ่ามือของผู้ป่วย = 1%
ของผิวหนังทั่วร่างกาย
ความลึกของบาดแผล
สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ
ระดับที่ 1
เนื้อเยื่อชั้นผิวหนังถูกทำลายบางส่วน มีอาการเป็นผื่นแดง
แสบร้อน ผิวหนังยังไม่พอง
ระดับที่ 2
มีการทำลายของผิวหนังลึกถึงชั้นใน จะมีอาการบวมแดง
มากขึ้นมีผิวหนังพองและมีน้ำเหลืองซึม
รู้สึกปวดแสบปวดร้อนมากพอเส้นประสาทบริเวณผิวหนัง
ยังเหลืออยู่ไม่ได้ถูกทำลายไปมากนัก อาจทำให้สูญเสียน้ำ
โปรตีนและเกลือแร่ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
ระดับที่ 3
มีการทำลายของบาดแผลถึงชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด
อาจลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือกระดูก ผู้ป่วยมักจะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผล เนื่องจากเส้นประสาทที่อยู่บริเวณผิวหนังเเท้ถูกทำลาย
การปฐมพยาบาล
ระดับที่ 1
ล้างด้วยน้ำสะอาด หรือแช่อวัยวะที่เป็นแผลลงในน้ำสะอาดประมาณ
15- 20 นาทีจนกว่าอาการปวดแผลปวดแสบปวดร้อนจะลดลง
การรักษา
ช่วยหายใจ เมื่อสูดควันเเก๊ส
ดูแลระบบไหลเวียนด้วยการให้สารน้ำ
การรักษาบาดแผล
การตกแต่งบาดแผล เป็นการกำจัดเนื้อตายจากบาดแผล
การปลูกถ่ายผิวหนัง
การพยาบาล
1.เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน เนื่องจาก
มีการบวมของทางเดินหายใจ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ติดตามและประเมินอาการอย่างใกล้ชิด เด็กอาจมีมีปัญหาเรื่องของการหายใจ ถ้าพบต้องรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาให้ออกซิเจนแก่เด็กทันที
2.ดูแลเปิดทางเดินหายใจให้โล่งและ
ให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอออ
2.เเสี่ยงต่อภาวะช็อก เนื่องจากสูญเสียน้ำ
และพลาสม่าออกนอกร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลให้รับสารน้ำและอิเล็คโตไลท์
เพื่อทดแทนสารน้ำที่รั่วออกนอกหลอดเลือด
2.วัดสัญญาณชีพ ความดันหลอดเลือดกลาง
ส่งตรวจและติดตามผลการตรวจอิเล็คโตไลท์ในเลือด
4.ประเมินระดับการรู้สึกตัว
5.สังเกตและบันทึกปริมาณปัสสาวะที่ออก
3.เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากผิวหนังถูก
ทำลายและภูมิคุ้มกันต่ำลง
กิจกรรมการพยาบาล
1.จัดให้เด็กอยู่ในห้องแยกเฉพาะ
อุปกรณ์ต้องปราศจากเชื้อ
2.ดูแลให้เด็กได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
3.ทำความสะอาดบาดแผลโดยเทคนิคปราศจากเชื้อ
4.สังเกตเเละประเมินลักษณะของบาดเเผล
เปลี่ยนเป็นสีดำ น้ำตาล ซีด
ลักษณะของสารคัดหลัง
4.เสี่ยงต่อโภชนาการบกพร่อง
เนื่องจากมีการเผาผลาญเพิ่มขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารครบ ในเด็กที่มีแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกจะมีอัตราการเผาผลาญและความต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น ควรได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเสริมด้วยวิตามินและเผื่อแร่
2.ชั่งน้ำหนักวันละครั้งเพื่อประเมินว่าเด็กได้รับสารอาหารเพียงพอ
3.สังเกตอาการที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร
เด็กอาจมีเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร
5.เสี่ยงต่อความพิการเนื่องจากการหดรั้ง
ของเนื้อเยื่อบริเวณแผล
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลให้เด็กบริหารกล้ามเนื้อบริเวณแขนขา
เพื่อป้องกันการยึดติดแข็งของข้อ
2.ดูแลให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
ป้องกันการติดเชื้อที่แผลเพื่อให้แผลหายเร็ว
4.ติดตามประเมินผลบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณอวัยวะที่เกิดแผล
กระดูกหักและข้อเคลื่อน
(fracture and dislocation)
ความหมาย
กระดูกหัก
ภาวะที่โครงสร้างหรือส่วนประกอบ
ของกระดูกแยกออกจากกัน
ข้อเคลื่อน
มีการเคลื่อนของข้อหรือกระดูกหลุดออกจากเบ้าซึ่ง
การบาดเจ็บของข้อและกระดูกทำให้เนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบกระดูกหลอดเลือดน้ำเหลืองเส้นประสาทและเส้นเอ็นได้รับอันตรายด้วย
สาเหตุ
เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุมีแรง
กระแทกบริเวณกระดูกโดยตรง
ถูกตี
รถชน
ตกจากที่สูง
อาการและอาการแสดง
มีอาการปวดและกดเจ็บ บริเวณที่กระดูกมี
พยาธิสภาพโดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหว
บวม เนื่องจากมีเลือดออกบริเวณที่กระดูกหัก
ทำให้บริเวณนั้นดูใหญ่ขึ้น
รอยดำเขียวรอยดำเขียว เนื่องจากมีเลือดซึม
หรือมีรอยฟกช้ำจากถูกแรงกระแทก
อวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะผิดรูป
มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
หลักการดูแลเมื่อเข้าเฝือก
ภายใน 24 ชั่วโมงแรกควรประเมินเด็กทุก 1 ชั่วโมงเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากเฝือกบีบแน่นเกินไปทำให้เกิดอาการบวมของ
หลอดเลือด สามารถประเมินสามารถประเมินได้จาก 5 PS
จับชีพจรว่าเต้นแรงหรือไม่เปรียบเทียบกับข้างที่ปกติ
สังเกตบริเวณเอายวะส่วนปลายที่ปลายมือปลายเท้า
ผิวหนังเล็บถ้าไหลเวียนไม่ดีอวัยวะจะมีสีคล้ำ ซีด
เคลื่อนไหวนิ้วมือนิ้วเท้าไม่ได้จากเส้นประสาทถูกกด
อาการเจ็บปวดที่มากกว่าเดิม
อาการบวมอาจเกิดจากการเข้าเฝือกแน่นเกินไป
ยกส่วนที่เข้าเฝือกให้สูงเล็กน้อยเพื่อช่วยลดอาการบวม
ดูเเลเฝือกห้ามเปียกน้ำ
การพยาบาล
1.เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อรอบกระดูกที่หักได้
รับบาดเจ็บเนื่องจากการทิ้งแทงของกระดูก
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินลักษณะการบาดเจ็บโดยสังเกตเเละ
ดูการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆ
2.เคลื่อนย้ายเด็กด้วยความระมัดระวัง
2.เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจาก
การเคลื่อนไหวถูกจำกัด
กิจกรรมการพยาบาล
1.กระตุ้นให้เด็กได้มีการออกกำลังกายบริเวณกล้ามเนื้อและข้อต่างๆในรายที่เข้าเฝือกแนะนำให้ออกกำลังโดยเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ในเฝือกบ่อยๆ
2.เปลี่ยนท่าที่เหมาะสมให้เด็กอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
3.ลดอาการท้องผูกด้วยการกระตุ้นให้เด็กมีการเคลื่อนไหว
จัดอาหารที่มีกากมาก ดื่มน้ำให้เพียงพอ
3.เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่กระดูก
เนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังถึงกระดูก
กิจกรรมการพยาบาล
1.ทำความสะอาดบาดแผลโดยชะล้าง
สิ่งเเปลกปลอมในแผลให้หมด ใช้น้ำเกลือล้างแผล
2.ประเมินอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกว่ามีการติดเชื้อ
3.ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
4.ดูแลให้เด็กได้รับประทานอาหารที่ช่วย
สร้างเสริมเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ
เเคลเซียม
โปรตีน
4.เครียดวิตกกังวลจากความเจ็บปวดและ
การเข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินสภาพความต้องการด้านจิตใจของเด็กและญาติ
สร้างความมั่นใจและความรู้สึกที่ดีแก่เด็กและญาติด้วยการแนะนำและอธิบายให้เข้าใจถึงการรักษาพยาบาล
3.จัดกิจกรรมหรือเปิดโอกาสให้เด็กและญาติมีการระบายออกมา
4.ประเมินอาการเจ็บปวดและให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
สารพิษ❌
ความหมาย
สารเคมีที่มีสภาพเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน การฉีด การหายใจหรือการสัมผัสทางผิวหนัง ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายซึ่งจะอันตรายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติปริมาณและทางที่ได้รับสารพิษนั้น
การจำแนกสารพิษตาม
ลักษณะการออกฤทธิ์
ชนิดกัดเนื้อ
ทำให้เนื้อเยื่อร่างกายไหม้ พอง
สารละลายพวกกรดและด่างเข้มข้น
น้ำยาฟอกขาว
ชนิดทำให้ระคายเคือง
ทำให้เกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน
และอักเสบในระยะต่อมา
ฟอสฟอรัส
สารหนู
อาหารเป็นพิษ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ชนิดที่กดระบบประสาท
ทำให้หมดสติ หลับลึก
ปลุกไม่ตื่น ม่านตาหดเล็ก
ฝิ่น
มอร์ฟีน
พิษจากงูบางชนิด
ชนิดที่กระตุ้นระบบประสาท
ทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่ง ใบหน้าและผิวหนังแดง
ชีพจรเต้นเร็ว ม่านตาขยาย
ยาอะโทปีน
การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
การคลื่น อาเจียน 🤮 ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก
มีกลิ่นสารเคมีบริเวณปาก
เพ้อ ชัก หมดสติ อัมพาตบางส่วน อาจมีการ
ขยายหรือหดของม่านตา
หายใจขัด หายใจลำบาก มีเสมหะมาก เขียวตามปลายมือปลายเท้า
ตัวเย็น เหงื่อออกมาก มีผื่นหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ
ทางปาก
ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเพื่อ
เอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ทำให้สารพิษเจือจางด้วยการให้นม
นำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างท้อง
เอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ข้อห้ามในการทำให้ผู้ป่วยอาเจียน
ได้รับสารพิษชนิดกัดเนื้อ เช่น กรด ด่าง
ให้สารดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร
เพื่อลดปริมาณการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
สารที่ใช้ได้ผลดี
Activated charcoal
ผู้ที่ได้รับสารพิษกัดเนื้อ
กรด ด่าง เป็นสารเคมีที่พบในชีวิตประจำวัน
กรดซัลฟิวริก
กรดไฮโดรคลอริก
โซเดียมคาร์บอเนต
อาการเเละอาการเเสดง
ไฟไหม้ ร้อนบริเวณปาก ลำคอ
เเละท้อง คลื่นไส้อาเจียน กระหายน้ำ
มีภาวะช็อค
ชีพจรเบา
ผิวหนังเย็นชื้น
การปฐมพยาบาล
ถ้ารู้สึกตัวดีให้ดื่มนม
อย่าทำให้อาเจียน
รีบนำส่งโรงพยาบาล
ผู้ที่ได้รับสารพวกน้ำมันปิโตรเลียม
ได้เเก่ น้ำมันก๊าด เบนซิน
ยาฆ่าแมลงชนิดน้ำมัน เช่น DTT
อาการและอาการแสดง
แสบร้อนแสบร้อนบริเวณปาก คลื่นไส้ อาเจียน
อาจสำลักเข้าไปในปอดทำให้
หายใจออกมามีกลิ่นน้ำมัน
อัตราการหายใจและชีพจรเพิ่มขึ้น
อาจมีการขาดออกซิเจนถ้ารุนแรงจะเขียวตามปลายมือปลายเท้า
การปฐมพยาบาล
รีบนำส่งโรงพยาบาล
ห้ามทำให้อาเจียน
ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยอาเจียน
ให้จัดศีรษะต่ำเพื่อป้องกันการสำลักสำลักน้ำมันเข้าปอด
ผู้ที่ได้รับยาแก้ปวด ลดไข้
อาการและอาการแสดง
ยาเเอสไพริน
หูอื้อ การได้ยินลดลง เหงื่อออกมาก ปลายมือปลายเท้าเเดง
❤️เต้นเร็ว 🤮คลื่นไส้อาเจียน หายใจเร็ว ใจสั่น
ยาพาราเซตามอล
ยานี้จะถูกดูดซึมเร็วมาก
โดยเฉพาะในรูปของสารละลาย
ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ง่วงซึม
เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตต่ำสับสน เบื่ออาหาร
การปฐมพยาบาล
ทำให้สารพิษเจือจาง
ทำให้อาเจียน
ให้สารดูดซับสารพิษที่อาจหลงเหลือในระบบทางเดินอาหาร
ผู้ที่ได้รับสารพิษทางการหายใจ
ก๊าซที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน
อาการ
วิงเวียน หน้ามืด หมดสติ อาจตายได้
เช่น
คาร์บอนไดออกไซด์
คาร์มอนบอนนอกไซด์
ไนโตรเจน
ไฮโดรเจน
ก๊าซที่ทำให้ระคายเคือง
ต่อระบบทางเดินหายใจ
ได้เเก่
คอ หลอดลม เเละปอด
ถ้าได้รับในปริมาณมาก
อาจทำให้ตายได้
เช่น
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ก๊าซที่ทำให้อันตรายทั่วร่างกาย
ได้เเก่
ก๊าซอาร์ซีน
พบได้ในโรงงานอุตสาหกรรม
ใช้ทำแบตเตอรี่
เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้
เม็ดเลือดแดงแตก
ปัสสาวะเป็นเลือด
ดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง
การปฐมพยาบาล
กลั้นหายใจรีบเปิดประตูหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท
นำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่เกิดเหตุไปยังที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ
ถ้าไม่มีให้ผายปอดและนวดหัวใจนำส่งโรงพยาบาล
เมื่อสารเคมีถูกผิวหนัง
ล้างด้วยสะอาดนานๆอย่างน้อย 15 นาที
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมีเพราะความร้อนจะทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดแผลแล้วนำส่งรพ
เมื่อสารเคมีเข้าตา
ล้างตาด้วยน้ำนาน 15 นาที โดยเปิดน้ำก๊อกไหลรินค่อยๆ
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมีเพราะความร้อนจะทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดแผลแล้วนำส่งโรงพยาบาล
การสําลักสิ่งแปลกปลอมติดคอ
ความหมาย
สิ่งแปลกปลอมเข้าปาก จมูก
ส่งผลให้เกิดการอุดกั้นทางเดิน
หายใจส่วนต้นเฉียบพลัน
สาเหตุ
มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
เป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นจึงมักเอาสิ่งแปลกปลอม
ใส่ในช่องร่างกายโดยเฉพาะจมูก ปาก
ชอบพูดคุย หัวเราะขณะรับประทานอาหาร
ของเล่นที่หลุดเป็นชิ้นเล็กๆ
พยาธิสภาพ
การสำลักสิ่งเเปลกปลอมติดคอเกิดการอุดกั้นของ
ทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งทางเดินหายใจส่วนต้นของเด็กมีขนาดเล็กเเละเเคบ ส่งผลต่อการขาดออกซิเจน
อาการเเละอาการแสดง
ขณะหายใจหน้าอกบุ๋ม
หายใจเข้ามีเสียงดัง
หายใจลำบาก
มีอาการไอรุนแรง เขียว สำลัก
การรักษา
เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
วางเด็กลงบนเเขนโดยศีรษะต่ำ ตบหลัง Back Blow
สลับอุ้มเด็กนอนหงายบนเเขน ใช้นิ้วกดลง
เเละวางมือขวาบนหน้าอก chest thrust อย่างละ 5 ครั้ง
จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุด
เปิดปากเด็กเพื่อดูสิ่งเเปลกปลอม
เด็กโต
ใช้เทคนิคกดบริเวณหน้าท้อง เรียกว่า Heimlich Manuever
ทําในท่านั่งหรือยืนโน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย
ผู้ช่วยเข้าด้านหลัง ใช้เเขนสอดโอบผู้ป่วยไว้
มือซ้ายประคองมือขวาที่กําไว้ใต้ลิ้นปี่ดัน
กํามือขวาเข้าใต้ลิ้นปี่อย่างรวดเร็ว
เพื่อให้เกิดเเรงดันที่ช่องท้อง
ดันเข้าใต้กระบังลมผ่านช่องทรวงอก
ดันสิ่งแปลกปลอมหลุดออก
การพยาบาล
เนื้อเยื่อร่างกายมีภาวะบกพร่องออกซิเจน
เนื่องจากอุดกั้นของทางเดินหายใจ
กิจกรรม
ดูแลให้ได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา
สังเกตบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 1-2 ชั่วโมง
ประเมินอาการและอาการแสดงของการอุดกั้นทางเดินหายใจ
เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน
นางสาวฐิติพร หัสชู 62111301023 เลขที่ 22