Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 7 การประกันคุณภาพและตัวชี้วัดคุณภาพบริการการพยาบาล,…
หน่วยที่ 7 การประกันคุณภาพและตัวชี้วัดคุณภาพบริการการพยาบาล
7.1 ความหมายของคุณภาพและคุณภาพการบริการ
คุณภาพการดูแลทางการแพทย์ (Health care quality)
ระดับของการบริการทางด้านสุขภาพสำหรับบุคคลและประชากรที่เพิ่มขึ้นและสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อผลลัพธ์รวมถึงความสอดคล้องกับองค์ความรู้ในปัจจุบัน
1.ความพึงพอใจของผู้รับบริการ (customer satisfaction) อันเกิดจากความสามารถในการ
ตอบสนองความจำเป็นและความต้องการ
2.ภาวะปราศจากข้อผิดพลาด (zero defect) ทำสิ่งใดถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก (right the first time)
3.การปฏิบัติที่สอดล้องกับมาตรฐาน (standards) ซึ่งอาจหมายรวมถึงมาตรฐานวิชาชีพ องค์ความรู้
ทางวิชาการ จริยธรรม และแนวทางปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป
4.คุณภาพชีวิต (quality of life) การเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย นั่นคือการเกิดผลลัพธ์
ที่ดี
7.2 องค์ประกอบและตัวชี้วัดของคุณภาพ
7.2.1 องค์ประกอบของคุณภาพ
ในลักษณะที่เป็นคุณสมบัติอันเนื่องมากจากวิธีการปฏิบัติของผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ เป็นการอธิบายคุณภาพใน 2 มิติ คือ
คุณภาพด้านเทคนิค (technical quality) และ
คุณภาพด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ (interpersonal หรือ functional quality) คุณภาพด้าน
เทคนิค
7.2.2 คุณภาพในลักษณะของทฤษฎีระบบ (System theory)
ทฤษฎีระบบ อธิบายลักษณะการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพ 3 องค์ประกอบหลัก คือ
1.โครงสร้าง (structure) หมายถึง คุณลักษณะต่างๆ ของแพทย์และโรงพยาบาล เช่น เครื่องมือ
2.กระบวนการ (process) ได้แก่ ส่วนประกอบต่างๆของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วย
3.ผลลัพธ์ (outcome)หมายถึง สภาวะของสุขภาพของผู้รับบริการ การเปลี่ยนแปลงในสภาวะสุขภาพในปัจจุบันและอนาคตของ
ผู้ป่วยรวมถึงด้านจิตใจและสังคม
7.3 การประกันคุณภาพทางการพยาบาล
การประกันคุณภาพทางการพยาบาล
(nursing quality assurance) คือ ลักษณะต่าง ๆ ของวิชาชีพพยาบาลที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเกิดการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอย่างดีเลิศ
1. การประกันคุณภาพภายใน
หมายถึง กิจกรรมการควบคุมคุณภาพในฝ่ายบริการพยาบาลโดยการกำหนดของฝ่ายบริการพยาบาล กองการพยาบาล หรือสภาการพยาบาล เพื่อให้มีความมั่นใจว่าการบริการ
การควบคุมคุณภาพ (quality control) หมายถึง การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ทุกขั้นตอน
การตรวจสอบคุณภาพ (quality audit) หมายถึง การจัดระบบตรวจสอบคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
การประเมินคุณภาพ (quality assessment) เป็นการหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพของบริการ
2. การประกันคุณภาพภายนอก
การดำเนินการตามระบบการควบคุมคุณภาพภายในรวมทั้งการ
ตรวจสอบและประเมินผลทั้งหมด
การตรวจสอบคุณภาพที่ผ่านกระบวนการประกันคุณภาพภายใน
การประเมินคุณภาพ
การให้การรับรอง
7.4 มาตรฐานการพยาบาล (Nursing standard)
มาตรฐานการพยาบาล
เป็นเครื่องมือหนึ่งในการควบคุมคุณภาพการพยาบาลและประกันคุณภาพของวิชาชีพ เพราะมาตรฐานการพยาบาลจะเป็นเครื่องมือช่วยให้บุคลากรทางการพยาบาลปฏิบัติงานอย่างมีจุดหมาย ให้บริการอย่างครอบคลุมปัญหาด้านสุขภาพของ ผู้ใช้บริการผู้ใช้บริการได้รับบริการการพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
7.5 การควบคุมคุณภาพบริการพยาบาล
7.5.1 การรับรองคุณวุฒิของผู้ประกอบวิชาชีพ
(Professional credentialing) เป็นกระบวนการทบทวนคุณวุฒิ การศึกษาและฝึกอบรม ประสบการณ์ที่ผ่านมา
7.5.2 การทบทวนการเสียชีวิตและความพิการ
(Mortality and morbidity review)
แบ่งได้ 2 ลักษณะคือ
การทบทวนสถิติ (Statistic review) เป็นการทบทวนข้อมูลการเสียชีวิตและความพิการของผู้ป่วยที่ได้เก็บรวบรวมจากหน่วยงานต่างๆ
การทบทวนเป็นราบบุคคล (Individual cases) เป็นกระบวนการทบทวนเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเสียชีวิตและความพิการที่เกิดขึ้นกับคนไข้
เป็นรายบุคคล
7.5.3 การตรวจสอบตามเกณฑ์ (Criteria audit)
เป็นกระบวนการที่เลือกการปฏิบัติงานเรื่องที่สำคัญ มาเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
7.5.4 การตรวจพิสูจน์ศพ (Autopsy)
เป็นกระบวนการที่ใช้ในการตรวจสอบการวินิจฉัยโรคทางคลินิกและให้ข้อมูลป้อนกลับแก่แพทย์ผู้รักษา
7.5.5 การตรวจเนื้อเยื่อ (Tissue audit)
เป็นวิธีการตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาเพื่อยืนยัน ความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคทางคลินิก
7.5.6 การทบทวนการใช้บริการ (Utilization review)
เป็นกระบวนการในการทบทวนการใช้เตียงห้องผ่าตัด เลือดหรือยา
7.5.7 การสำรวจความพึงพอใจ (Patient satisfaction)
เป็นวิธีการในการประกันคุณภาพที่สำคัญอันหนึ่ง คือการประเมินจากมุมมองของผู้รับบริการ
7.5.8 การรายงานเหตุการณ์พิเศษ (Incident reporting)
เป็นระบบในการเก็บข้อมูลเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
7.5.9 หน่วยรับข้อร้องเรียน (Health Complaints Units)
เป็นวิธีการที่คอยรับและสอบสวนเรื่องร้องเรียนของผู้รับบริการเกี่ยวกับการให้บริการสุขภาพ
7.6 การพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาล
การบริการพยาบาล เป็นบริการที่แตกต่างจากบริการอื่นๆเพราะเป็นบริการที่ต้องสัมผัสสัมพันธ์กับบุคคล ซึ่งมีชีวิตจิตใจและร่างกายที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดการเจ็บป่วยถึงกันและกันได้ การเจ็บป่วยทางกายกระทบต่อจิตใจ และในขณะเดียวกันความทุกข์ทรมานด้านจิตใจย่อมมีผลกระทบต่อร่างกายผู้ให้การพยาบาลจะต้องเข้าใจมนุษย์โดยรวม
รูปแบบการดำเนินงานประกันคุณภาพและปรับปรุงคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล
ตรวจสอบค่านิยมและปรัชญาของโรงพยาบาล
ฝ่ายการพยาบาล ชุมชน บุคลากร พยาบาล
และผู้รับบริการในเรื่องสุขภาพ
กำหนดมาตรฐานทุกระดับคือ ระดับโครงสร้าง
ระดับกระบวนการ ระดับผลลัพธ์ โดยจะต้องมีเครื่อง
มือที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว
กำหนดวิธีการวัดให้ค่าของสิ่งที่วัดได้
วิเคราะห์ผลและแปลผลโดยบ่งชี้จุดเด่นจุดด้อยให้ชัดเจน พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไขจุดด้อยต่อไปด้วย
นำจุดด้อยมาพิจารณาแนวทางปฏิบัติเพื่อ
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
พิจารณาแนวปฏิบัติหลายแนวทางเลือกแนวทาง
ปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด
นำแนวทางที่เลือกไปปฏิบัติ
7.6 การพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาล
กิจกรรมคุณภาพการบริการ
กิจกรรม 5 ส
ส1 สะสาง เป็นการแยกของที่จำเป็นและไม่จำเป็นออกจากกัน
ส 2 สะดวก เป็นการจัดวางของที่จำเป็นให้เป็นระเบียบเป็นลำดับเพื่อให้หยิบใช้ได้ง่ายทำให้เกิดความสะดวกในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ส 3 สะอาด เป็นการปัดกวาดเช็ดถูในบริเวณต่าง ๆโดยรอบของที่ทำงาน ควรทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและมุ่งเน้นการบำรุงรักษาเครื่องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา
ส 4 สุขลักษณะ เป็นการทำสถานที่ทำงานให้น่าอยู่ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตลอดเวลาเมื่อเข้าไปในสถานที่ทำงานแล้วเกิดความสุขกาย สุขใจมีบรรยากาศที่เสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน
ส 5 สร้างนิสัย เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกของทุกคนในที่ทำงานให้คำนึงถึงหลักการของสะสางสะดวกสะอาดและสุขลักษณะให้คงอยู่ตลอดไปโดยไม่ลืมที่จะหาวิธีการใหม่ๆมาปรับปรุงที่ทำงานให้ทันสมัยอยู่เสมอ
นางสาวรัชดาวรรณ ภารแสวง 60440101046
นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4