Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การสร้างหนังสือสำหรับเด็ก - Coggle Diagram
บทที่ 6 การสร้างหนังสือสำหรับเด็ก
วิธีการสร้างหนังสือสำหรับเด็กในปัจจุบัน
แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะกว้างๆ คือ
2. หนังสือการ์ตูน เป็นหนังสือที่ใช้ภาพในการดำเนินเรื่อง ภาพที่ใช้ก็เป็นภาพการ์ตูน เช่น
2.2 หนังสือชัยพฤษืตู๊นตูน
2.3 การ์ตูนหนูเล็กลุงโกร่ง ของสำนักพิมพ์บางกาอก
2.1 การ์ตูนยี่เกกเรื่องหลวิชัย- คาวี ของประยูร
2.4 การ์ตูนชุดสามเกลอ และเสือดำ ของป.อินทปาลิต
2.5 ขายหัวเราะ
2.6 หนูจ๋า
2.7 เบบี้
2.8 ตุ๊กตา
2.9 ชุดการ์ตูน ของวอลท์ ดิสนีย์
1. หนังสือสำหรับเด็กที่เน้นด้านเนื้อเรื่อง การใช้ภาษา แนวคิด หรือ ทัศนะบางอย่างที่ต้องการปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก อาจจะออกมาในรูปแบบของเรื่องเล่า นิทาน นิยาย หนังสือเหล่านี้จะใช้รูปภาพเป็นส่วนประกอบและจุดมุ่งหมายในการสร้าง เช่น
1.4 เรื่องของม่าเหมี่ยว ของสุมาลี
1.5 นกกางเขน ของหลางกีรติ วิทโยฬาร
1.6 หนูนิดผู้น่ารัก ของกรมวิชาการ
1.3 โลกของหนูแหวน ของศราวก
1.2 ฉันคือต้นไม้ ของไมตรี ลิมปิชาติ
1.7 หนูนุ่นเที่ยวทะเล ของอรชุมา ยุทธวงศ์
1.1 จันทร์เจ้าขา ของสำนักพิมพ์ประชาช่าง
3. หนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านต่างๆ เช่น
3.3 71 จังหวัด
3.4 ตะเพียนเข้ากรุง ของไพโรจน์ อิสโรวงศ์
3.2 80 วัน รอบโลก เล่ม 1-2
3.5 ป่าแสนสวย ของกรมวิชาการ
3.1 หนังสือชุดสวนสัตว์อนุชน ของสำนักพิมพ์โอเดียนสัตว์
3.6 แม่โพสพ ของ ม.ล.เติบ ชุมสาย
3.7 ฟันของเรา ของกรมวิชาการ
3.8 หนังสือชุดความรู้ไทย ของคุรุสภา
3.9 ยิทานสัตว์รอบโลก
3.10 จากลูกสู่คอมพิวเตอร์
หลักเกณฑ์ในการสร้างหนังสือสำหรับเด็ก
1.นักเขียนหนังสือสำหรับเด็ก การเป็นนักเขียนหนังสือสำหรับเด็ก ต้องมีคุณลักษณะหลายประการที่แตกต่างไปจากนักเขียนหนังสือผู้ใหญ่
2.เนื้อเรื่องในหนังสือสำหรับเด็ก เนื้อเรื่องนับว่ามีความสำคัญมาก ทุกเรื่องต้องมีเนื้อหาสาระ ความคิด ก่อนลงมือเขียนจะต้องอ่านดีๆ ของคนอื่นก่อน เพื่อศึกษาว่าหนังสือดีๆ เหล่านี้มีลักษณะอย่างไรจึงจะทำให้ได้รับคำชมเชยยกย่องและเด็กๆชอบอ่าน
3.ขนาดความยาว เด็กๆไม่มีความอดทนที่จะทำอะไรนานๆ ด้วยเหตุนี้เรื่องสำหรับเด็กจะต้องเริ่มเรื่องทันทีตั้งแต่คำแรก อย่าเยิ่นเย้อ ดำเนินเรื่องให้ทันใจ และอย่าให้เรื่องยาวนัก
4.ตัวละคร สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับหนังสือเด็ก คือตัวละคร เพราะจะทำให้หนังสือเป็นเรื่องเป็นราว สร้างรูปธรรมให้เกิดขึ้น ทำให้เรื่องสนุกสนาน ชวนอ่าน
6.การใช้ภาษา เด็กเล็กๆ ส่วนมากยังไม่มีความสันทัดจัดเจนในการอ่าน สะกดตัว เข้าใจและจดจำคำและความหมายของคำซึ่งตนเพิ่งเริ่มพบและเริ่มหัดจดจำ ฉนั้นคำที่ใช้ในหนังสือสำหรับเด็กจึงควรเป็นคำที่มีความหมายใกล้ตัวเด็ก เป็นคำที่เด็กใช้เป็นประจำ หนังสือสำหรับเด็กเล็กๆควรใช้คำง่ายๆ ซ้ำๆ กันทั้งเสียงและรูปคำ
5.ชื่อเรื่องเป็นเรื่องที่ต้องพิถีพิถัน เพราะเป็นด่านแรก ที่เด็กจะหยิบหนังสือนั้นขึ้นมาอ่านหรือไม่ ดังนั้น ชื่อหนังสือสำหรับเด็กควรมีลักษณะที่น่าสนใจ
7.ตัวอักษรหรือตัวหนังสือเป็นส่วนสำคัญของหนังสือสำหรับเด็ก เพราะมีผลต่อสัมผัสทางตา ความพอใจ ความสนใจ และความเข้าใจ ตัวอักษรในหนังสือของเด็กเล็กจะต้องมีขาดใหญ่เขียนห่างกันเป็นคำๆ ตัวบรรจง
8.ภาพ เป็นสิ่งสำคัญในการจูงใจให้เกิดการรับรู้ เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ อย่างรวดเร็ว ถ้าหนังสือไ่ม่มีภาพ เด็กจะต้องอ่านคำบรรยายในหนังสือนั้นๆ อย่างตั้งใจ และอาจต้องอ่านซ้ำอีก จึงจะเข้าใจเรื่องได้ดี
ขั้นตอนในการลงมือสร้างหนังสือสำหรับเด็ก
3.ศึกษาหนังสือสำหรับเด็กที่พิมพ์ออกจำหน่าย หรือเผยแพร่จากสำนักพิมพ์ และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
2.ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ หลักการ ทฤษฎีในการสร้างหนังสือสำหรับเด็กจากตำ และที่น่าสนใจคือวารสารต่างๆ
1.เกิดเเรงบันดาลใจ เกิดความคิด อยากจะเขียนหนังสือสำหรับเด็กขึ้นมาสักเล่มหนึ่ง
4.ตั้งจุดมุ่งหมายส่าจะเขียนหนังสือประเภทใด แนวใด สำหรับเด็กใด ขนาดคววามยาวของเรื่องประมาณกี่หน้า รูปเล่มเป็นอย่างไร ที่สำคัญคือ แนวคิดที่จะให้แก่ผู้อ่าน
5.ตั้งชื่อเรื่องและวางโครงเรื่อง โดยกำหนดโครงเรื่องเป็นหัวข้อใหญ่ และโครงเรื่องย่อยๆ กำหนดตัวละคร ตั้งชื่อ กำหนดฉากของเรื่อง
6.เรียบเรียงเรื่องที่จะเขียนตามโครงที่วางไว้ โดยจะเขียนเป็นร้อยแก้ว หรือ ร้อยกรอง ได้ตามแต่จุดหมาย
7.การจัดหน้า หรือ ทำดัมมี่ โดยนำเนื้อเรื่องที่เรียบเรียง แล้วมาแบ่งเป็นตอนๆ ตอนละหน้า แต่ละหน้าจะให้มีข้อความอะไรบ้าง
8.ทำรูปเล่มลำลองที่สมบูรณ์ ตั้งแต่ปกหน้าถึงปกหลังว่าจะวางส่วนต่างๆ อย่างไร
9.ออกแบบตัวหนังสือ และภาพประกอบที่สมบูรณ์ว่าจะใช้ตัวหนังสือแบบใด ขนาดใดบ้าง แต่ละภาพจะให้มีรายละเอียดอะไรบ้าง
10.นำต้นแบบที่สมบูรณ์เรียบเรียงเข้าโรงพิมพ์ และพิสูจน์อักษร เข้าเล่มให้ถูกต้อง เรียบร้อยพร้อมจะนำไปให้เด็กอ่านได้