Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบเศรษฐกิจ (ECONOMIC SYSTEM) - Coggle Diagram
ระบบเศรษฐกิจ (ECONOMIC SYSTEM)
ความหมาย
หมายถึง
การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยบุคคล หรือ สถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในทางเศรษฐกิจ ใช้หลักการแบ่งงานกันทำตามความถนัด มีการปฏิบัติภายใต้ระเบียบ กฎเกณฑ์ นโยบาย และ แนวทางการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน หน่วยเศรษฐกิจ คือ หน่วยงานที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ จะทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจอันได้แก่การผลิต การบริโภค และ การแจกจ่ายสินค้า และ บริการ
ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
ประโยชน์ที่เกิดกับผู้ศึกษาโดยตรง
ผู้ศึกษาจะเข้าใจหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เข้าใจภาวะเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงได้อย่างดี สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีหลักเกณฑ์
ประโยชน์ในฐานะผู้บริโภค
ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่ ตนได้รับความพอใจสูงสุดภายใต้ระดับรายได้ที่มีอยู่ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด นอกจากนี้ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจ และปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตลอดจนรู้จักการออม แสวงหารายได้ และรายจ่ายอย่างคุ้มค่า
ประโยชน์ในฐานะผู้ผลิต
ทำให้ผู้ผลิตตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในการผลิตสินค้าและบริการอย่างคุ้มค่า ประหยัด ช่วยลดต้นทุนการผลิตทำให้ธุรกิจได้รับกำไรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ช่วยให้ผู้ผลิตเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางเศรษฐกิจ และปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์การที่เกิดขึ้นสามารถตัดสินใจเลือกลงทุนหรือดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ
ประโยชน์ในฐานะรัฐบาล
ทำให้ผู้บริหารเข้าใจลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาทางเศรษฐกิจและหาแนวทางแก้ไข โดยกำหนดออกมาเป็นแผนและนโยบายทางเศรษฐกิจที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา ให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ
ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสามารถและโอกาสของตนโดยอาศัยตลาดและราคาในการเลือก โดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยมาก
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้แก่
ทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน
เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยผ่านกลไกราคา และมีกำไรเป็นแรงจูงใจ
มีการแข่งขันเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ
รัฐไม่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ มีบทบาทเพียงการรักษาความสงบเรียบร้อย ความ ยุติธรรม เพื่อให้เอกชนมีความมั่นใจในการทำธุรกิจ
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต วางแผนและควบคุมการผลิตบางประเภท โดยเฉพาะการผลิตที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน เช่น การสาธารณูปโภค ต่างๆ สถาบันการเงิน ป่าไม้ เอกชนถูกจำกัดเสรีภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ดำเนินการได้เพียงอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมขนาดย่อม ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความแตกต่างด้านฐานะระหว่างคนรวยและคนจน
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ได้แก่
รัฐคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกรูปแบบ
ไม่มีการแข่งขันเกิดขึ้น
-รัฐสั่งการผลิตคนเดียว
มีการวางแผนจากส่วนกลาง
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมระหว่างระบบทุนนิยมกับสังคมนิยม มีรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ แต่ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชน การกำหนดราคาขึ้นกับกลไกแห่งราคาของตลาด
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม ได้แก่
เอกชนมีเสรีภาพ
มีการแข่งขัน แต่รัฐอาจแทรกแซง การผลิตได้บ้าง
รัฐดำเนินกิจการบางอย่างในรูปของรัฐวิสาหกิจ เช่น สาธารณูปโภค ( ไฟฟ้า ประปา )
มีการวางแผนจากส่วนกลางและมีสวัสดิการจากรัฐ
องค์ประกอบหลักของระบบเศรษฐกิจ
หน่วยเศรษฐกิจ
หน่วยครัวเรือน
หน่วยธุรกิจ
หน่วยรัฐบาล
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
บริโภค
ผลิต
แลกเปลี่ยน
นางสาวอิสริยาภรณ์ ภูบาทา เลขที่ 29B