Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม - Coggle Diagram
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคมบุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
ความวิตกกังวล
ความหมาย
ความรู้สึกไม่สบาย สับสน กระวนกระวายกระสับกระส่าย หรือตื่นตระหนกต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและเกรงว่าจะเกิดอันตรายหรือความเสียหายซึ่งอาจเกิดขึ้นจริงหรือคิดขึ้นเองจากสิ่งที่ไม่รู้
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีความวิตกกังวล
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ภาวะหัวใจเต้นเร็ว ผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก ใจสั่นความดันโลหิตสูง หน้าแดง
ความวิตกกังวลในระดับรุนแรง จะพบว่ามีน้ำตาลในเลือดสูงเลือด
เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมากขึ้น
ลระดับรุนแรงสุดขีดจะทำให้เกิดอาการเป็นลมหน้ามืด ความดันโลหิตลดต่ำลง ผิวซีด
ระบบทางเดินหายใจ
สะอีก
หายใจเร็ว
หายใจลำบาก
ระบบทางเดินอาหาร
กลืนลำบาก
ปากแห้ง
ท้องอืด
คลื่นไส้ อาเจียน
ท้องเสีย ท้องเดิน
ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์
ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด
การเปลี่ยนแปลงในรอบเดือน ความรู้สึกทางเพศลดลง
ระบบประสาท
มีอาการปวดศีรษะจากความเครียด ตาพร่า หูอื้อ ปากแห้ง เหงื่อออก มือสั่น รูม่านตาขยาย
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
เกร็งของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย มือสั่น
การเบลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์
มีความรู้สึกหวาดหวั่น กลัว ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง มองตนเองไร้ค่า สับสน กระวนกระวาย ตกใจง่าย หงุดหงิด เจ้ากี้เจ้าการ โกรธง่าย ก้าวร้าว เศร้าเสียใจง่าย ร้องไห้ง่าย เมื่อเกิดเรื่องเพียงเล็กน้อย สงสัยบ่อย ซักถามมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
บุคคลจะขาดความสนใจ
รู้สึกว่าช่วยเหลือตนเองไม่ได้
มีปัญหาเรื่องสัมพันธภาพกับผู้อื่น
มีพฤติกรรมเรียกร้องมากเกินไป
พึ่งพาผู้อื่นหรือแยกตัว
การเปลี่ยนแปลงด้านสติปัญญา
ความคิด ความจำลดลง
คิดไม่ออก ครุ่นคิด หมกมุ่น ไม่ค่อยมีสมาธิ
การพูดติดขัด เปลี่ยนเรื่องพูดบ่อยหรือไม่พูดเลย
การรับรู้และการตัดสินใจผิดพลาด มีความคิดและการกระทำซ้ำๆ
การตอบสนองของบุคคลต่อความวิตกกังวล
พฤติกรรมที่แสดงออกถึงการต่อสู้
โดยความวิตกกังวลจะเปลี่ยนไปเป็นความโกรธ โต้เถียง ข่มขู่ ต่อต้าน ก้าวร้าว ทำลายข้าวของ พฤติกรรมรุนแรง เจ้ากี้เจ้าการ เป็นต้น
พฤติกรรมชะงักงันหรือถดถอย
บุคคลจะหลีกเลี่ยงการแกัปัญหา แยกตัว เก็บตัว หลับ ซึมเศร้า หลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องตัวเอง
มีการเจ็บป่วยทางกาย (somatizing)
เครียดแล้วมีอาการปวดศีรษะ หายใจลำบาก ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ปวดท้อง มีการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน เป็นต้น
มีพฤติกรรมเผชิญความวิตกกังวลในเชิงสร้างสรรค์ (constructive behavior)
การแก้ปัญหาโดยกระบวนการแก้ปัญหา (problem solving) โดยการที่ค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหา ตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีทีสุด ลงมือกระทำ และประเมินผลการกระทำนั้น
ชนิดของความวิตกกังวล
ความวิตกกังวลปกติ (normal anxiety)
เป็นแรงผลักดันให้ชีวิตประสบความสำเร็จ
ความวิตกกังวลเฉียบพลัน (acute anxiety)
กระตุ้นการทำงานประสาทซิมพาเธติค (sympathetic) ของระบบประสาทอัตโนมัติและต่อมไร้ท่อ
ปฏิกิริยา "สู้หรือหนี"
ความวิตกกังวลเรื้อรัง (chronic anxiety)
เกิดจากการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวตั้งแต่เด็ก มีการเลี้ยงดูที่ไม่หมาะสม ขาดความรัก ความเอาใจใส่
เด็กจะมีความหวาดหวั่นหรือไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้ เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่เข้ามาคุกคาม
วัยผู้ใหญ่จะมีอากาอ่อนเพลียง่าย นอนไม่หลับ หวาดหวั่น สมาธิสั้น และรู้สึกไม่เป็นสุข เมื่อต้องมีสัมพันธภาพทางสังคม มีผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
ระดับของความวิตกกังวล (level of anxiety)
ความวิตกกังวลต่ำ (mild anxiety) +1
ความวิตกกังวลปานกลาง (moderate anxiety) +2
ความวิตกกังวลรุนแรง (severe anxiety) +3
ความวิตกกังวลท่วมท้น (panic anxiety) +4
สาเหตุของบุคคลที่มีความวิตกกังวล
สาเหตุทางด้านชีวภาพ
ด้านกายภาพของระบบประสาท (neuroanatomical factors)
ระบบประสทบกพร่องมาแต่กำเนิด
ด้านชีวเคมี (biochemical factors)
บุคคลที่ไวต่อสารบางอย่าง
caffeine lactate
กระตุ้นให้เกิดอาการตื่นตระหนก (panic disorder) ได้ง่าย
thyroid hormone
hyperthyroidism หรือ thyrotoxicosis
L-dopa, corticosteroid
สารเสพติดพวก LSD
ด้านการเจ็บป่วย (medical factors)
ผู้ป่วยที่มีการเจ็บปวยเรื้อรัง
สาเหตุทางด้านจิตสังคม
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory)
สาเหตุทางด้านสังคม
บุคคลประเภทนี้จะมองตนเองในแง่ไม่ดี และจะไม่มั่นใจในความสามารถของตนอง
ในระยะ 2 ปีแรกของชีวิตเป็นสัมพันธ์ภาพระหว่างแม่กับลูก
การพยาบาลบุคคลที่มีความวิตกกังวล
1) การประเมินสภาวะความวิตกกังวล
การประเมินความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เมื่อมีกังวลเกิดขึ้น
การประเมินระดับความรุนแรงของความวิตกกังวล
การประเมินสาเหตุของความวิตกกังวลและวิธีการผชิญกับภาวะวิตกกังวล
ประเมินสมรรถภาพและองค์ประกอบในด้านอื่น ๆของผู้ป่วย
2) การวินิจฉัยการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยให้กลับปกติ
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจถึงเหตุและผลของความวิตกกังวล
เพื่อให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้วิธีลความวิตกกังวลที่สร้างสรรค์ เพื่อลดความถี่ของการเกิดความวิตกกังวล
เพื่อปรับบุคลิกภาพและการใช้กลไทางจิตให้เหมาะสม
เพื่อขจัดความขัดแย้งและบรรเทาประสบการณ์ที่เจ็บปวดให้กับผู้ป่วย
ตัวอย่างการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีความวิตกังวลระดับรุนแรงเนื่องจากคิดว่าตนเองไม่สามารถควบคุม หรือแก้ไขปัญหาได้
การเผชิญปัญหาไม่เหมาะสมเป็นผลมาจากมีความวิตกกังวลระดับรุนแรง
มีความผิดปกติด้านเนื่องจากวิตกกังวลในระดับรุนแรง
มีความวิตกังวลระดับปานกลางเนื่องจากรู้สึกว่าชีวิตถูกคุกคามและถูกบีบคั้นทางจิตวิญญาณ
3) กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดี
ใช้คำพูดง่าย ๆ ข้อความสั้น ๆ กะทัดรัดได้ใจความตรงไปตรงมา น้ำเสียงที่พูดต้องชัดจน นุ่มนวล ในการการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย
ให้กำลังใจโดยอาจสัมผัสผู้ป่วยเบา ๆ เพื่อผู้ป่วยให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจที่มีคนอยู่เป็นเพื่อน การอยู่คนเดียวเพียงลำพังจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหวาดหวั่นโดดเดี่ยวเหมือนถูกทอดทิ้งมากขึ้น
นำผู้ป่วยออกจากสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบลดสิ่งกระตุ้นผู้ป่วย
ดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยที่มีอาการทางกาย
ดูแลป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและบุคคลอื่น
ให้ความช่วยเหลือดูแลและกระตุ้นให้ผู้ป่วยสนใจเรื่องสุขภาพอนามัยของตนเอง
ผู้ป่วยที่ไม่มีสมาธิ ลังเล ตัดสินใจไม่ได้
ส่งเสริมให้ร่วมกิจกรรมที่ง่าย ๆ ไม่ชับซ้อน ใช้เวลาสั้น
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ในเรื่องสาเหตุของความวิตกกังวล
รายงานแพทย์
ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ปวยรู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น
ผู้ป่วยสามารถแยกแยะและประเมินระดับความวิตกกังวลของตนเองได้
ผู้ป่วยสามารถบอกถึงความรู้สึกวิตกกังวลที่มีต่อตนเองและผู้อื่นได้
ผู้ป่วยสามารถอธิบายเชื่อมโยงผลของควมวิตกังวลที่มีต่อตนเองและผู้อื่นได้
ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขความวิตกกังวลได้
ผู้ป่วยสามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมเพื่อลดความวิตกให้กับตนเองได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น
ความเครียด
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีความเครียด
มึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ มีเสียงด้งในหู ปวดตามกล้ามเนื้อ อ่อนแรงไม่อยากทำอะไร มีปัญหาเรื่องการนอน
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ สังคม
วิตกกังวล โกรธง่าย หงุดหงิด ซึมเศร้า ท้อแท้ การตัดสินใจไม่ดี สมาธิสั้น ขี้ลืม ไม่มีควมคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มองโลกในแง่ร้าย แยกตัว มีปัญหาด้านสัมพันธภาพ หรือไม่มีความสุขกับชีวิต เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรม
ร้องไห้ กัดเล็บ ดึงผมตัวเอง รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่ สุรา ก้าวร้าว เปลี่ยนงานบ่อย หรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะทำงานได้ เป็นต้น
การตอบสนองของบุคคลต่อความเครียด
การตอบสนองด้านร่างกาย
ระยะเตือน (alarm reaction)
ระยะช็อก (shock phase)
บุคคลเตรียพร้อมที่จะสู้หรือถอยหนี
1 นาที ถึง 24 ชั่วโมง
ระยะตอบสนองการช็อก (counter shock phase shock phase)
ร่างกายจะปรับตัวกลับสู่สภาพเดิม
ระยะการต่อต้าน (stage of resistance)
ใช้กลไกการป้องกันตัวที่เหมาะสม
พยายามจำกัดสิ่งที่มากระตุ้นให้น้อยลงทำให้ความเครียดลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ
ระยะหมดกำลัง (stage of exhaustion)
เกิดภาวะอ่อนล้า เหนื่อยและหมดแรง มีการใช้กลไกป้องกันตัวเองที่ไม่เหมาะสม
มีพฤติกรมแปรปรวน มีการรับรู้ความป็นจริง บิดเบือน น้ำหนักตัวลดลง ต่อมไร้ท่อต่าง ๆ โตขึ้น ระดับฮอร์โมนสำคัญต่าง ๆ สูงขึ้น ถ้ามีความเครียดในระดับสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้เสียชีวิตได้
ปฏิกิริยาการตอบสนองเฉพาะที่ของร่างกาย (local adaptation syndrome)
เมื่อเกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บที่ขาบริเวณขาจะมีอาการปวด บวมหรืออักเสบ และหากการตอบสนองไม่ได้ผล การปรับตัวเฉพาะที่ล้มเหลว อาจเกิดเป็น localized exhaustion ได้ในที่สุด
การตอบสนองด้านจิตใจ
หนี หรือเลี่ย (flight)
กลไกของจิตใจอย่างหนึ่งที่บุคคลเลือกใช้อาจทำได้ด้วยการปฏิเสธว่าตนกำล้มีความเครียด
อาจหันไปทำกิจกรรมอื่นๆทดแทนทั้งทางบวกและทางลบ
การเลี่ยงไม่รับรู้ด้วยการนอนหลับ ช็อปปิ้ง หันไปใช้สารเสพติด ดื่มสุรา หรือ เพ้อฝันในสิ่งที่กลบเกลื่อนความเครียดหรือปัญหาของตนเอง หรืออาจย้ายที่อยู่ใหม่เพื่อหลีกหนี่เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด เป็นต้น
ยอมรับและเผชิญกับความครียด (fight)
ารแสวงหาความช่วยเหลือ หาข้อมูลเพื่อปรับแก้สถานการณ์จากภายนอก หรือการสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองให้สามารถรับความเครียดได้มากขึ้น
การต่อสู้กับความเครียดที่มีอยู่โดยการแก้ไขเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความครียดหรือแก้ไขปรับเปลี่ยนตนเอง
ความหมาย
ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายและจิตใจที่มีต่อสิ่งกระตุ้น (stressor) และบุคคลนั้นได้ประเมินแล้วว่าสิ่งกระตุ้นนั้นคุกคามหรือทำให้ตนเองรู้สึกไม่มั่นคง ปลอดภัย หากบุคคลมีความครียดระดับสูงและสะสมอยู่นาน ๆ จะก่อให้เกิดโรคทางกายและทางจิตได้
ชนิดของความเครียด
ความเครียดฉับพลัน (acute stress)
เกิดจาก เสียง อากาศเย็นหรือร้อน ชุมชนที่คนมากๆ ความกลัว ตกใจ อันตราย
ความเครียดเรื้อรัง (chronic stress)
ความเครียดจกการทำงาน หรือการประกอบอาชีพบางอย่าง ความเครียดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความเหงา ความเครียดจากความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ในครอบครัว เป็นต้น
ระดับของความเครียด
ความเครียดระดับต่ำ (mild stress)
แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 0 - 23 คะแนน
เบื่อหน่าย ขาดแรงกระตุ้น และมีพฤติกรรมที่เชื่องช้าลง
ความเครียดระดับปานกลาง (moderate stress)
กณฑ์ปกติไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือเป็นผลเสียต่อการดำเนินชีวิตส่วนใหญ่
กลับสู่ภาวะปกติได้เองจากการได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ซึ่งช่วยคลายเครียด เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง อ่านหนังสือ ทำงานอดิเรก
แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 24 - 41 คะแนน
ความเครียดระดับสูง (high stress)
วดศีรษะ ปวดท้อง อารมณ์ฉุนเฉียวง่ายหงุดหงิด พฤติกรรมการนอนและการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป
การฝึกหายใจ คลายเครียด พูดคุยระบายความเครียดกับผู้ไว้วางใจ หาสาเหตุหรือปัญหาที่ทำให้เครียดและหาวิธีแก้ไข
แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 42 - 61 คะแนน
ความเครียดระดับรุนแรง (severe stress)
เจ็บป่วยรุนแรง เรื้อรังมีความพิการ สูญเสียคนรัก ทรัพย์สิน
ชีวิตไม่มีความสุข ความคิดฟุ้งซ่าน การตัดสินใจไม่ดี ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้ก่อให้เกิดความผิดปกติทางกาย
อารมณ์แปรปรวน มีอาการทางจิต มีความบกพร่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน
แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 62 คะแนนขึ้นไป
สาเหตุของบุคคลที่มีความเครียด
สาเหตุจากภายนอก
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
สภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ การย้ายถิ่นฐานที่อยู่ การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วยของบุคคลอันป็นที่รัก การหย่าร้าง ภาวะว่างงาน ปัญหาความสัมพันธ์กับรอบครัวและบุคคลอื่น ๆ การขาดเพื่อน การขาดแคลนปัจจัย 4 ในการดำเนินชีวิต
สาเหตุภายในตัวบุคคล
ภาวะสุขภาพของตนเอง
ภาวะเจ็บปวยที่เผชิญอยู่ ความพิการ หรือความผิดปติของสรีะร่างกายที่มีมาแต่กำเนิด การเจริญเติบโต หรือพัฒนาการล่าช้า รวมถึงการรับรู้และการแปลความหมายที่แตกต่างกันของแต่ละคนที่มีต่อเหตุการณ์ที่เข้ามาคุกคาม ประสบการณ์ของแต่ละคนในการจัดการกับความเครียดย่อมส่งผลต่อระดับความเครียดที่แตกต่างกัน
การพยาบาลบุคคลที่มีความเครียด
การประเมินสภาวะความเครียด
ประเมินอาการแสดงทางร่างกาย
ประเมินอาการแสดงทางจิตใจ
ให้ผู้ป่วยทำแบบประเมินความเครียดด้วยตนเองด้วย
แบบคัดกรองความเครียด (ST5)
แบบประเมินระดับความเครียด (ST20)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดความเครียดของผู้ป่วยให้กลับสู่ภาวะปกติ
เพื่อให้การบำบัดรักษาอาการทางกายที่มีอยู่ในตอนนั้น
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจกลวิธีในการปรับตัวต่อเหตุกรณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดของตนเอง
เพื่อให้ผู้ป่วยได้จัดการความเครียดที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้นและไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
เพื่อลดความถี่ของการเกิดความเครียด
เพื่อปรับบุคลิภาพและการใช้กลไทางจิตให้เหมาะสมมากขึ้น
ตัวอย่างการเขียนข้อวินิฉัยทางการพยบาล
ความดันโลหิตสูงกว่าปกติเนื่องจากมีการปรับตัวต่อภาวะเครียด
มีภาวะเครียดในระดับสูงเนื่องจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
แบบแผนการนอนหลับพักผ่อนเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมีภาวะเครียด
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ส่งเสริมและให้กำลังในการฝึกและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้และเลือกกลวิธีในการจัดการความเครียด
สอนและแนะนำให้ประเมินระดับความเครียตด้วยตนเอง
กระตุ้นและให้กำลังใจผู้ป่วยวางแผนการเปลี่ยนแปลงตนเอง ในการใช้ชีวิตเพื่อผ่อนคลายความเครียด
ฝึกทักษะการคิดเชิงบวก
ให้ความช่วยเหลือดูแลให้ผู้ป่วยได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ
ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำตารางเวลาของชีวิต (body clock) ในการออกกำลังกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
การประเมินผลทางการพยาบาล
อาการทางกายทุเลาหรือกลับสู่ภาวะปกติ
ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ระดับความเครียดลดลง
ผู้ป่วยสามารถเชื่อมโยงอาการ และอาการแสดงที่สัมพันธ์กับความเครียดของตนเองได้
ผู้ป่วยสามารถประเมินระดับความเครียดด้วยตนเองได้
ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเองได้
ผู้ป่วยสามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม เพื่อลดความเครียดให้กับตนเองได้มากขึ้น
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม
บุคคลที่มีความโกรธและความก้าวร้าว
ความโกรธ (anger)
ความหมายความโกรธ
เป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคล
อารมณ์โกรธเป็นอารมณ์ที่ต่อเนื่องกันจากความรู้สึกขุ่นเคืองใจ ไปจนถึงความรู้สึกไม่พอใจที่รุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ
เกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคาม ไม่ปลอดภัย
ลักษณะอาการและอาการแสดงของความความโกรธ
ด้านร่างกาย
ระบบประสาทซิมพาทิติก (sympathetic)
หัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น หน้าแดง มือสั่น หายใจเร็วแรง
ระดับสารอีพิเนฟริน (epinephrine) นอร์
อีพิเนฟริน (norepinephrine) และระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ผลกับระบบทางเดินอาหาร
มีแผลในกระเพาะอาหาร
ด้านจิตใจและอารมณ์
ขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ สูญเสียคุณค่า และศักดิ์ศรีในตนเอง
ความไม่เป็นมิตร (hostility)
ความเป็นปรปักษ์ และมีความประสงค์ร้าย
เกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคามหรือขาดพลังอำนาจ
ความก้าวร้าว (aggression)
ปฏิกิริยาทางคำพูดหรือการกระทำที่โต้ตอบความรู้สึกโกรธ
หรือผิดหวังอย่างรุนแรง มุ่งที่จะให้เกิดผลต่อบุคคลและสิ่งอื่นๆรอบตัว
การกระทำที่รุนแรง (violence)
การลงมือกระทำการทำร้ายหรือทำลายโดยตรง
แยกตัว (withdrawal)
ออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์โกรธ
ซึมเศร้า (depression)
การเก็บกดอารมณ์โกรธไว้กับตนเอง ไม่กล้าแสดงออก
สาเหตุการเกิดของความความโกรธ
ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
สารสื่อประสารในสมอง
การได้รับบาดเจ็บหรือความกระทบกระเทือนที่สมอง
การเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ
ปัจจัยด้านจิตใจ (psychological factors)
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory)
ปัจจัยด้านสังคม (psychosocial factors)
แนวคิดทางด้านสังคมวิทยา (sociocultural theory)
กที่ถูกทอดทิ้ง ถูกทำร้าย
หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ มักมีภาวะเก็บกดและมักแสดงออกถึงพฤติกรรมไม่เป็นมิตรก้าวร้าว
เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีพฤติกรรมรุนแรง
ก็มักจะเลียนแบบพฤติกรรมของบิดา มารดา ผู้
เลี้ยงดู หรือบุคคลใกล้ชิดได้
การพยาบาลบุคคลที่มีความโกรธ
การประเมินบุคคลที่มีภาวะโกรธ
ประเมินความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง
ประเมินอาการทางร่างกาย
ประเมินบุคคลดังกล่าวว่ามีความขัดแย้งในจิตใจว่ามีสูงมาก หรือน้อยเพียงใด
ประเมินการใช้กลไกทางจิต
ประเมินพื้นฐานอารมณ์ดั้งเดิมของผู้ป่วยและระดับความอดทนของผู้ป่วยแต่ละคน
ประเมินความเข้าใจตนเองของผู้ป่วย
ประเมินระดับความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
ประเมินสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ หรือมีความเชื่อ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดภาวะเสี่ยงในการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
เพื่อให้ระบายอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์
เพื่อป้องกันอันตรายจากโรคทางร่างกายที่มีความเชื่อมโยงจากอารมณ์โกรธ
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพและรูปแบบการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์เมื่อมีความโกรธ
เพื่อพัฒนาทักษะในการปรับตัวและสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นเมื่อมีความโกรธ
ตัวอย่างการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่นเนื่องมาจากมีอารมณ์โกรธ และไม่สามารถระบายอารมณ์โกรธได้อย่างสร้างสรรค์
การแสดงอารมณ์โกรธไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดทักษะในการเผชิญปัญหาอย่างสร้างสรรค์
เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางร่างกาย เนื่องจากมีภาววะความดันโลหิตสูงที่มีความสัมพันธ์กับอารมณ์โกรธ
ขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพเนื่องจากอารมณ์โกรธ
รู้สึกผิดและคิดว่าตนเองด้อยค่าเมื่อมีอารมณ์โกรธ
กิจกรรมทางการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดตามแบบแผนการสร้างสัมพันธภาพ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก เรื่องราวต่างๆ หรือพฤติกรรมและการสื่อสารต่อบุคคลอื่น
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเรียนรู้และเข้าใจบุคลิกภาพและอารมณ์โกรธของตนเมื่อความโกรธของผู้ป่วยลดลง
ประเมินรูปแบบการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยว่ามุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา
จัดให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรมนันทนาการบำบัด ดนตรีบำบัด กลุ่มวาดภาพเพื่อระบายอารมณ์โกรธออกไป
ส่งเสริมและฝึกให้ผู้ป่วยใช้ทักษะการเผชิญอารมณ์โกรธอย่างสร้างสรรค์ เมื่อผู้ป่วยมีอารมณ์โกรธลดลง
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดร่วม
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารเมื่อมีอารมณ์โกรธ
แสดงการยอมรับ ชื่นชม และให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ
ประเมินอาการและอาการแสดงทางกายที่เป็นผลมาจากอารมณ์โกรธที่เพิ่มมากขึ้น
หากผู้ป่วยที่มีอารมณ์โกรธที่รุนแรง และแสดงพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร
การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยสามารถอธิบายวิธีการเผชิญความโกรธที่สร้างสรรค์ได้มากกว่าเดิม
ผู้ป่วยมีวิธีการระบายความรู้สึกโกรธที่สร้างสรรค์มากขึ้น โดยไม่ใช้วิธีการที่รุนแรงในการเผชิญความโกรธ
ผู้ป่วยและผู้อื่นปลอดภัยจากพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วย
ผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงทางร่างกายที่เป็นผลจากอารมณ์โกรธลดลง
ผู้ป่วยมีวิธีการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์มากขึ้น
ผู้ป่วยสามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นได้มากขึ้น หรือสามารสื่อสารกับผู้อื่นได้ตามความต้องการของตนได้อย่างเหมาะสม
ผู้ป่วยสามารถแสวงหาแหล่งประโยชน์ที่สนับสนุน ช่วยเหลือ เมื่อผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธ หรือพฤติกรรมก้าวร้าวไม่ได้
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม
บุคคลที่มีภาวะสูญเสียและเศร้าโศก
การสูญเสีย (loss)
ความหมาย
การที่บุคคลพลัดพรากจากบุคคล สัตว์เลี้ยง สิ่งของ อวัยวะ หรือความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งบุคคลให้คุณค่าและให้ความหมายว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญกับชีวิต
ประเภท
การสูญเสียสิ่งของภายนอก (loss of external object)
ทรัพย์สินเงินทอง ที่อยู่อาศัยหรือการถูกแยกจากสภาพแวดล้อมเดิม
การสูญเสียตามช่วงวัย (maturational loss)
เด็กที่ต้องหย่านมแม่
การต้องออกจากโรงเรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา
การสูญเสียภาพลักษณ์
การสูญเสียอวัยวะในร่างกาย หรือการสูญเสียการทำหน้าที่ของร่างกายจากภาวะการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ
การสูญเสียความรักหรือบุคคลสำคัญในชีวิต (loss of a love or a significant other)
การตายของบิดา มารดา ญาติพี่น้อง คู่สมรส บุตร เพื่อนสนิท
ปฏิกิริยาต่อการสูญเสีย
ระยะช็อค (shock and disbelief)
บุคคลจะตกใจ ไม่เชื่อ ปฏิเสธ อาจเกิดความรู้สึกมีนชาใน 2 -3 ชั่วโมงถึง 2 -3 สัปดาห์
ระยะพัฒนาการตระหนักรู้ถึงการสูญเสีย (developing awareness)
เกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหรือเป็นชั่วโมง ใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์แล้วจะดีขึ้นเองใน 2 – 4 เดือนโดยส่วนใหญ่จะไม่เกิน 6 เดือน
ระยะพักฟื้น (restitution)
บุคคลจะมีการปรับตัวเพื่อฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ
ภาวะเศร้าโศก (grief)
ความหมาย
ปฏิกิริยาทางอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นภายหลังจากบุคคลเผชิญกับการสูญเสียหรือคาดว่าจะมีการสูญเสียเกิดขึ้น
ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะเศร้าโศก (grief)
การเศร้าโศกแบบปกติ (normal grief)
ระยะเฉียบพลัน
ระยะนี้เกิดขึ้นในช่วง 4 – 8 สัปดาห์แรก
บุคคลจะช็อค ไม่เชื่อ และไม่ยอมรับการสูญเสียที่เกิดขึ้น มีอาการตื่นตะลึง ตัวชา และปฏิเสธ
ระยะเผชิญกับการสูญเสีย
อาการแสดงทางกายที่พบได้บ่อย
มีความรู้สึกหายใจขัด ลำคอตีบตัน หมดแรง อ่อนเพลีย ตัวชา หน้ามืด คอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน แบบแผนการรับประทานอาหารและการนอนหลับพักผ่อนเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
อาการแสดงทางจิตใจที่พบได้บ่อย
มีความคิดหมกมุ่น อยู่กับสัญลักษณ์หรือตัวแทนของบุคคลที่สูญเสีย
ใช้เวลา 20 – 60 วันแรก
การเศร้าโศกแบบผิดปกติ (maladaptive grief)
chronic grief reaction
บุคคลจะมีภาวะเศร้าโศก อยู่เป็นเวลาหลายปีโดยไม่มีท่าทีว่าความรู้สึกนั้นจะลดลง ความคิด หมกมุ่นเกี่ยวกับ ความทรงจำเก่า ๆ
delayed grief reaction
บุคคลไม่สามารถแสดงความเศร้าโศกออกมาได้ หรือเมื่อต้องเผชิญความสูญเสียจะมีการแสดงออกในช่วงที่มีการสูญเสียไม่มากพอ
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
การประเมินภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
ประเมินระดับความรุนแรงของอาการและอาการแสดงที่เป็นผลจากความสูญเสียแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ประเมินระดับการให้คุณค่า และความหมายของสิ่งสูญเสียในมุมมองของผู้ป่วย
ประเมินลักษณะบุคลิกภาพของผู้ป่วย
ประสบการณ์การสูญเสียในอดีต รูปแบบที่ใช้จัดการการสูญเสียและภาวะเศร้าโศกของผู้ป่วย
ประเมินความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมผู้ป่วยเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์สูญเสีย
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวและแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมของผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
เพื่อให้การรักษาพยาบาลเรื่องอาการและอาการแสดงทางกายให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
เพื่อลดภาวะซึมเศร้าหรืออาการแสดงที่เป็นภาวะเศร้าโศรกแบบผิดปกติให้กลับสู่ภาวะปกติ
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อฝึกทักษะการยอมรับความจริงของชีวิตโดยเฉพาะในเรื่องการสูญเสีย
เพื่อฝึกการใช้วิธีในการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์
ตัวอย่างการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสีย
ขาดทักษะในการเผชิญปัญหา เมื่อต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
มีความรู้สึกผิดและโทษตนเองว่าเป็นสาเหตุของการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดร่วมกับผู้ป่วยที่มีปัญหาคล้าย ๆ กัน
ส่งเสริมกิจกรรมที่จะนำไปสู่การสร้างความหวัง และศรัทธาในชีวิตรวมถึงที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เช่น พระ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ป่วยจะใช้เป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจได้
ชี้ให้ผู้ป่วยเปรียบเทียบกับประสบการณ์การสูญเสียของตนเองกับผู้อื่นที่มีลักษณะรุนแรงกว่า เพื่อให้เกิดความรู้สึกบรรเทาความทุกข์ใจของตนเอง
อยู่เป็นเพื่อนและเป็นกำลังใจผู้ป่วย
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความรู้สึกค้างคาใจที่มีต่อผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วได้อย่างเหมาะสม จะช่วยทำให้อารมณ์เศร้าโศกลดลงได้
ใช้เทคนิคการสื่อสารเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นและพยายามชี้ให้ผู้ป่วยเห็นการเชื่อมโยงกันของคุณค่าของสิ่งที่สูญเสีย
พยายามรับฟังอย่างเข้าใจ ยอมรับในพฤติกรรม และมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่อการสูญเสียนั้น
สร้างสัมพันธภาพแบบตัวต่อตัว ให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล
พูดคุยและส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยและครอบครัว อธิบายให้ครอบครัวเข้าใจ ยอมรับ และเห็นใจผู้ป่วย คอยอยู่เป็นเพื่อนให้กำลังใจไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกโดดเดี่ยวไร้ที่พึ่ง
การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยมีภาวะเศร้าโศกลดลง สามารถดูแลตนเองได้มากขึ้น
ผู้ป่วยมีการตระหนักรู้ตนเองถึงระดับความรุนแรงของภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสีย
ผู้ป่วยสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้มากขึ้น และแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือที่เหมาะสมได้
ผู้ป่วยสามารถสร้างเป้าหมายในชีวิต และปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายนั้นได้
ผู้ป่วยมีวิธีการเผชิญหน้าปัญหาที่เหมาะสมมากขึ้น
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม
บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหาฆ่าตัวตาย
ภาวะซึมเศร้า
ความหมาย
ภาวะซึมเศร้า หมายถึง การที่บุคคลมีพฤติกรรมที่เกิดจากภาวะจิตใจที่หม่นหมอง หดหู่ เศร้าสร้อย ท้อแท้ สิ้นหวัง และมองโลกในแง่ร้าย
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
นอนไม่หลับเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โดยไม่ทราบสาเหตุ
เบื่ออาหาร การรับรสชาติเปลี่ยนแปลง ไม่อยากอาหาร
น้ำหนักตัวลดลง ดูซูบซีด แก่ดูแก่กว่าอายุจริง
ความต้องการทางเพศลดลง
ความสนใจในตนเองลดลง
ไม่รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลง
ขาดการมีระเบียบเรียบร้อย
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
มีความสนใจสิ่งแวดล้อมลดลง
ถอยหนีจากสังคม ไม่ชอบงานสังสรรค์หรืองานรื่นเริง
ไม่ชอบไปในที่ชุมชน
มีการถอยหนีออกจากสังคมมาก
ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อน (mild depression/blue mood)
ภาวะอารมณ์ที่ไม่สดชื่นหม่นหมอง
มักมีประสบการณ์กับภาวะซึมเศร้าระดับนี้เป็นครั้งคราว
ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง (moderate depression/neurotic depression)
ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรงขึ้นกว่าระดับอ่อน
จนถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติภารกิจประจำวัน
สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ แม้จะขาดประสิทธิภาพไปบ้าง
ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง (severe depression/Psychotic depression)
มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมโดยทั่วๆ ไป อย่างเห็นได้ชัดเจน
ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจำวันได้
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้า
แนวคิดด้านกลไกทางจิตใจ
เจ็บปวดที่เกิดจากความสูญเสีย (loss) ในสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง
แนวคิดด้านการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในร่างกาย
การลดน้อยลงของสารจำพวกไบโอจินิก อะมีนส์ (biogenic amines) ในทางระบบประสาทส่วนกลาง
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า
ตัวอย่างการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำ เนื่องจากเคยมีประวัติการทำร้ายร่างกายตนเองก่อนหน้า
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการให้กำลังใจ เห็นใจ และเข้าใจผู้ป่วย ใส่ใจกับการสื่อความหมายทั้งภาษาพูด และภาษาท่าทาง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมที่เห็นผลในระยะสั้น สอนให้ผู้ป่วยเรียนรู้การตั้งเป้าหมายระยะสั้นตามความสามารถตน
ให้กำลังใจและชมเชยทันที เมื่อผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และรักษาสุขภาพสุขภาพอนามัยด้วยตนเอง
การฆ่าตัวตาย (suicide)
ความหมาย
อัตวินิบาตกรรม หมายถึง การที่บุคคลมีความคิดอยากทำร้ายตนเอง และพยายามทำให้ชีวิตของตนเองสิ้นสุดลงด้วยวิธีการต่างๆ ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ
ลักษณะอาการและอาการแสดง
บุคคลจะพยายามทำร้ายตนเองด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มผู้ที่ที่พยายามทำร้ายตนเอง แต่ไม่ได้หวังผลจะให้ตายจริงๆ และอาจพยายามทำบ่อยครั้ง
บุคคลกลุ่มนี้มีความคิดซ้ำๆ ที่จะทำร้ายตนเอง แต่ยังขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจของตนเองกล้าๆ กลัวๆ
บุคคลกลุ่มนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าชัดเจน มีความมุ่งมั่นที่จะฆ่าตัวตายให้สำเร็จ มีการวางแผนการกระทำ และต้องการให้เกิดผลโดยแท้จริง
บุคคลที่มีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
บุคคลที่แต่งงานและมีบุตร มีอัตราการฆ่าตัวตายน้อยกว่า บุคคลที่มีสถานะโสด แยกทาง หย่าร้าง หรือหม้าย
เพศหญิงมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าเพศชาย แต่พบว่า เพศชายจะฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าเพศหญิง
เมื่อบุคคลอายุเพิ่มมากขึ้นจะมีภาวะเสี่ยงในการฆ่าตัวตายมากขึ้น
บุคคลในครอบครัวเคยมีบุคคลฆ่าตัวตายมาก่อน
บุคคลที่โรคเรื้อรัง หรือเป็นโรคที่มีความทุกข์ทรมานมาก
บุคคลที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ มักเป็นบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตประมาณ
บุคคลที่ต้องต่อสู้ชีวิตตามลำพัง
บุคคลที่ต้องทำงานในสภาวะกดดัน/สถานการณ์เคร่งเครียด
สาเหตุการฆ่าตัวตาย
สาเหตุด้านชีวภาพ
ชีววิทยาของการฆ่าตัวตาย (biochemical factors)น้ำไขสันหลังมีระดับต่ำลง ได้แก่ 5-Hydroxyindoleacetic acid (5-HIAA)
การเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย (medical factors)
สาเหตุด้านจิตใจ
พบในผู้ป่วยกลุ่มโรคทางอารมณ์ โรคซึมเศร้า
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) ความขัดแย้งภายในตัวตน (Ego) ของตนเอง
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory)นผลมาจากการเรียนรู้ต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตราย (Noxious Stimulus) ว่าไม่สามารถแก้ไข
สาเหตุทางด้านสังคม การฆ่าตัวตายเกิดจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ไม่ดีในระยะ 2 ปีแรกของช่วงชีวิต
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาการฆ่าตัวตาย
การเฝ้าระวัง หรือป้องกันการฆ่าตัวตาย
ระเมินความเสี่ยง และวางแผนป้องกันการฆ่าตัวตายจากพฤติกรรมของผู้ป่วย ได้แก่ คำพูด ความคิด ความรู้สึก และสถานการณ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
จำกัดบริเวณ หรือผูกยึดผู้ป่วยในกรณีที่จำเป็น
จัดบุคลากรให้ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีของผู้ป่วยและครอบครัว ให้พูดคุยอย่างเข้าใจ เปิดใจยอมรับ เห็นใจผู้ป่วยและครอบครัว ให้เกิดมีกำลังใจ ลดความรู้สึกการไร้ที่พึ่ง
ช่วยค้นหาวิธีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบการเผชิญปัญหา