Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 5 การจัดองค์การ - Coggle Diagram
หน่วยที่ 5
การจัดองค์การ
5.1 ความหมายของการจัดองค์การ
องค์การ (Organization)
เป็นโครงสร้างที่ตั้งขึ้นมาอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีการปฏิบัติงานร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ในองค์การมีการแบ่งภาระหน้าที่ มอบอํานาจให้รับผิดชอบตามความสามารถและความถนัดกําหนดกฎระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติงาน
การจัดองค์การ
หมายถึง การจัดวางความสัมพันธ์ของงานกับบุคคลในองค์การอย่างเป็นระบบด้วยการกําหนดกฎ ระเบียบ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้เข้าใจในบทบาทและภารกิจที่ได้รับมอบหมายซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายและแผนงานขององค์
5.2 ความสําคัญของการจัดการองค์การ
1) การจัดองค์การแสดงให้เห็นถึงสายบังคับบัญชา ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะทราบว่าจะต้องรายงานกับใคร หรือใครเป็นผู้ต้องรับผิดชอบงานนั้น ๆ
2) แสดงให้เห็นถึงกระแสของการไหลของงาน (Work Flow)
3) ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบขอบเขตของงานและบทบาทหน้าที่
4) เป็นกรอบในการทุ่มเทการทํางาน
5) เป็นช่องทางการติดต่อ การประสานงาน และการตัดสินใจ
6) ป้องกันการทํางานซ้ําซ้อน และลดความขัดแข้ง
7) สร้างทีมงานตามสายการบังคับบัญชา
8) ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วและถูกต้อง
5.3 บทบาทของผู้บริหาร
ในการจัดองค์การ (Organization role)
ทักษะของผู้บริหาร
(Skill Management) 3 ประการ
1) ทักษะด้านเทคนิค (Technical Skill)
2) ทักษะด้านสัมพันธภาพ (Human Skill)
3) ทักษะด้านความคิด (Conceptual Skill)
ระดับผู้บริหารการพยาบาล
1. ผู้บริหารระดับสูง
(Chief Executive Officers) หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆว่า CEO คือ คณะผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบในการบริหารองค์การโดยรวม ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล
หรือรองผู้อํานวยการฝ่ายการพยาบาล (Director of Nursing Service)
2. ผู้บริหารระดับกลาง
(Functional or Middle Management Managers) คือ ผู้บริหารระดับรองลงมาที่รับผิดชอบในการบริหารการ
ดําเนินการของงานด้านต่างๆที่มีความแตกต่างกัน ทางหน้าที่งาน(Functions) และเทคนิค (Technics) ได้แก่ ผู้ตรวจการพยาบาล หัวหน้าแผนกการพยาบาล หรือผู้ชํานาญการ
พยาบาลแต่ละแผนก
3. ผู้บริหารระดับต้น
(First line of lower level Management) คือ คือผู้บริหารระดับต้นซึ่งคอยปฏิบัติหน้าที่ในการกํากับดูแล จูงใจ และชี้แนะการทํางานให้กับพนักงานผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ พยาบาลหัวหน้าตึก หัวหน้าหอผู้ป่วย หัวหน้าเวร หัวหน้าทีม
5.4 ประเภทขององค์การ
(Types of Organization)
1
. องค์การที่เป็นทางการ
(formal organization) เป็นองค์การที่มี
การกําหนดรูปแบบไว้อย่างชัดเจนในด้านการจัดระบบงาน โครงสร้างขององค์การ แผนภูมิลักษณะงานตลอดจนกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
2. องค์การที่ไม่เป็นทางการ
(informal organization) เป็นองค์การที่เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนตัว ไม่มีโครงสร้างและลักษณะที่แน่นอน เป็นการรวมตัวแบบหลวมๆ (loosely) ไม่มีกฎเกณฑ์บังคับ ไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน แต่เป็นการรวมกลุ่มเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง
5.5 ประเภทของโครงสร้างองค์การ
(Type of organization structures)
1. โครงสร้างองค์การตามหน้าที่
(Functional organization)
เป็นโครงสร้างที่แบ่งแยกหน้าที่การทํางานเป็นเกณฑ์
ให้รู้ว่าใครทําหน้าที่อะไร จะแยกเป็นลําดับขั้นตามหน้าที่
2. โครงสร้างองค์การแบบงานหลัก
(line organization) เป็นโครงสร้างของหน่วยงานหลักขององค์การเป็นหลักที่ยึดถือในการแบ่งงาน เป็นโครงสร้างที่เก่าแก่และแพร่หลายที่สุด
3. โครงสร้างองค์การแบบงานหลักละงานที่ปรึกษา
(Line and Staff) เป็นการจัดโครงสร้างที่พัฒนา
มาจากโครงสร้างแบบงานหลัก แต่จะมีผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะสาขาเป็นที่ปรึกษาแก่ผู้บริหาร
4. โครงสร้างแบบเมตริกซ์
(matrix organization) โครงสร้างจะทําให้อํานาจหน้าที่ 2 ตําแหน่ง ที่เป็นอํานาจหน้าที่ภายในแผนกจะมีทิศทางในแนวดิ่ง นั่นคือ หน้าที่ในหน่วยงานหลัก
และอํานาจหน้าที่ในแนวนอนจะเน้นที่โครงสร้าง
5.6 หลักการจัดองค์การ
(Principle of organizing)
หลักวัตถุประสงค์ (Objective)
หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง (Specialization)
หลักการประสานงาน (Coordination)
หลักของอํานาจหน้าที่ (Authority)
หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
หลักความสมดุล (Balance)
หลักความต่อเนื่อง (Continuity)
หลักการโต้ตอบและการติดต่อ (Correspondence)
หลักขอบเขตของการควบคุม (Span of control)
หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of command)
หลักตามลําดับขั้น (Ordering)
หลักการเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหน่ง (Promotion)
5.7 กระบวนการจัดองค์การ
(Process of organization)
1) การแยกประเภทงาน จัดกลุ่มงานและออกแบบงาน
2)การระบุของเขตงานและมอบหมายงาน
3) การจัดวางความสัมพันธ์ส่วนรายละเอียดต่างๆ
5.8 การออกแบบองค์การ
(Organization design)
1.การออกแบบองค์การเชิงพฤติกรรม
(The Behavior Approach) เป็นแนวคิดที่ปรับมาจากวิธีการเชิงระบบและแนวคิดกลุ่มคลาสสิค โดยเน้นไปที่พฤติกรรมของบุคคล
และทัศนคติของคนตามแนวคิดของลิเคร์ท และเชิงเทคนิคสังคม
2.การออกแบบองค์การตามสถาณการณ์
(Contingency Approach) การออกแบบองค์การตาม,สถาณการณ์ เชื่อว่าในการออกแบบองค์การนั้นไม่มีวิธีใด วิธีการเดียวที่จะ
เหมาะสมเพราะต้องขึ้นอยู่กับองค์องค์ประกอบหลายๆประการ ได้แก่ 1) กลยุทธ์ (strategy), 2) สภาพแวดล้อม (environment)
3) ขนาดและวงจรชีวิตขององค์การ (size/lifecycle)
4) เทคโนโลยี (technology) และการพึ่งพิงกันระหว่างหน่วยงาน (interdependence)
3.การออกแบบองค์การแบบดั้งเดิม
(Traditional Design)การออกแบบองค์การแบบดั้งเดิมมีหลายวิธี ได้แก่ การออกแบบองค์การตามหน้าที่ตามสายงาน การออกแบบองค์การตามแผนก เช่น
การออกแบบองค์การตามสถานที่หรือพื้นที่การออกแบบ องค์การตามผลผลิตและการออกแบบองค์การตามลูกค้า
4.การออกแบบองค์กรตามหน้าที่
(Functional Organization) การออกแบบองค์การตามหน้าที่เป็นการจัดกลุ่มคนงานตาม ความเชี่ยวชาญของคนงาน และจัดทรัพยากรให้กลุ่มงานเหล่านั้น ดําเนินการตามความเชี่ยวชาญเฉพาะทางการจัดองค์การแบบนี้มีการใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่งจะเสริมประสิทธิภาพและความประหยัดให้แก่องค์การ
5.การออกแบบองค์การตามแผนก
(Divisional Organization) หน่วงงานจะแยกจากกัน แต่มีความสัมพันธ์กัน โดยอาจแยกตามผลิตผล (productions) ภูมิศาสตร์ (regional) หรือลูกค้า (customer) โดยแต่ละฝ่ายมีภารกิจหลายอย่างที่ต้องปฏิบัติตามจุดประสงค์ของแต่ละฝ่าย เพื่อที่จะช่วยให้เป้าหมายรวมขององค์การบรรลุผล
6.การออกแบบองค์การในทัศนะใหม่
(New perspective on Organization Design) มุ่งให้ความสนใจองค์การที่สามารปรับตัวได้เร็ว มีความคล่องต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่างๆ องค์การในลักษณะนี้มีหลายแบบ เช่น องค์การแบบแมทริกซ์ องค์การแบบผสม องค์การแบบทีมงาน
และองค์การแบบเครือข่าย
5.9 การจัดองค์การทางการพยาบาล
ความหมายองค์การพยาบาล
(Nursing organization)
คือ การจัดสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลอํานาจหน้าที่ในการให้บริการพยาบาล เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ตามที่กําหนดไว้
ความสําคัญในการกําหนดเป้าหมาย
ขององค์การพยาบาล
เป็นแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมขององค์การพยาบาล
เป็นการกําหนดระเบียบแบบแผน
เป็นมาตรฐานที่สมาขิกในองค์การพยาบาลเองหรือบุคคลอื่นสามารถใช้วัดความสําเร็จในการดําเนินงานได้
หลักการจัดองค์การพยาบาล
กําหนดนโยบายปรัชญาและวัตถุประสงค์ในการให้บริการพยาบาล
กําหนดโครงสร้างองค์การ
กําหนดผู้รับผิดชอบแต่ละงาน
กําหนดขอบเขต หน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การ
กําหนดสายการบังคับบัญชา
กําหนดสายการประสานงาน
มาตรฐานในการจัดองค์การ
ของฝ่ายการพยาบาล
ตั้งปรัชญาและวัตถุประสงค์ในการให้บริการอย่างชัดเจน
นโยบายบริหารงานที่แน่นอน
รับผิดชอบด้านการพยาบาลและมีอํานาจควบคุม (ติดตามสนับสนุน) การปฏิบัติงานของพยาบาล
มีแผนภูมิ
มีงบประมาณ
มีการส่งเสริมพัฒนาบุคลากร
พัฒนาวิชาการ วิจัย
มีการประเมินผล