Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Respiratory Failure :star: ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน…
Acute Respiratory Failure :star:
ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
พยาธิสภาพโรค
ความหมาย
เป็นภาวะที่ปอดไม่สามารถทำงานแลกเปลี่ยนออกซิเจนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและมีผลให้เกิดการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และเกิดภาวะขาดออกซิเจน (O2) ในเลือด
สาเหตุ
เกิดจากหลอดลมตีบตัน หอบหืด หลอดลมอักเสบรุนแรง
เนื้อปอดถูกทำลาย เช่น ภาวะปอดอักเสบมาก ๆ
มีน้ำหรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอดมาก ๆ
กล้ามเนื้อการหายใจเสียหน้าที่ เช่น โรคไขสันหลังอักเสบ (Poliomyelitis),
Myasthenia gravis ศูนย์หายใจในเมดัลลาเสียหน้าที่ เช่น มีเลือดออกในสมอง
ได้รับพิษจากยา มีภาวะพร่องออกซิเจน
ประเภท
แบ่งเป็น 4 ชนิด
Type I, Acute hypoxic respiratory failure (AHRF)
Type II, Ventilatory failure
Type III, perioperative respiratory failure
Type IV, Shock
อาการ
มีอาการของภาวะหายใจ ล้มเหลวเฉียบพลัน คือ หายใจเร็ว แรง หน้าอกบุ๋ม เขียว ความรู้สติลดลง ระคายเคืองบริเวณคอและทางเดินหายใจ
ฟังเสียงปอดได้ยินเสียง crepitation, bronchial breath sound
การรักษา
นอกจากการรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อสาเหตุที่ทำให้เกิด ARDS แล้ว การรักษาแบบประคับประคอง (supportive care) ให้พ้นวิกฤต เป็นหัวใจหลักที่จะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้
การใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผู้ป่วยใช้การให้ออกซิเจนแบบ Mask with bag 5 LPM
ช่วยลดภาระการหายใจ (work of breathing) ทำให้ ผู้ป่วยไม่ต้องออกแรงหายใจจนเหนื่อย และเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน (FiO2) ได้
2.ยา
fluimucil1x3 oral PC
bromhexine 1x3 oral PC
furosemide (10mg)1/2x1 oral PC
spironolactone (25mg)1/2x1 oral PC
การดูแลรักษาด้านโภชนาการ สารน้ำ และเกลือแร่
ผู้ป่วยได้รับอาหารธรรมดา ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารทุกมื้ออย่างเพียงพอ
การรักษาและป้องกันปอดอักเสบแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ระวังในเรื่องการได้ออกซิเจนสูงเกินไปอาจเกิด oxygen toxicity ทำลายเนื้อปอดได้
พยาธิสภาพ
เป็นผลมาจากการที่ร่างกายได้รับการกระตุ้นจากสาเหตุต่างๆ ทำให้มีการหลั่งสาร mediator หรือ cytokine ต่างๆ เช่น tumor necrosis factor, interleukin (IL)-1, IL-6, IL-8
เป็นผลให้มีการทำลายเนื้อเยื่อถุงลม มีการขยายตัวของหลอดเลือดฝอยรอบถุงลม มีเม็ดเลือดขาว เช่น neutrophil เคลื่อนที่เข้ามาในถุงลม
ทำให้เกิดการอักเสบภายในถุงลมและรอบๆ ถุงลมอย่างต่อเนื่อง มีของเหลวโปรตีนสูง รั่วออกจากหลอดเลือดเข้ามาสะสมในถุงลมและ interstitium ทำให้เห็นคล้ายเป็น hyaline membrane ในถุงลม
surfactantเปลี่ยนแปลง ทำให้ถุงลมแฟบ ความยืดหยุ่นของปอดลดลง เนื้อปอดแข็ง การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนบกพร่องอย่างมาก เนื่องจากลมหายใจเข้าไม่สามารถเข้าไปถึงถุงลมได้
General Apperance
Chief complaint
ผู้ป่วยหายใจเหนื่อย 9 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ช่วยเหลือตัวเองได้เล็กน้อย ใส่สายสวนปัสสาวะ ลักษณะสีเหลืองใส ไม่ขุ่น ไม่มีฟอง ไม่มีเลือดปน ไม่มีตะกอน
นอนศีรษะสูง 45 องศา on O2 canula 5 LPM หายใจได้ดี
มีเสมหะจำนวนมากสีน้ำตาลคล้ำ ข้นหนืด
มีการเปิดหลอดเลือดให้สารน้ำและยา 2 ตำแหน่งคือ ที่หลังมือขวา และท้องแขนขวา มีรอยช้ำเขียวจากการเจาะเลือด
ที่ท้องมีรอยจ้ำเขียวจากการได้รับยาInsulin โดยผู้ป่วยทำเองที่บ้าน
รับประทานอาหารธรรมดา ไม่มีอาการคลื่นใส้อาเจียน แต่ทานไม่หมด
Present illness
15 ชม.ก่อนมารพ. ผู้ป่วยมีเสมหะมาก มีอาการหายใจเหนื่อย
9 ชม. ก่อนมารพ. ผู้ป่วยมีเสมหะในคอขับออกไม่ได้ หายใจไม่ออก มีอาการหายใจหอบเหนื่อย ญาติจึงนำส่งรพ.แพทย์จึงใส่ท่อช่วยหายใจ(endotracheal tube) และให้ admit
ประวัติการรักษาตัวเมื่ออยู่รพ.
ผ่าตัดใส้ติ่ง พ.ศ.2536
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ พ.ศ.2560
ทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ วันที่2 กย. พ.ศ.2562
มาด้วยอาการหอบเหนื่อย วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2562
การแพ้ยา/แพ้อาหาร
Tramadol ยาบรรเทาอาการปวด กลุ่ม opioid
ทานแล้วมีอาการคลื่นใส้อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
Buscopan (หรือHyoscine) ยาบรรเทาอาการปวด กลุ่มยาMuscarinic Receptors
ทานแล้วมีอาการคลื่นใส้อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ผู้ป่วยเป็็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เมื่อ 8 ปีที่แล้ว
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เมื่อ 1เดือนที่แล้ว
สัญญาณชีพ
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2562 เวลา10.00น.
BT= 36.4 ํ c PR= 82 ครั้ง/นาที BP= 120/70 mmHg RR= 20 ครั้ง/นาที
วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2562 เวลา14.00น.
BT= 36.1 ํ c PR= 88 ครั้ง/นาที BP= 90/56 mmHg RR= 20 ครั้ง/นาที
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ
ASA (81mg)1x1 oral PC
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด กลุ่ม anticoagulant
ยับยั้งการสร้าง prostaglandin และ thromboxane
ผลข้างเคียง อาจก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ภาวะเลือดออก หูอื้อ หลอดลมหดตัว angioedema
clopidogrel (75mg)1x1 oral PC
ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด กลุ่ม anticoagulant ยับยั้ง adenosine diphosphate การเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด
ผลข้างเคียง เลือดออกในเนื้อเยื่อ เลือดกำเดาไหล ท้องเสีย กลืนลำบาก ปวดท้อง เลือดออกบริเวณที่เจาะเลือด แพ้ยาแบบ Steven Johnson syndrome
fluimucil1x3 oral PC
ยาละลายเสมหะ ลดความเหนียวข้น
ผลข้างเคียง หลอดลมหดเกร็ง อาการบวม เกิดผื่น ความดันโลหิตต่ำ ความดันโลหิตสูง ผิวหนังแดง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ อาการวูบ เหงื่อออก ปวดข้อ มองเห็นภาพไม่ชัด รบกวนการทำงานของตับ เลือดเป็นกรด อาการชัก หัวใจหยุดเต้น
bromhexine 1x3 oral PC
บรรเทาอาการไอและแก้หวัด กลุ่มยาขับเสมหะ Expectorants
ผลข้างเคียง ก่อให้เกิดภาวะ angioedema ผื่นแดง หลอดลมหดตัว คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ ท้องเสีย ปวดท้อง
senokot 2x1 oral Hs
ยาระบาย บรรเทาอาการท้องผูก กลุ่มกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ Stimulant laxatives
ผลข้างเคียง อาการท้องอืด รู้สึกเหมือนมีลมในท้อง และปวดท้อง สารอิเล็คโทรไลท์และแร่ธาตุในร่างกายไม่สมดุล ภาวะขาดน้ำรุนแรง มะเร็งลำไส้ใหญ่
levothyroxine (100mg)1x1 oral PC
ไทรอยด์ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่นำมาใช้รักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ กลุ่มยา hormone
ผลลข้างเคียง น้ำหนักลด มือสั่น ปวดหัว คลื่นใส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง กระสับกระส่าย วิตกกังวล เหงื่อออกมาก อยากอาหาร มีไข้
Atovastatin(40mg)1x1 oral PC
ยาลดระดับไขมั้นในเลือด กลุ่มStatins หรือ HMG CoA Reductase Inhibitors
ปวดศีรษะ ท้องอืด ท้องผูกอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปวดแขนขา ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อกระตุก ปวดข้อ เยื่อจมูกและลำคออักเสบ นอนไม่หลับ ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
Omeprazole(20mg)1x2 oral PC
ลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร กลุ่ม ยับยั้งการหลั่งกรด gastric acid secretion inhibitor
ผลข้างเคียง ท้องเสียจากการติดเชื้อ clostridium difficile (CDAD) กระดูกหักที่มีสาเหตุจากกระดูกพรุน ปวดศีรษะ ผื่นแดง มึนงง อ่อนเพลีย อาการไอ ปวดหลังหรือปวดท้อง
colchicine (0.6mg)1x1 oral PC
ลดการอักเสบข้อ รักษาโรคเก๊าท์ กลุ่ม hyperuricaemia
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ไม่บายท้อง กดไขกระดูก agranulocytosis ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ อาการ myopathyกล้ามเนื้อสลายตัว
furosemide (10mg)1/2x1 oral PC
ยาขับปัสสาวะ กลุ่มDiuretics
ผลข้างเคียง เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ ความดันต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ผื่นแพ้ยาแบบ Steven-Johnson syndrome ตับอ่อนอักเสบ
spironolactone (25mg)1/2x1 oral PC
ยาขับปัสสาวะ กลุ่มPotassium-Sparing Diureticsป้องกันร่างกายดูดซึมโซเดียมมากเกินไป และคงระดับโพแทสเซียมไม่ให้ต่ำจนเกินไป
ผลข้างเคียง คลื่นไส้ ท้องเสีย และปวดท้อง ปากแห้ง หิวน้ำ มึนหัว ปวดหัว
เลือดออกผิดปกติหลังหมดประจำเดือน คัดตึงเต้านมในผู้หญิง เสียงทุ้มขึ้นและมีขนเพิ่มขึ้นตามร่างกาย ง่วงนอน อ่อนเพลีย
losaton (50mg)1x2 oral PC
ยาลดความดันโลหิต ทำให้หลอดเลือดขยายตัว กลุ่ม Angiotensin II Receptor
ผลข้างเคียง หายใจสั้น, หายใจมีเสียงหวีดในลำคอ, เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ, ชีพจรอ่อน, มีอาการเหน็บชา ปัสสาวะน้อยลง ไอแห้ง เจ็บคอ, เป็นไข้ ตะคริว ปวดศีรษะ, หน้ามืด ปวดขาหรือหลัง
problem List
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ
กิจกรรมพยาบาล
ประเมิินภาะวะพร่องออกซิิเจน อาการ ลักษณะการหายใจ ปาก ปลายมือปลายเท้า เพื่อเฝ้าระวังการการผู้ป่วย
ประเมิินสัญญาณชีพทุก 4 ชม. โดยเฉพาะ อัตราการหายใจ และค่า O2 saturation
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง เคาะปอด และ suction อยู่เสมอก่อนรับประทานอาหาร
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 45-60 องศา เพื่อเปิดทางเดิินหายใจให้โล่ง
ดูแลให้พักผ่อนบนเตียงลดกิจกรรม เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
ดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดโปร่ง และสะอาดอยู่เสมอเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้อย่างเต็มที่
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาแพทย์ ระวังผลข้างเคียง
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยมีเสมหะจำนวนมากสีน้ำตาลคล้ำ
ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบาก หายใจไม่ออกเวลามีเสมหะมาก
อัตราการหายใจ 30 ครั้ง/นาที
ฟังปอดพบเสียง wheezing
วัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจของผู้ป่วย
ป้องกันการเกิดภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
เกณฑ์การประเมิน
เสมหะลดลงจากเดิม ลักษณะสีใส ไม่ขุ่น ไม่เหนียวข้น
ผู้ป่วยไม่มีอาการพร่องออกซิเจน หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย ปลายมือปลายเท้าเย็น ปากซีด คล้ำเขียว
อัตราการหายใจอยู่ในช่วง 12-24 ครั้ง/นาที
O2 satอยู่ในช่วง 95-100%